ข้อมูลโครงการ

โครงการการใช้ประโยขน์ไม้โตเร็วเพื่อเป็นพลังงานทดแทนในการ ผลิตกระแสไฟฟ้าและแก๊สหุงต้ม

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

โครงการการใช้ประโยชน์ไม้โตเร็วเพื่อเป็นพลังงานทดแทนในการผลิตกระแสไฟฟ้าและแก๊สหุงต้มเป็นโครงการต่อเนื่อง ปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์หลักคือ จัดตั้งเครือข่ายชุมชนไม้โตเร็ว และพัฒนาระบบการบริหารจัดการไม้โตเร็วในชุมชนให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งโครงการได้ทาการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไม้เศรษฐกิจ ตาบลหนองพอก โดยมีความร่วมมือกับสถานีพัฒนาที่ดินร้อยเอ็ด มีสมาชิกทั้งหมด 37 คน ได้รับการสนับสนุนกล้าไม้ยูคาลิปตัสพันธุ์จานวน 17,129 กล้า และความรู้เรื่องการปลูกและการจัดการจากโครงการวิจัย โดยกลุ่มฯ ได้จัดการจาหน่ายกล้าไม้ให้สมาชิกในราคาต้นละ 1 บาท เพื่อนาเงินที่ได้มาเป็นกองทุนในการดาเนินงานบริหารงานของกลุ่มฯ และขยาย

โครงการการศึกษาความเป็นไปด้านการผลิตไฟฟ้าระดับชุมชนโดยใช้ พลังงานจากไม้โตเร็ว

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

แนวทางในการลดปัญหาการขาดแคลนพลังงาน ที่สาคัญแนวทางหนึ่งคือการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนในการนามาผลิตกระแสไฟฟ้า ชีวมวลจากไม้โตเร็วที่มีการจัดการปลูกเป็นสวนป่าเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากไม้เชื้อเพลิงที่ได้ปราศจากธาตุหนักที่ก่อให้เกิดมลพิษที่จะเกิดขึ้นในกระบวนการแปรรูปพลังงานเป็นความร้อน นอกจากนี้การปลูกป่าเชื้อเพลิงในลักษณะหมุนเวียนจะช่วยลดปัญหาการเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของโลกไปในตัว และสามารถใช้เป็นกิจกรรมที่เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร อย่างไรก็ตามการใช้พลังงานจากไม้โตเร็วนั้นถึงแม้จะมีข้อมูลพันธุ์ไม้โตเร็ว และข้อมูลระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากชีวมวลปรา

โครงการการศึกษามวลชีวภาพของกระถินเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานทดแทนพลังงานที่ยั่งยืน

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

การผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศไทยขึ้นอยูํกับน้ำมันปิโตรเลียมที่นำเข้าจากตำงประเทศ ดังนั้นการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำามันจึงมีผลกระทบตํอการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาเหลำนี้การปลูกกระถินเพื่อใช้เป็นพืชพลังงานทดแทนจึงมีความจาเป็นยิ่ง การศึกษาวิจัยนี้ได้แบํงออกเป็น 4 สํวนด้วยกัน สํวนแรกดำเนินการทดลองในบริเวณสถานีวิจัยสุวรรณวาจกกสิกิจ และศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมา อำเภอปากชํอง จังหวัดนครราชสีมา โดยมีวัตถุประสงค์ในการประเมินและเปรียบเทียบผลผลิตสายพันธุ์กระถิน สํวนที่ 2 เป็นการศึกษาในเรื่องการเขตกรรมของกระถินในบริเวณสถานีวิจัยสุวรรณวาจกกสิกิจ เพื่อคัดเลือกระบบการปลูก ระยะปลู

โครงการศึกษาต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กสำหรับชุมชน

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

สืบเนื่องจากวิกฤติการณ์ด้านพลังงานของประเทศไทยในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่นำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศเป็นหลัก รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนเพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจและพลังงานให้กับประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพของแหล่งเชื้อเพลิงชีวมวล หากสามารถนำพลังงานเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ก็จะเป็นแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนของประเทศได้

โครงการการเตรียมแผ่นสองขั้วจากวัสดุผสมระหว่างกราไฟต์ผงกับ พอลิเมอร์เพื่อใช้ในเซลล์เชื้อเพลิงประเภทพอลิเมอร์ อิเล็กโทรไลต์เมมเบรน (PEMFC)

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

จากปัญหาที่น้ำมันมีราคาแพง การค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงจึงเป็นที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในปัจจุบัน โดยในงานวิจัยนี้จะสนใจเซลล์เชื้อเพลิงประเภท PEMFC ซึ่งมีหนึ่งในส่วนประกอบที่สำคัญคือ แผ่นสองขั้ว ซึ่งในปัจจุบันแผ่นสองขั้วมักจะทำจากกราไฟต์ ซึ่งมีราคาแพงและมีน้ำหนักสูง ดังนั้นหากสามารถวิจัยและพัฒนาสร้างแผ่นสองขั้วที่มีน้ำหนักเบา และราคาถูกได้ ก็จะทำให้น้ำหนักและราคาของเซลล์เชื้อเพลิงลดลงด้วย ซึ่งจะทำให้นำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ได้

โครงการการปรับปรุงผิวเมมเบรนและระบบทดสอบเซลล์เชื้อเพลิงเดี่ยวแบบ เมมเบรนพอลิเมอร์อิเล็กโทรไลต์

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

เซลล์เชื้อเพลิงได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในพลังงานทางเลือกสำหรับอนาคต ด้วยเหตุผลที่ว่าเซลล์เชื้อเพลิงเป็นแหล่งพลังงานสะอาด และมีประสิทธิภาพสูงว่าเครื่องยนต์สันดาปภายใน ปัจจุบันนี้มีการพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงสำหรับใช้เป็นแหล่งพลังงานสำหรับยานพาหนะและสำหรับเป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำหรับครัวเรือนกันอย่างแพร่หลาย การพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงในปัจจุบันเน้นไปที่การลดต้นทุนเพื่อให้สามารถนำมาใช้เชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งมีความเป็นไปได้สองทางคือ การลดต้นทุนการผลิต และการเพิ่มสมรรถนะของเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อให้ได้ราคาต่อกำลังไฟฟ้า (บาทต่อกิโลวัตต์) ที่ถูกลง

โครงการต้นแบบเซลล์เชื้อเพลิงแถวกำลังไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการพัฒนาต้นแบบเซลล์เชื้อเพลิงแถวชนิดเมมเบรนแลกเปลี่ยนโปรตอนใช้งานผลิตไฟฟ้าโดยมีเป้าหมายกำลัง 1 กิโลวัตต์ การศึกษานี้เริ่มพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงเดี่ยวพื้นที่หน้าตัดกัมมันต์ 150 ตร. ซม.

โครงการออกแบบระบบสกัดน้ำมันปาล์มดิบเพื่อผลิตไบโอดีเซลและไฟฟ้าแบบครบวงจร

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ปัญหาด้านเศรษฐกิจของโลกได้ส่งผลกระทบไปทุกภาคส่วนของสังคม ซึ่งประเทศไทยมีแนวโน้มสูงมากที่จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย ซึ่งรวมไปถึงปัญหาด้านความมั่นคงของพลังงานในประเทศ ดังนั้นกระทรวงพลังงาน โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จึงได้จัดทำแผนพลังงานทดแทนด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ 15 ปี เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล โดยการพึ่งพาตนเองด้านการผลิต และการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพภายในประเทศให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ซึ่งนอกจากการสร้างความมั่นคง ด้านพลังงานของประเทศแล้ว ยังสามารถช่วยพยุงราคาผลิตผลทางการเกษตรได้ด้วย โดยการส่งเสริม ด้านที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมผลิตไบโอดีเซลนั้นก็เป็นแนวทางที่ต้องดำเนิ

โครงการศึกษาความเหมาะสมการผลิตไบโอดีเซลจากปาล์มน้ำมันที่สหกรณ์ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 

ตามที่กระทรวงพลังงานได้กำหนดแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี (2551-2565) ขึ้น โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนเป็นร้อยละ 20 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายของประเทศภายในปี 2565 ซึ่งการส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในภาคขนส่งก็เป็นส่วนหนึ่งของแผนดังกล่าวด้วย ที่ผ่านมากระทรวงพลังงานได้ดำเนินการส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพตามแผน โดยการบูรณาการกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เป็นต้น โดย กษ.

โครงการศึกษาและจัดทำเครื่องต้นแบบผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันเม็ดในปาล์ม

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้ให้การสนับสนุนโครงการไบโอดีเซลระดับชุมชน โดยใช้น้ำมันพืชใช้แล้ว/ไขมันสัตว์ เป็นวัตถุดิบหลักสำหรับการผลิตไบโอดีเซลชุมชน
ขณะที่การดำเนินโครงการดังกล่าวมีปัญหาและอุปสรรคด้านการจัดเก็บและรวบรวมวัตถุดิบ โดยชุมชนไม่สามารถจัดเก็บน้ำมันพืช/ไขมันสัตว์ได้อย่างต่อเนื่อง และไม่สามารถใช้วัตถุดิบอื่น เช่น น้ำมัน
ปาล์มดิบและน้ำมันเมล็ดในปาล์มได้เนื่องจากระบบผลิตไบโอดีเซลระดับชุมชนที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถรองรับน้ำมันปาล์มดิบได้โดยตรง ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกด้านวัตถุดิบสำหรับการ

Pages