แผนที่แสดงสถานภาพการผลิตและการใช้งานก๊าซชีวภาพในประเทศไทย

แผนที่แสดงสถานภาพการผลิตและการใช้งานก๊าซชีวภาพในประเทศไทย

ก๊าซชีวภาพ เป็นพลังงานหมุนเวียน ( Renewable Energy) ชนิดหนึ่งที่สามารถดำเนินการผลิตและใช้เป็นพลังงานทดแทนพลังงานจากฟอสซิล ( น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน) หรือจัดเป็นพลังงานทางเลือก (Alternative Energy) ที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเป็นประเทศเกษตรกรรม ทำให้มีวัตถุดิบที่สามารถนำมาผลิตก๊าซชีวภาพได้อย่างหลากหลาย เช่นของเสียหรือน้ำเสียจากภาคอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ภาคปศุสัตว์ ภาคชุมชนและสถานประกอบการต่างๆ หรือแม้แต่ของเหลือทิ้งทางการเกษตรหรือจากพืชพลังงานต่างๆ 

          ที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยว กับการจัดหาและพัฒนาพลังงานทดแทน ได้แก่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้ให้การสนับสนุนภาคเอกชนที่มีวัตถุดิบที่สามรถผลิตก๊าซชีวภาพได้ ทั้งโรงงานอุตสาหกรรม ฟาร์มปศุสัตว์ ชุมชนและสถานประกอบการต่างๆ ให้ดำเนินการก่อสร้างระบบผลิตก๊าซชีวภาพและ นำก๊าซชีวภาพที่ได้ไปใช้เป็นพลังงานทดแทนทั้งน้ำมันและก๊าซ ในการผลิตพลังงานความร้อนและไฟฟ้า ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง พพ. จึงได้กำหนดให้ก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานชนิดหนึ่งที่อยู่ในแผนพัฒนาพลังงานทด แทนและพลังงานทางเลือก 25 % ใน 10 ปี ( พ.ศ.2555 -2564) โดยเป้าหมายตามแผนคือภายในปี พ.ศ. 2564 จะต้องใช้ก๊าซชีวภาพเป็นเชื้อเพลิงทดแทนเพื่อผลิตไฟฟ้ารวม 3600 MW และผลิตความร้อนรวม 1,000 ktoe

ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรม ฟาร์มปศุสัตว์ ชุมชนและสถานประกอบการต่างๆ ติดตั้งระบบผลิตและใช้ก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานทดแทนเป็นจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วประเทศ ดังนั้น พ.พ. จึงได้จัดทำฐานข้อมูลแสดงสถานที่ติดตั้งและใช้งานระบบก๊าซชีวภาพทุกแห่งทั่ว ประเทศ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการติดตามและประเมินผลการผลิตก๊าซชีวภาพในสถานประกอบ การที่มีการติดตั้งระบบแล้วทุกแห่งซึ่งจะทำให้ทราบสถานภาพการผลิต ทั้งปริมาณที่ผลิตได้เป็นลูกบาศก์เมตร (NM3) และการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนเพื่อผลิตไฟฟ้า (MW)และผลิตความร้อน (ktoe) ในทุกอำเภอทั่วประเทศ พร้อมทั้งแสดงศักยภาพคงเหลือทั้งหมดที่จะสามารถผลิตเพิ่มได้อีกจากวัตถุดิบ ต่างๆ ทั้งของเสียและของเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรม ภาคปศุสัตว์ ภาคชุมชนและสถานประกอบการ ภาคเกษตร และท้ายที่สุดคือจากพืชพลังงาน โดยข้อมูลศักยภาพดังกล่าวมีรายละเอียดในทุกอำเภอของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยศักยภาพดังกล่าวแสดงในรูปปริมาณที่สามารถผลิตเพิ่มได้เป็นลูกบาศก์เมตร (NM3) ปริมาณเทียบเท่าพลังไฟฟ้า (MW) หรือปริมาณเทียบเท่าความร้อน (ktoe) หรือปริมาณเทียบเท่าก๊าซชีวภาพอัด (CBG)   โดยในอนาคค พพ. จะจัดทำข้อมูลศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพในจากวัตถุดิบที่แต่ละอำเภอมีอยู่ให้ครบทุกอำเภอทั่วประเทศต่อไป

http://biogas.dede.go.th/biogas/web_biogas/

ไฟล์/vdo/ข้อมูล ที่เกี่ยวข้อง: 
promote: