โครงการสนับสนุนการลงทุนติดตั้งใช้งานระบบอบแห้ง พลังงานแสงอาทิตย์ ปี 2555

รายละเอียด: 

ประเทศไทยมีการผลิตอาหารแห้ง เช่น ผัก ผลไม้ และสมุนไพรทั้งในระดับครัวเรือนและระดับอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดเล็กกระจายกันอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ตัวอย่างเช่น การผลิตลำไยแห้งในจังหวัดทางภาคเหนือปีละกว่า 500,000 ตัน เป็นเงินปีละ 1,600 ล้านบาท การผลิตกล้วยตากปีละประมาณ 4,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจปีละกว่า 100 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการผลิตผลไม้แห้งอื่นๆ อาหารทะเลแห้ง และสมุนไพรต่างๆ โดยบางส่วนส่งไปจำหน่ายในต่างประเทศ

ในการผลิตผลิตภัณฑ์อบแห้งในประเทศยังประสบปัญหาหลายประการ ที่สำคัญได้แก่ เกษตรกร และผู้ประกอบการส่วนใหญ่อบแห้งโดยการตากแดดตามธรรมชาติ ทำให้ผลิตภัณฑ์แห้งที่ได้มีการปนเปื้อนจากการรบกวนของแมลง ฝุ่นละออง และการเปียกฝน มีผลทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐานสำหรับการส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ถึงแม้จะมีเกษตรกรบางส่วนเริ่มนำเครื่องอบแห้งแบบใช้แก๊สหรือหม้อไอน้ำ ซึ่งใช้น้ำมันหรือแก๊สเป็นเชื้อเพลิง แต่จากราคาน้ำมันและแก๊สที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น นอกจากนี้การใช้เครื่องอบแห้งดังกล่าวยังก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร ทำให้ได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ค่อนข้างสูงตลอดปี ดังนั้น กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานจึงได้ทำการวิจัยและพัฒนาระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับอบแห้งผลผลิตทางการเกษตรต่างๆ หลายแบบ ซึ่งมีศักยภาพในการนำไปใช้งานจริงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบอบแห้งแบบเรือนกระจก ซึ่งสะดวกต่อการใช้งาน อย่างไรก็ตามระบบอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นระบบที่มีการลงทุนเริ่มต้นสูง ดังนั้นหากจะส่งเสริมให้เกิดการใช้อย่างแพร่หลาย ควรมีการสนับสนุนเงินลงทุนบางส่วนแก่ชุมชน หรือผู้ประกอบการ ที่มีการอบแห้งผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มคุณค่าของผลิตภัณฑ์นั้นๆ และเป็นการเพิ่มรายได้ไปสู่ท้องถิ่นได้มากขึ้นอีกด้วย

ปีดำเนินโครงการ: 
เลขที่สัญญา: 
219/55
หน่วยงานที่ดำเนินโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 

htg1

หมวดหมู่: