ข้อมูลโครงการ

โครงการศึกษาศักยภาพของทรัพยากรลมในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ สถานีกังหันลมผลิตไฟฟ้าสทิงพระ บ้านพังสเม็ด อ.สทิงพระ จ.สงขลา

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ดำเนินการโครงการศึกษาศักยภาพของทรัพยากรลมในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ โดยได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการศึกษาความเหมาะสม จัดหา และติดตั้งอุปกรณ์เครื่องวัดพลังงานลมในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ โดยจากผลการศึกษาปรากฎว่า บริเวณชายหาด อ.สทิงพระ จ.สงขลา เป็นที่ที่มีศักยภาพ จึงได้ดำเนินการขอรับการสนับสนุนด้านการเงินจาก สนพ.

โครงการติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าจ่ายไฟร่วมกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล เกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ปัจจุบันเกาะเต่า อ.เกาะพงัน จ.สุราษฎร์ธานี มีการจ่ายไฟด้วยเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลตลอด 24 ชั่วโมง และเนื่องจากเกาะเต่าอยู่ห่างจากฝั่งประมาณ 75 กิโลเมตร การขนส่งน้ำมันดีเซลจากชายฝั่งไปสู่เกาะมีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้ามีค่าสูงถึงประมาณหน่วยละ 10 บาท แต่ กฟภ.

การสังเคราะห์แบบเผาไหม้ของซีเรียมออกไซด์สำหรับเซลล์เชื้อเพลิงแบบออกไซด์ของแข็ง

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

- เพื่อทำการสังเคราะห์สารซีเรียมออกไซด์ที่มีขนาดอนุภาคระดับนาโนเมตร ด้วยวิธีการเผาไหม้ โดยใช้สารตั้งต้นจากสารประกอบซีเรียมที่มาจากกระบวนการเเปรสภาพแร่โมนาไซต์ในประเทศไทย เพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบในการผลิตวัสดุอิเล็กโตรไลต์ และส่วนประกอบอาโนด และตัวเร่งปฏิกิริยาในเซลล์เชื้อเพลิงแบบออกไซด์ของแข็ง
- เพื่อทำการสังเคราะห์สารประกอบออกไซด์ของซีเรียมและสารเจือมีขนาดอนุภาคระดับนาโนเมตร ด้วยวิธีการเผาไหม้ในขั้นตอนเดียว
- เพื่อพัฒนาการสังเคราะห์สารแบบเผาไหม้ เพราะเป็นวิธีที่ประหยัด และรวดเร็ว ให้ใช้ได้กับสารประกอบต่าง ๆ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการแปรสภาพ และเพิ่มมูลค่าของวัสดุอื่น ๆ

การสังเคราะห์และศึกษาสมบัติของสารเพื่อใช้เป็นคาโทดสาหรับเซลล์เชื้อเพลิงชนิดออกไซด์ของของแข็งที่ใช้ในช่วงอุณหภูมิปานกลาง

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

จากความต้องการด้านพลังงานที่สูงขึ้น ความไม,แน่นอนในแหล่งพลังงานประเภทฟอสซิลที่คาดว่ากำลังจะหมดไป รวมไปถึงความตระหนักของผลของการใช้พลังงานประเภทฟอสซิลต่อภาวะโลกร้อน ได้ส่งผลให้มีความต้องการในพัฒนาการใช้พลังงานทดแทนประเภทอื่นๆ กันอย่างกว้างขวาง

โครงการโครงการส่งเสริมการใช้น้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบผสมผสานปี 2554

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ปัจจุบันมีกิจกรรมหลายประเภทที่จำเป็นต้องใช้น้ำร้อน เช่น โรงพยาบาล โรงแรม ร้านอาหาร ร้านเสริมสวย เป็นต้น โดยการผลิตนํ้าร้อนได้มีการใช้พลังงานหลายรูปแบบ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช่วธีการต้ม โดยใช้พลังงานจากก๊าซและไฟฟ้า หรือหากเป็นกิจกรรมขนาดใหญ่จะใช้หม้อต้ม (Boiler) ที่ใช้น้ำามันเตา หรือน้ำมันดีเซลเป็นเชื๋อเพลิง การใช้พลังงานดังกล่าว โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าในการผลิตนํ้าร้อน ถือว่าเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสมกับ

โครงการดำเนินการโครงการส่งเสริมระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับอาคารของรัฐ (ปีที่2)

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ในปัจจุบันหน่วยงานของรัฐหลายประเภทที่จำเป็นต้องใช้น้ำร้อนในการดำเนินงาน เช่น โรงพยาบาล สถานศึกษา เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วิธีการผลิตน้ำร้อนโดยใช้พลังงานจากก๊าซและไฟฟ้า หรือหากเป็นอาคารขนาดใหญ่จะใช้หม้อต้ม (Boiler) ที่ใช้น้ำมันเตาหรือน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง การใช้พลังงานดังกล่าวในการผลิตน้ำร้อนเป็นการใช้พลังงานเชื้อเพลิงโดยตรงในการสันดาป ซึ่งก่อให้เกิดมลภาวะความร้อนอันส่งผลถึงปัญหาสภาวะโลกร้อน ส่วนการใช้ไฟฟ้าในการผลิตน้ำร้อนก็เป็นการใช้พลังงานอย่างไม่คุ้มค่า แม้บางกรณีจะมีประสิทธิภาพเชิงความร้อนสูงก็ตาม เนื่องจากไฟฟ้าเป็นพลังงานคุณภาพสูง (High grade energy) ที่เปลี่ยนรูปมาจากความร้อนก่อน

โครงการศึกษาศักยภาพการผลิตและการใช้ระบบทำความเย็นด้วยพลังงานความร้อนแสงอาทิตย์

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ระบบทำความเย็นพลังงานแสงอาทิตย์เป็นการนำความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ได้รับในช่วงกลางวันมาใช้เป็นแหล่งพลังงานเพื่อทำให้เกิดความเย็นขึ้นในอาคารได้ซึ่งผลที่ได้รับ คือ เมื่อแสงอาทิตย์มีความร้อนมากที่สุดก็ยิ่งส่งผลให้สามารถผลิตความเย็นได้สูงสุดเช่นกัน เนื่องจากความต้องการใช้ระบบทำความเย็นจะเพิ่มขึ้น และลดลงอย่างเป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์กับปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้รับนั่นเอง การศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบทำความเย็นด้วยพลังงานแสงอาทิตย็ได้มีการดำเนินการมานานแล้วในกลุ่มประเทศยุโรป และสหรัฐอเมริกา และในปัจจุบันเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจมากขึ้นและมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย็ได้แล้ว ทั้งในประเทศ อิสรา

โครงการนำร่องติดตั้งหลอดไฟประหยัดพลังงานแบบ LED ภายในอาคาร 4 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสำนักงานใหญ่

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

อาคารสำนักงานใหญ่ กฟภ. มีการใช้พลังงานมากถึง 12.3 ล้านหน่วยคิดเป็น 45.6 ล้านบาท ซึ่ง “โครงการนำร่องติดตั้งหลอดไฟประหยัดพลังงานแบบ LED” เป็นโครงการติดตั้งหลอดไฟประหยัดพลังงานแบบ LED จำนวน 5,000 หลอด ซึ่งเป็นหลอดชนิดใหม่ที่มีอายุการใช้งานยาวนานและสามารถลดการใช้พลังงานได้มากกว่า 50% โดยคาดว่าจะสามารถลดการใช้พลังงานลงได้มากกว่า 0.31 ล้านหน่วยต่อปีหรือคิดเป็นเงิน 1.17 ล้านบาทต่อปี ระยะเวลาคืนทุนที่ 5.12 ปี(วงเงิน 6 ล้านบาท) ซึ่งหากประสบความสำเร็จ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะทำการขยายผลไปยังสำนักงานอื่นๆ ทั่วประเทศต่อไป

การศึกษาสมรรถนะการออกแบบส่องสว่างโดยใช้แอลอีดีกำลังสูง

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

โครงการ การศึกษาสมรรถนะการออกแบบส่องสว่างโดยใช้แอลอีดีกำลังสูง นี้ เพื่อต้องการชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของการนำหลอดไฟแอลอีดีกำลังสูงมาประยุกต์ใช้สำหรับการส่องสว่าง ทั้งนี้ การปรับปรุงระบบการส่องสว่างจะถือว่าเป็นประโยชน์และมีความคุ้มค่าเป็นอย่างมาก เนื่องจากอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่เดิมมักจะมีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างต่ำ

โครงการทีมเทคนิคและอาชีวศึกษาเพื่อการประหยัดพลังงาน

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ตามที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้มีการดำเนินงานโครงการทีมเทคนิคและอาชีวศึกษาเพื่อการประหยัดพลังงานในปี 2551 จำนวน 50 ทีม โดยให้ เข้าดำเนินการแนะนำวิธีการบริหารจัดการพลังงานในสถาบันอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและเอกซนทั่วประเทศจำนวน 500 แห่ง จากจำนวนทั้งหมดที่มีอยู่ทั่วประเทศประมาณ 824 แห่ง การเข้าแนะนำของทีมเทคนิคประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง ทั้งในด้านความร่วมมือของผู้บริหารสถาบันอาชีวศึกษา ด้านความสามารถของคณะทำงานอนุรักษ์พลังงานที่จัดตั้งขึ้นตามคำแนะนำของทีมเทคนิคเพื่อการบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในสถาบันอาชีวศึกษาจนทำให้เกิดผลประหยัดพลังงานได้ด้วยตนเอง รวมถึงได้มีการจัด

Pages