ต้นทุนย่อย (Soft cost) ของการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์

โดยนางสาวจารุวรรณ พิพัฒน์พุทธพันธ์ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ
กลุ่มวิชาการ กองพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

 ต้นทุนย่อย (soft cost) ของการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ 

องค์ประกอบของต้นทุนการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก (SEIA, 2019) ได้แก่

1. ต้นทุนหลักหรือค่าใช้จ่ายหลัก (Hardware costs) เป็นต้นทุนที่เกี่ยววัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบติดตั้ง ได้แก่ แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (module) อุปกรณ์แปลงกระแสไฟฟ้า (inverter) อุปกรณ์โครงสร้างยึดระบบ (racking) และอุปกรณ์ระบบสายไฟฟ้า (electrical wiring)

2. ต้นทุนย่อยหรือค่าใช้จ่ายย่อย (Soft costs) เป็นต้นทุนส่วนที่เหลือทั้งหมด เมื่อหักลบต้นทุนหลักออกไปแล้ว (ต้นทุนรวม – ต้นทุนหลัก = ต้นทุนย่อย) ได้แก่ ค่าแรงงานในการติดตั้งระบบ ค่าใช้จ่าย ในการขอใบอนุญาตต่างๆ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับการติดตั้งระบบ และบางครั้งจะรวมค่าเช่าที่ดิน ค่าโฆษณา ภาษีการขาย ค่าใช้จ่ายในการดาเนินกิจการ (overhead cost) และกาไรของผู้ประกอบการ ฯลฯ (Feldman, D. et al., 2021) ซึ่งแต่ละประเภทรายการต้นทุนย่อยที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันไปตามขนาดธุรกิจที่ดาเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์
 
        และเมื่อจำแนกระดับของต้นทุนย่อยหรือค่าใช้จ่ายย่อย (Soft costs) ของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ สามารถแบ่งออกเป็น 5 ระดับ (DOE, 2021) ได้แก่
        1) ต้นทุนย่อยของระบบ (system-level Soft costs)
        2) ต้นทุนย่อยของผู้ประกอบการติดตั้งระบบ (installer-level Soft costs)
        3) ต้นทุนย่อยของตลาด (market-level Soft costs)
        4) ต้นทุนย่อยทางการเงิน (financing Soft costs)
        5) ต้นทุนย่อยของการดาเนินการตามกฎหมาย (jurisdiction-level Soft costs)
 
การวิเคราะห์แนวโน้มต้นทุนย่อยของการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์
               จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า ช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา แนวโน้มต้นทุนรวมการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แต่ละขนาดลดลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อพิจารณาเฉพาะต้นทุนย่อยของการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ พบว่า แนวโน้มของต้นทุนย่อยไม่ได้ลดลงในทิศทางเช่นเดียวกับต้นทุนรวม หากแต่ยังมีแนวโน้มคงที่และเพิ่มสูงขึ้นในบางขนาด ขณะที่แนวโน้มของต้นทุนหลักลดลงในทิศทางสอดคล้องกับแนวโน้มการลดลงของต้นทุนรวม จีงเห็นได้ว่า แนวโน้มการลดลงของต้นทุนรวมของการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แต่ละขนาดจะมาจากการลดลงของต้นทุนหลักเป็นสาคัญ แต่อย่างไรก็ตาม ความพยายามบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุนหลักอาจเป็นไปได้ยาก เนื่องจากขึ้นอยู่กับ ความก้าวหน้าในการพัฒนาประสิทธิภาพเทคโนโลยีและอุปกรณ์แต่ละประเภท รวมถึงกลไกของตลาด (demand-supply mechanism) ที่ต้องอาศัยระยะเวลา จึงทาให้การส่งเสริมสนับสนุนการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์บางขนาดจะต้องรอระยะเวลาที่เหมาะสม ส่วนต้นทุนย่อยจะเป็นต้นทุน บริหารจัดการ ซึ่งส่วนหนึ่งของต้นทุนย่อยเกิดจากขั้นตอน กระบวนการของภาครัฐ หรือเป็นต้นทุนส่วนที่สามารถใช้นโยบายของภาครัฐเข้ามาช่วยสนับสนุนได้
 
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
         1. ควรมีการศึกษา รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลโครงสร้างต้นทุนของการติดตั้ง การจาแนกต้นทุนการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ในเชิงลึกแต่ละขนาด เพื่อนามาใช้ประกอบการกาหนดกลยุทธ์หรือมาตรการส่งเสริมสนับสนุนเชิงนโยบาย
         2. ควรพิจารณาแนวทางหรือมาตรการลดต้นทุนย่อยในส่วนที่ภาครัฐเกี่ยวข้องและสามารถดาเนินการได้ เช่น ค่าใช้จ่ายในการขอใบอนุญาตต่างๆ เพื่อเป็นการลดภาระและสร้างแรงจูงใจในการติดตั้งระบบเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะขนาดครัวเรือน เพื่อนาไปสู่การส่งเสริมการผลิตและการใช้ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์
 
///สามารถอ่านข้อมูลบทความฉบับเต็ม ได้ที่ไฟล์ด้านล่าง///
 
ไฟล์/vdo/ข้อมูล ที่เกี่ยวข้อง: 
AttachmentSize
PDF icon Soft cost.pdf493.07 KB
promote: