สถานภาพโครงการผลิตพลังงานจากขยะ

         จากสำรวจข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผู้ประกอบการโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะ ซึ่งดำเนินการสำรวจในเดือนมีนาคม 2558 และข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สถานภาพ ณ เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2558) พบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีโครงการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะรวมทุกสถานภาพ (ไม่รวมโครงการที่ยกเลิกคำขอ ยกเลิกการตอบรับซื้อ และยกเลิกสัญญาซื้อขายไฟ) จำนวน 49 โครงการ คิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้งรวม 368.99 เมกะวัตต์ โดยแบ่งเป็นโครงการโรงไฟฟ้า SPP จำนวน 3 โครงการ กำลังการผลิตติดตั้ง 180 เมกะวัตต์ และโครงการโรงไฟฟ้า VSPP 46 โครงการ กำลังการผลิตติดตั้ง 188.99 เมกะวัตต์ ดังรายละเอียดในตารางที่ 1

สถานภาพโครงการผลิตความร้อนจากขยะ

                             โครงการผลิตพลังงานความร้อนจากขยะ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทโครงการ ได้แก่ (1) โครงการผลิตเชื้อเพลิงขยะ (RDF) สำหรับนำไปใช้ผลิตความร้อนในอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการนำไปใช้ในอุตสากรรมผลิตปูนซิเมนต์ และ (2) โครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์เพื่อนำก๊าซชีวภาพไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตความร้อน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโครงการต้นแบบ สาธิต หรือโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการ จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) และสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) โดยข้อมูลสภาพการดำเนินโครงการผลิตความร้อนจากขยะทั้ง 2 ประเภทโครงการ เป็นดังที่จะนำเสนอต่อไป

1)      สถานภาพโครงการผลิตเชื้อเพลิง RDF จากขยะชุมชน                      

                                    (1)       โครงการผลิตเชื้อเพลิง RDF จากขยะชุมชนซึ่งดำเนินการโดยบริษัทที่รับผิดชอบในการจัดหาเชื้อเพลิงขยะให้กับผู้ผลิตปูนซิเมนต์ ได้แก่

                                       -   บริษัท เอส ซี ไอ อีโค่ เซอร์วิสเซส จำกัด ในเครือบริษัทซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันดำเนินโครงการผลิตเชื้อเพลิง RDF จากขยะชุมชนเพื่อนำไปใช้ในกระบวนการผลิตปูนซิเมนต์ 2 โครงการ ได้แก่ (ก) โครงการผลิตเชื้อเพลิง RDF จากขยะชุมชนของเทศบาลนครพิษณุโลก ซึ่งปัจจุบันสามารถผลิต RDF ได้รวม 20,000 ตันต่อปี และ (ข) โครงการผลิตเชื้อเพลิง RDF จากขยะชุมชนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ อบต. เมืองขีดขิน ตำบลบ้านหมอ อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันผลิตเชื้อเพลิง RDF จากขยะชุมชน ได้ 2,400 ต่อปี และในขณะนี้ (มิถุนายน 2558) ทางบริษัทฯ กำลังดำเนินการติดตั้งเครื่องจักรระบบผลิตเชื้อเพลิง RDF จากขยะชุมชนและขยะเก่าที่กู้คืนจากบ่อฝังกลบขยะของเทศบาลเมืองพัทลุง

                                      -       บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ของ บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันดำเนินการโรงงานผลิตเชื้อเพลิง RDF ซึ่งสามารถรองรับขยะชุมชนได้ประมาณ 5,000 ตันต่อวัน ขยะจากการขุดรื้อหลุมฝังกลบ ประมาณ 3,000 ตันต่อวัน และขยะอุตสาหกรรม (ประเภทขยะทั่วไป) ประมาณ 1,000 ตันต่อวัน โดยขยะที่ป้อนเข้าสู่โรงงานผลิตเชื้อเพลิง RDF ของบริษัทฯ ส่วนใหญ่มาจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสระบุรี นครราชสีมา ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม พระนครศรีอยุธยาลพบุรี และ ชลบุรี เป็นต้น

                                  (2)  โครงการผลิตเชื้อเพลิง RDF ซึ่งดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เองหรือผู้ประกอบการรายอื่นๆ เพื่อผลิตเชื้อเพลิง RDF จากขยะชุมชนและขยะเก่าจากหลุมฝังกลบขยะของ อปท. เพื่อจำหน่ายให้กับผู้ผลิตปูนซิเมนต์ หรือนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อปรับปรุงค่าความร้อนของขยะสำหรับเผาในเตาเผาขยะชุมชน ซึ่งปัจจุบันได้มีการดำเนินการแล้วในหลายพื้นที่ และยังมีอีกหลายพื้นที่ที่อยู่ในขั้นตอนการก่อสร้างและติดตั้งเครื่องจักร เช่น

                                  ดำเนินการผลิตเชื้อเพลิง RDF แล้ว

                                  -   เทศบาลนครนครราชสีมา

                                  -   เทศบาลนครระยอง

                                  -   เทศบาลเมืองจันทบุรี

                                  -   เทศบาลตำบลเมืองแกลง

                                  -   เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา

                                  -   เทศบาลตำบลเกาะช้าง

                                  -   เทศบาลนครภูเก็ต

                                  อยู่ในขั้นตอนการก่อสร้างและติดตั้งเครื่องจักรผลิตเชื้อเพลิง RDF

                                  -       เทศบาลเมืองชัยภูมิ

                                  -       อบจ.ฉะเชิงเทรา

                                  -       เทศบาลนครหาดใหญ่

2)   สถานภาพโครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์

                                  กระทรวงพลังงานโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) และสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้ดำเนินโครงการต้นแบบและโครงการส่งเสริมการนำขยะอินทรีย์/ขยะเศษอาหารมาใช้ในการผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อผลิตความร้อนหลายโครงการ ซึ่งจากการดำเนินการของทั้งสองหน่วยงาน ทำให้ปัจจุบันมีการนำขยะชุมชนมาใช้ในการผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อผลิตความร้อนแล้วประมาณ 2.12 ktoe ต่อปี ดังรายละเอียดในตารางที่  2
                  

การศึกษารวบรวมข้อมูลการดำเนินโครงการผลิตพลังงานจากขยะ

                               การดำเนินงานศึกษาในหัวข้อนี้ เป็นการศึกษา รวบรวมข้อมูลการดำเนินโครงการผลิตพลังงานจากขยะในประเทศไทยที่ปัจจุบันมีการดำเนินงานในเชิงพาณิชย์ เป็นรายเทคโนโลยี ซึ่งประกอบด้วย โครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะที่จ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบของการไฟฟ้าแล้ว จำนวน 22 โครงการ และ โครงการผลิตเชื้อเพลิง RDF เพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตปูนซิเมนต์ จำนวน 2 โครงการ ดังต่อไปนี้

1)        โครงการที่ใช้เทคโนโลยีการเผาไหม้/เตาเผาขยะ   จำนวน 6 โครงการ ได้แก่

            (1)       โครงการโรงไฟฟ้าจากเตาเผาขยะ บริษัท พีเจที เทคโนโลยี จำกัด (โครงการ 1 และโครงการ 2)         

                                                                                                   

             (2)  โครงการโรงไฟฟ้าจากเตาเผาขยะ บริษัท พีเจที เทคโนโลยี จำกัด
   

             (3)  โครงการโรงไฟฟ้าจากเตาเผาขยะ เทศบาลนครภูเก็ต     

                                                                                                 

             (4)  โครงการโรงไฟฟ้าขยะ บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (โครงการ 3)     

                                                                                                   

             (5)  โครงการโรงไฟฟ้าขยะ บจก. บางปู เอนไวรอนเมนทอล คอมเพล็กซ์  

                                                                                                    

2)   โครงการที่ใช้เทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชั่น  จำนวน 4 โครงการ ได้แก่

             (1)  โครงการกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนและแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า บริษัท จีเดค จำกัด         

                                                                                              

             (2)  โครงการโรงไฟฟ้าก๊าซเชื้อเพลิงจากขยะ บริษัท เกาะแก้ว กรีน เอ็นเนอร์ยี่ แมเนจเมนท์ จำกัด                                                                                                     

             (3)  โครงการโรงไฟฟ้าก๊าซเชื้อเพลิงจากขยะ บริษัท อินทจันทร์ คลีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด       

                                                                                             

             (4)  โครงการโรงไฟฟ้าก๊าซเชื้อเพลิงจากขยะ บริษัท พลังงานพอเพียง จำกัด       

                                                                                        

        3)   โครงการที่ใช้เทคโนโลยีการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน

             มี 4 โครงการ ได้แก่

             (1)  โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และกระแสไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย เทศบาลนครนครราชสีมา   

                                                                                             

             (2)  โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และพลังงาน เทศบาลนครระยอง   

                                                                                             

             (3)  โครงการโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพจากบ่อหมักขยะชุมชน บริษัท โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนทุ่งสง จำกัด           

                                                                                    

             (4)  โครงการโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพจากบ่อหมักขยะ บริษัท รักษ์บ้านเรา จำกัด     

                                                                                        

4)     โครงการที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซหลุมฝังกลบขยะ                   

             มีจำนวน 8 โครงการ ได้แก่

             (1)  โครงการโรงไฟฟ้าจากก๊าซหลุมฝังกลบขยะชุมชน บริษัท ซีนิท กรีน เอ็นเนอยี จำกัด 

                                                                                        

             (2)  โครงการโรงไฟฟ้าจากก๊าซหลุมฝังกลบขยะชุมชน บริษัท บางกอก กรีนเพาเวอร์ จำกัด         

                                                                                

             (3)  โครงการโรงไฟฟ้าจากก๊าซหลุมฝังกลบขยะชุมชน บริษัท เจริญสมพงษ์ จำกัด       

                                                                                  

             (4)  โครงการโรงไฟฟ้าจากก๊าซหลุมฝังกลบขยะชุมชน บริษัท เจริญสมพงษ์ จำกัด     

                                                                                

             (5)  โครงการโรงไฟฟ้าจากก๊าซหลุมฝังกลบขยะชุมชนบริษัท โรงไฟฟ้าบ้านตาล จำกัด   

                                                                                   

             (6)  โครงการโรงไฟฟ้าจากก๊าซหลุมฝังกลบขยะชุมชน บริษัท ท่าเชียงทอง จำกัด     

                                                                                  

             (7)  โครงการโรงไฟฟ้าจากก๊าซหลุมฝังกลบขยะชุมชน บริษัท แอคทีฟซินเนอร์ยี่ จำกัด     

                                                                                   

             (8)  โครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากก๊าซขยะตามแนวพระราชดำริ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน                                                                                           

 

 

ไฟล์/vdo/ข้อมูล ที่เกี่ยวข้อง: