โครงการศึกษาต้นแบบผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะตลาดสด กทม.

รายละเอียด: 

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้ตระหนักถึงป้ญหาในการจัดการขยะโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในปี พ.ศ. 2548 ขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในเขต กทม. มีประมาณวันละ 8,291 ตัน คิดเป็นร้อยละ 21 ของขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศวันละ 39,221 ตัน ซึ่งในการกำจัดขยะมูลฝอยเหล่านั้น กทม.ได้ว่าจ้างบริษัทเอกชนเป็นผู้ดำเนินการรับจ้างกำจัดขยะที่เก็บรวบรวมมาไว้ที่ศูนย์รวบรวมและขนถ่ายขยะ 3 แห่งคือศูนย์อ่อนนุช ศูนย์หนองแขมและศูนย์สายไหม โดยขยะส่วนใหญ่จะนำไปกำจัดโดยวิธีการแงกลบ และมีบางส่วนที่ใช้วิธีการหมักแบบใช้อากาศ (Composting) ซึ่งจะได้ปุ๋ยหมักเป็นผลผลิตและส่วนที่เหลือจะนำไปฝังกลบ

ทั้งนี้ พพ. ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ในการผลิตพลังงานจากขยะ ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่นำมาใช้ในการจัดการขยะได้ ในการจัดการและผลิตพลังงานจากขยะนั้นสามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบ ซึ่งรูปแบบหนึ่งคือการคัดแยกขยะอินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายและมีความชื้นสูงมาหมักแบบไม่ใช้อากาศ (Anaerobic Digestion) เพื่อผลิตก๊าชชีวภาพ (Biogas) การดำเนินงานรูปแบบนี้สามารถช่วยลดปัญหาจากการกำจัดขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกวิธี อีกทั้งยังช่วยสร้างจิตสำนึกของประชาชนในการคัดแยกขยะ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการจัดการขยะในอนาคต ทำให้การกำจัดขยะส่วนอื่น ๆ ทำได้ง่ายฃึ้น

สำหรับโครงการนี้พพ. ได้มุ่งเน้นในการจัดการขยะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมในตลาดสดโดยเฉพาะในเขต กทม. ซึ่งมตลาดสดมากกว่า 150 แห่ง คุณลักษณะของขยะตลาดสดนั้นโดยส่วนใหญ่มีองค์ประกอบเปีนขยะอินทรีย์ เช่น เศษพืชผัก ผลไม้ และเศษอาหาร ซึ่งหากมีการคัดแยกและนำขยะ
อินทรีย์เหล่านี้มาจัดการโดยการหมักแบบไร้อากาศ จะสามารถผลิตก๊าชชีวภาพนำไปใช้ประโยชน์ได้ ส่งผลให้สามารถช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัดด้วยวิธีอื่น และยังได้พลังงานจากก๊าชชีวภาพมาใช้เป็นพลังงานทดแทนได้อีกด้วย

รูปแบบของโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 
เลขที่สัญญา: 
303/51
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 

htg1

หมวดหมู่: