GIZ เผยแพร่รายงานผลการดำเนินโครงการSolar Rooftopของประเทศไทย

 

วันที่ 8 เมษายน 2557

กรุงเทพฯ – รายงานฉบับใหม่ที่ทำการวิเคราะห์โครงการปป Solar Rooftop ของประเทศไทย

            ผลการศึกษาของ Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit (GIZ) GmbH พบว่าโครงการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) ในประเทศไทย       เป็นหนึ่งในโครงการสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนที่มีการดำเนินการรวดเร็วที่สุดในโลก    โดยในเดือนกรกฎาคม 2556   คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้ตัดสินใจที่จะดำเนินนโยบายส่งเสริม solar rooftop     ซึ่งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)    ได้ประกาศระเบียบและข้อกำหนดการดำเนินการออกมาในเดือนกันยายน 2556      และในเดือนกันยายนนั้นเองก็มีการประกาศรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ solar PV rooftop ให้สาธารณชนทราบ     ต่อมาในเดือนตุลาคมก็มีการประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ซึ่งมีกำลังการผลิตรวมมากกว่า 200 MW จากระบบที่ติดตั้งบนหลังคาของอาคารพาณิชย์และที่อยู่อาศัย  ซึ่งกระบวนการดังกล่าวนี้ทำให้โครงการ solar PV rooftop  ของประเทศไทยเป็นหนึ่งในโครงการสนับสนุนที่มีการดำเนินการเร็วที่สุดในโลก

            ในรายงานเรื่อง “การพัฒนา PV Rooftop ในประเทศไทย – การวิเคราะห์กฎระเบียบและความท้าทาย” ของ GIZ  ที่เพิ่งเผยแพร่ออกมาพบว่ากฎระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้องมีความละเอียดรอบด้าน     โดยมีการคำนึงถึงผลกระทบด้านต่างๆ ซึ่งมักจะมีแต่ในตลาดของประเทศที่พัฒนาแล้วเท่านั้นนี้ที่ให้ความสนใจ     ซึ่งโดยรวมแล้วรายงานฉบับนี้ชื่นชมถือกับกฎระเบียบที่สามารถประกาศใช้โดยใช้เวลาเพียงไม่นาน     รายงานฉบับนี้ได้ทำการวิเคราะห์ถึงกรอบการบริหารในปัจจุบันที่เกี่ยวกับการรับรู้ความคืบหน้าของการติดตั้ง rooftop solar PV โดยการอ้างอิงกับการปฏิบัติงานที่ดีในระดับสากลและชี้ให้เห็นความท้าทายของทั้งเจ้าของโครงการและผู้ติดตั้งระบบ รายงานฉบับนี้จัดทำโดยบริษัทที่ปรึกษา eclareon  GmbH   ภายใต้กรอบของโครงการ Project Development     Programmed     (PDP)     เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งดำเนินการโดย GIZ ในนามของกระทรวงเศรษฐกิจและพลังงานของประเทศเยอรมนี       โดยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงานของประเทศไทย

           ข้อมูลสำคัญที่รายงานฉบับนี้กล่าวถึง  ความท้าทายที่เป็นผลงานของกกพ. ก็คือความพยายามที่จะลดความยุ่งยากในส่วนของกระบวนการในการดำเนินงาน     ซึ่งแต่เดิมผู้ประกอบการผลิตฟ้าพลังแสงอาทิตย์จำเป็นต้องขอใบอนุญาตหลายใบ  ซึ่งหนึ่งในนั้นได้แก่ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานตาม พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ.2535   (รง.4) เนื่องจากการขอใบอนุญาตฉบับนี้อาจจะมีกระบวนการที่ต้องใช้เวลานาน ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการที่จะผลักดันให้ระบบ solar rooftop  สามารถดำเนินการได้โดยเร็ว ทางกกพ. จึงได้ออกประกาศว่าในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์บนหลังคาที่มีกำลั้งการผลิตต่ำกว่า 10 kWp ไม่จำเป็นต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน  

           ดร.ดิเรก  ลาวัณย์ศิริ  ประธานกกพ. บอกว่าการผลิตไฟฟ้าตามโครงการ solar rooftop ที่มีกำลังการผลิตต่ำกว่า 10 kWp ไม่ถือว่าเข้าข่ายเป็นโรงงาน และไม่ต้องยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน โดยให้เหตุผลว่าอุปกรณ์การผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา ไม่มีลักษณะเป็นเครื่องจักรตามกฎหมายไทย และไม่มีการปล่อยมลพิษ ที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเหมือนกับการประกอบกิจการโรงงานทั่วไป ดังนั้น กกพ. จึงแจ้งกับการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และเชื่อมต่อไฟฟ้าที่ผลิตจากระบบ solar rooftop เข้าสู่ระบบสายส่งไฟฟ้ากับผู้ประกอบการทุกรายที่ได้รับอนุญาตจากกกพ. ซึ่งเท่ากับเป็นการเร่งกระบวนการในการพัฒนาโครงการ และจะทำให้โครงการผลิตไฟฟ้าตามโครงการสามารถส่งไฟฟ้าเข้าระบบได้ในเร็วๆ นี้   

            ถึงแม้กรมโรงงานอุตสากรรม (กรอ.) จะคัดค้านการตัดสินใจของกกพ. แต่ทั้งสองฝ่ายก็ตกลงที่จะเร่งหาทางออกในประเด็นที่ยังติดค้างอยู่ โดยเฉพาะในส่วนของระบบการผลิตที่ใหญ่ขึ้น ถึงกระนั้นแนวโน้มของผู้ประกอบการระบบ solar rooftop ที่มีกำลังการผลิตเล็กกว่า 10 kW ก็ดูน่าจะราบรื่นกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่อย่างน้อยก็ในประเด็นนี้

ไฟล์/vdo/ข้อมูล ที่เกี่ยวข้อง: