โครงการส่งเสริมการใช้น้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบผสมผสานปี 2553

รายละเอียด: 

            ปัจจุบันมีกิจกรรมหลายประเภทที่จำเป็นต้องใช้น้ำร้อน  เช่น  โรงพยาบาล  โรงแรม  ร้านอาหาร  ร้านเสริมสวย  เป็นต้น  โดยการผลิตน้ำร้อนได้มีการใช้พลังงานหลายรูปแบบ  ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้มโดยใช้พลังงานจากก๊าซและไฟฟ้า หรือหากเป็นกิจกรรมขนาดใหญ่จะใช้หม้อต้ม ( Boiler) ที่ใช้น้ำมันเตา หรือน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง

            การใช้พลังงานดังกล่าว โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าในการผลิตน้ำร้อน ถือว่าเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสมกับคุณค่าของพลังงานไฟฟ้าทางเลือกหนึ่งของการผลิตน้ำร้อน คือ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และความร้อนเหลือทิ้ง (waste-heat) เช่น ความร้อนทิ้งจากชุดระบายอากาศของเครื่องปรับอากาศ เครื่องทำความเย็น หรือปล่องไอเสีย เป็นต้น

            สำหรับกิจการโรงแรม โรงพยาบาล อาคารธุรกิจหรือโรงงานบางแห่งนั้น สามารถใช้ระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานกับระบบผลิตน้ำร้อนจากความร้อนเหลือทิ้ง เพราะกิจการเหล่านี้ล้วนมีการใช้ระบบปรับอากาศ เครื่องทำความเย็น เตาเผาหรือหม้อไอน้ำ ที่มีความร้อนเหลือทิ้งอยู่มาก การใช้พลังงานผสมผสานดังกล่าว สามารถลดความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงหรือพลังงานไฟฟ้า และสิ่งที่สำคัญ คือ เป็นการใช้พลังงานธรรมชาติและพลังงานเหลือทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง

            กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน จึงได้ริเริ่มจัดทำโครงการส่งเสริมการใช้น้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบผสมผสาน โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2550 เป็นปีแรกที่ให้การศึกษาความเหมาะสมแก่กิจการต่างๆที่ใช้น้ำร้อน และในปี 2551 ได้เริ่มให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วนในการติดตั้งระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสาน ซึ่งได้รับการตอบรับเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก

ปีดำเนินโครงการ: 
เลขที่สัญญา: 
124/53
หน่วยงานที่ดำเนินโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: