คู่มือการพัฒนาและลงทุนผลิตพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์

               ประเทศไทยได้เริ่มมีการผลิตไฟฟ้าโดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์ เมื่อปี พ.ศ.2519   โดยหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขและมูลนิธิแพทย์อาสาฯ มีประมาณ 300 แผงแต่ละแผงมีขนาด 15/30 วัตต์ และได้มีนโยบายและแผนด้าน เซลล์แสงอาทิตย์ บรรจุลงใน แผนพัฒนาฯ ฉบับที่   4 (พ.ศ. 2520-2524)  ซึ่งการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ได้ติดตั้ง ใช้งาน อย่างเป็นรูปธรรมในช่วงท้ายของ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534)  โดยมีกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน(กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานในปัจจุบัน)  กรมโยธาธิการ  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่เป็นหน่วยงานหลัก ในการนำเซลล์แสงอาทิตย์ใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้า   เพื่อใช้งานในด้านแสงสว่าง   ระบบโทรคมนาคม และเครื่องสูบน้ำ

               สำหรับคู่มือการพัฒนาและการลงทุนผลิตพลังงานทดแทนจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้จัดทำขึ้นนี้จะเป็นคู่มือที่จะช่วยให้ผู้สนใจทราบถึงเป้าหมายของแผนพัฒนาพลังงานทดแทน รวมทั้งมีความเข้าใจในแนวทางการพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ มาใช้ทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล อาทิ  การพิจารณาถึงศักยภาพ  โอกาสและความสามารถในการจัดหาแหล่งพลังงานหรือวัตถุดิบ ลักษณะการทำงานทางเทคนิค และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่โดยทั่วไปข้อดีและข้อเสียเฉพาะของแต่ละเทคโนโลยี การจัดหาแหล่งเงินทุน กฎระเบียบและมาตรการ

ไฟล์/vdo/ข้อมูล ที่เกี่ยวข้อง: 
AttachmentSize
PDF icon h_solar.pdf8.93 MB