ข้อมูลโครงการ

โครงการสนับสนุนการลงทุนติดตั้งใช้งานระบบอบแห้ง พลังงานแสงอาทิตย์ ปี 2555

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ประเทศไทยมีการผลิตอาหารแห้ง เช่น ผัก ผลไม้ และสมุนไพรทั้งในระดับครัวเรือนและระดับอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดเล็กกระจายกันอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ตัวอย่างเช่น การผลิตลำไยแห้งในจังหวัดทางภาคเหนือปีละกว่า 500,000 ตัน เป็นเงินปีละ 1,600 ล้านบาท การผลิตกล้วยตากปีละประมาณ 4,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจปีละกว่า 100 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการผลิตผลไม้แห้งอื่นๆ อาหารทะเลแห้ง และสมุนไพรต่างๆ โดยบางส่วนส่งไปจำหน่ายในต่างประเทศ

โครงการส่งเสริมการใช้น้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบผสมผสานปี 2555

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

จากสถิติการใช้พลังงานในภาคธุรกิจโรงแรม โรงพยาบาล และโรงงานที่ใช้น้ำร้อน พบว่า ค่าพลังงานที่ใช้มากที่สุดคือ เครื่องปรับอากาศประมาณร้อยละ 60 รองลงมาคือระบบผลิตน้ำร้อนประมาณร้อยละ 30 ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 10 คือระบบไฟฟ้าและแสงสว่าง ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเพื่อการผลิตน้ำร้อนเป็นต้นทุนที่อยู่ในเกณฑ์สูง ในปัจจุบันนี้ถึงแม้ว่าระบบผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์จะมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ แต่การลงทุนเบื้องต้นยังมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงและการติดตั้งจะต้องใช้ผู้ที่มีความรู้ และความเข้าใจทางด้านเทคนิคเป็นอย่างดี จึงจะทำให้การใช้งานระบบฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้ประกอบการจ

โครงการลดต้นทุนการผลิตเอทานอลในโรงงานผลิตเอทานอลเชิงพาณิชย์

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ปัจจุบันการผลิตเอทานอลมีราคาสูงส่งผลให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ ที่รัฐบาลส่งเสริมให้ใช้มีราคาเพิ่มขึ้นไปด้วย ดังนั้นหากสามารถลดต้นทุนการผลิตเอทานอลได้ ก็อาจจะ
เป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ลดลง ราคาเอทานอลประกอบด้วยค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น
ค่าลงทุนเบื้องต้น (ค่าที่ดิน/สิ่งก่อสร้าง) ค่าสารเคมี ค่าพลังงานในกระบวนการผลิตและสาธารณูปโภค

โครงการศึกษาการเพิ่มมูลค่าน้ำที่ผ่านการบำบัดจากระบบผลิตก๊าซชีวภาพฟาร์มสุกรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

โครงการศึกษาการเพิ่มมูลค่าน้ำ ที่ผ่านการบำบัดจากระบบผลิตก๊าซชีวภาพฟาร์มสุกรตามแนวทาง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นโครงการศึกษาที่นำน้ำทิ้งที่ผ่านระบบบำบัดแบบผลิตก๊าซชีวภาพ นำ มาเพิ่มมูลค่า
จากแนวความคิดของการจัดการน้ำเสียจากฟาร์มสุกรอย่างครบวงจรเริ่มจากระบบบำบัดน้ำ เสียแบบผลิต
ก๊าซชีวภาพที่ทำการบำบัดน้ำเสียให้มีคุณภาพน้ำดีขึ้นและได้ก๊าซชีวภาพนำไปใช้เป็นพลังงาน กาก
ตะกอนสลัดจ์สามารถนำไปทำปุ๋ยอินทรีย์ นอกจากนี้ยังพบว่าน้ำทิ้งที่ผ่านระบบบำบัดแบบผลิตก๊าซ
ชีวภาพที่สามารถนำไปเพิ่มมูลค่าควบคู่กันไป ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจและสนับสนุน

โครงการความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการใช้ถังหมักก๊าซชีวภาพในโรงเรียนสังกัด กทม

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

สืบเนื่องมาจากการดำเนินการพัฒนาและติดตั้งถังหมักก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ในโรงเรียน สังกัดกทม จำนวน 40 แห่ง ในปี 2549 และในปี 2550 มีการทำความร่วมมือกันระหว่าง กทม กับ กระทรวงพลังงาน ในด้านการอนุรักษืพลังงานและพลังงานทดแทน โดย พพ. ได้มีการให้การสนับสนุนทางวิชาการ ให้ความรู้คำแนะนำ ในการดำเนินงานและดูแลรักษาระบบถังหมักก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ โดยพพ.

โครงการส่งเสริมระบบผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มปศุสัตว์

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ในปี 2550 ได้รับงบกองทุน ดำเนินการโครงการสาธิตระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์
สำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูป จำนวน 2 ระบบ ที่จะนำมาใช้ในการขยายผลในโครงการต่อไป โดยแบบ
พพ. 1 สามารถรองรับของเสียได้ไม่ต่ำกว่า 10 ลบ.ม./วัน (เทียบเท่าสุกรขุน 500 ตัว) และแบบ พพ.2
สามารถรองรับของเสียได้ไม่ต่ำกว่า 2 ลบ.ม./วัน (เทียบเท่าสุกรขุน 100 ตัว) จากการดำเนินงานสามารถ
ส่งเสริมระบบให้สามารถใช้กับฟาร์มสุกร โค ไก่ ม้า และนก จำนวนรวม 43 ระบบ ผลจากการ
ดำเนินการ ยังมีผู้ประกอบการฟาร์มขนาดเล็กที่สนใจและขอสมัครเข้าโครงการอีกเกือบ 200 ราย พพ.

โครงการวิจัยและทดสอบการใช้ไบโอดีเซลตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไปกับเรือประมง

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

       ปัจจุบันได้มีการดำเนินการส่งเสริมการใช้น้ำมันไบโอดีเซลผสมกับน้ำมันดีเซลในสัดส่วนร้อยละ 5.0 ในภาคขนส่ง สำหรับโครงการทดสอบการใช้ไบโอดีเซลตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไปกับเรือประมงขนาดความเร็วรอบเดินกลาง เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของการใช้น้ำมันไบโอดีเซลที่มีต่อสมรรถนะการทำงานของเครื่องยนต์เรือประมง และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มชาวประมง ในการนำน้ำมันไบโอดีเซลไปใช้งานจริงต่อไป

โครงการศึกษาออกแบบโรงไฟฟาสาธิตจากเหง้ามันสำปะหลัง

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

         เหง้ามันสำปะหลังเป็นส่วนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว เกษตรกรจะเก็บรวบรวมกองสุมปล่อย ให้แห้งแล้วจุดไฟเผาทิ้งไปหรือปล่อยทิ้งในแปลงไร่มันซึ่งก่อให้เกิดปัญหาแก่เกษตรกรในการกำจัด หรือทำลายทิ้ง อย่างไรก็ตามเหง้ามันสำปะหลังสามารถนำมาใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิต พลังงานได้

โครงการส่งเสริมการใช้นํ้าร้อนพล้งงานแสง ด้วยระบบผสมผสานปีที่ 2

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

       ปัจจุบันมีกิจกรรมหลายประเภทที่จำเป็นต้องใช้น้ำร้อน เช่น โรงพยาบาล โรงแรม ร้านอาหาร ร้านเสริมสวย เป็นต้น สำหรับการผลิตน้ำร้อนไต้มีการใช้พลังงานหลายรูปแบบ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้ม โดยใช้พลังงานจากก๊าซและไฟฟ้า หรือหากเป็นกิจกรรมขนาดใหญ่จะใช้หม้อต้ม ( Boiler) ที่ใช้น้ำมันเตา หรือน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง การใช้พลังงานไฟฟ้าในการผลิตน้ำร้อน ถือว่าเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสมกับคุณค่าของพลังงานไฟฟ้า ทางเลือกหนึ่งของการผลิตนาร้อน คือ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และความร้อนเหลือทิ้ง (waste-heat) เช่น ความร้อนทิ้งจากชุดระบายอากาศของเครื่องปรับอากาศ

Pages