พืชพลังงานเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ

พพ.ศึกษาวิจัยการผลิตก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงานในประเทศไทยเพื่อทดแทนน้ำมันจากฟอสซิล

ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องศึกษาศักยภาพพืชพลังงานในประเทศ เพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบทางเลือกในการผลิตก๊าซชีวภาพในอนาคต เพราะประเทศไทยมีความได้เปรียบที่เป็นประเทศเกษตรกรรมและตั้งอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ที่มีความพร้อมในการเพาะปลูกพืชพลังงานหลายชนิดที่มีศักยภาพนำมาพัฒนาเป็นพลังงานทดแทนน้ำมันจากฟอสซิลได้ โดยพืชที่มีความเป็นไปได้ที่จะนำมาผลิตพลังงานทดแทนแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ

1.พืชที่ให้น้ำมัน ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน สบู่ดำ ถั่วลิสง งา ทานตะวัน ละหุ่ง ถั่วเหลือง มะพร้าว

2. พืชที่ให้แป้ง ได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวโพด มันสำปะหลัง

3. พืชที่ให้น้ำตาล ได้แก่ อ้อย และ

4. พืชที่ให้เส้นใย เช่น ฟางข้าว ชานอ้อย ซังข้าวโพด รำข้าว เศษไม้  ขี้เลื่อย วัชพืช รวมทั้งของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ดี พืชที่มีความเหมาะสมจะเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานทดแทนมีเพียงบางชนิดเท่านั้น ขึ้นกับปัจจัย ดังนี้  วัตถุดิบต้องมีปริมาณมากเพียงพอต่อการผลิต หาได้ง่าย ราคาถูก และไม่กระทบต่อการผลิตอาหาร ต้องให้ผลผลิตในสัดส่วนสูง ทั้งต่อหน่วยของวัตถุดิบและพื้นที่ปลูก ต้องไม่เป็นพิษต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการศึกษาศักยภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงานในประเทศไทย ไม่ต่ำกว่า 10 ชนิด มีการคัดเลือกเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพที่เหมาะสมกับพืชพลังงาน และยังพัฒนาระบบต้นแบบให้สามารถขยายผลการผลิตก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงานในระดับใช้งานจริงได้ เพื่อช่วยส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงานภายในประเทศให้พัฒนาได้อย่างต่อเนื่องเพื่อทดแทนการใช้พลังงานหลักในอนาคตได้

ไฟล์/vdo/ข้อมูล ที่เกี่ยวข้อง: