การติดตามสถานภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย

รายละเอียด: 

     การติดตามสถานภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทยเป็นการรวบรวมข้อมูลและจัดทำรายงานสำหรับระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงปี พ.ศ. 2559 - 2560 ระยะเวลาการดำเนินงาน 9 เดือน  ตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 29 กรกฎาคม 2561
     ในปี พ.ศ. 2560 การผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทยมีกำลังการผลิตติดตั้งรายปี 250.80 MWp และกำลังการผลิตติดตั้งสะสม 2,697.26 MWp แบ่งเป็น 2 กลุ่มตามการเชื่อมต่อระบบจำหน่ายของการไฟฟ้า คือ
     
1. การผลิตไฟฟ้าฯ แบบเชื่อมต่อระบบจำหน่าย (On-Grid) มีปริมาณ 2,663.12 MWp
     
2. การผลิตไฟฟ้าฯ แบบไม่เชื่อมต่อระบบจำหน่ายหรือระบบผลิตไฟฟ้าแบบอิสระ (Off-Grid) มีปริมาณ 34.14 WMp
     
พบว่าการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผนาน (Hybrid System) ซึ่งเป็นระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับพลังงานอื่น ๆ ได้ถูกนำมาใช้งานทั้งในรูปแบบเชื่อม่อระบบจำหน่ายและแบบไม่เชื่อมต่อระบบจำหน่าย  ในปีเดียวกัน การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมีกำลังการผลิตติดตั้งรายปี 98.80 GWp และกำลังการผลิตติดตั้งสะสม 402.5 GWp  โดยที่ประเทศจีนมีกำลังการผลิตติดตั้งสะสมสูงสุด 131 GWp รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา 51 GWp และญีปุ่น 49 GWp

     การพัฒนาของอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยและทั่วโลกเติบโตด้วยมาตรการรับซื้อไฟฟ้าทั้งแบบ FiT และ FiT Premium หรือ Adder สำหรับประเทศไทยใช้มาตรการ Adder แล้วเปลี่ยนมาใช้ FiT ตามกลไกของตลาดที่ราคาแผงเซลล์แสงอาทิตย์ลดลง ปัจจุบันผู้บริโภคไันมาผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้งานเองและคาดการณ์ว่าจะมีการเติบโตต่อไป อย่างไรก็ตามการผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยผู้บริโภคยังต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐในด้านการกำหนดกฎระเบียบที่ชัดเจนและเป็นธรรมสำหรับผู้ประกอบกิจการและผู้ผลิตไฟฟ้าใช้เอง

    การเติบโตของอุตสาหกรรมการผลิตเซลล์และแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทยซึ่งมีผู้ประกอบการ 13 บริษัท เป็นผู้ประกอบการคนไทย 6 บริษัท และที่เหลือเป็นผู้ประกอบการจากต่างประเทศที่มุ่งเน้นการผลิตเพื่อส่งขายในตลาดต่างประเทศ ส่วนการเติบโตของการจำหน่ายอินเวอร์เตอร์พบว่าเติบโตเช่นกัน โดยสอดคล้องไปตามการเพิ่มขึ้นของกำลังการผลิตติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ส่วนการผลิตและจำหน่ายแบตเตอรี่มีแนวโน้นการเติบโตท้งจากโครงการรับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ SPP Firm และการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า  นอกจากนี้ งานด้านพลังงานของประเทศไทยขับเคลื่อนไปตามแนวทางการปฏิรูปด้านพลังงานของประเทศ ทั้งการปฏิรูปโครงสร้างแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าโดยกำหนดสัดส่วนเชื้อเพลิงและปฏิรูปการจัดหาพลังงานทั้งระบบเกี่ยวโยงถึงแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก AEDP ฉบับใหม่รวมการส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์รูฟอย่างเสรีที่มีรูปแบบการรับซื้อไฟฟ้าและใช้แบตเตอรี่เพื่อสำรองพลังงาน

     จากการดำเนินงานติดตามสถานภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย ได้จัดทำรายงานสถานภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย พ.ศ. 2559 - 2560 ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และฐานข้อมูลสถานภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย http://pvgis.kmutt.ac.th/pvstatus2017/

รูปแบบของโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 
หน่วยงานที่ดำเนินโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 

htg1