ผลสำเร็จของการปฏิบัติตามกฎหมายสำหรับโรงงานควบคุม
แนวความคิด การจัดทำแพลตฟอร์มการขอความช่วยเหลือในการอนุรักษ์พลังงาน
Designing and planning the animal waste-to-energy supply chains: A case study
ความต้องการใช้พลังงานสะอาดและการขาดแคลนเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นสาเหตุเบื้องหลังการเพิ่มขึ้นของการใช้พลังงานหมุนเวียน ก๊าซชีวภาพเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายที่ได้จากกระบวนการหมักย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic fermentation) ของสารอินทรีย์ต่าง ๆ รวมไปถึงของเสียจากสัตว์ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าได้ บทความนี้ได้นำเสนอแบบจำลองโปรแกรมเชิงเส้นแบบผสม (mixed linear programming model) สำหรับการออกแบบและวางแผนห่วงโซ่อุปทานการผลิตไฟฟ้าจากมูลสัตว์ แบบจำลองดังกล่าวสามารถบอกตำแหน่งที่ตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม ระดับกำลังการผลิตที่เหมาะสม และ flow ของวัตถุดิบต่าง ๆ จนครบวงจรห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ ในแบบจำลองยังได้คำนึงถึงความหลากหลายของวัตถุดิบ ศูนย์รวบรวม โรงงานผลิต รวมถึงเงื่อนไขของช่วงเวลาที่ต่างกัน โดยผู้วิจัยได้นำแบบจำลองมาประยุกต์ใช้กับประเทศอิหร่านทั้ง 30 จังหวัด เป็นเวลา 10 ปี ผลการศึกษาพบว่า แบบจำลองดังกล่าวสามารถออกแบบเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานการผลิตไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จากโรงไฟฟ้าสถานีอวกาศ (Space-based Solar Power Station: SSPS)

เนื่องจากความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น หลายประเทศจึงให้ความสนใจการผลิตไฟฟ้าในรูปแบบใหม่มากขึ้น ระบบ SSPS เป็นอีกหนึ่งในนวัตกรรมการผลิตไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพและมีการปล่อยคาร์บอนจำนวนน้อย สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างสม่ำเสมอ ตลอดเวลา โดยไม่ขึ้นกับสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนพื้นผิวโลก แต่แนวคิด SSPS ยังคงเป็นเทคโนโลยีที่เพิ่งเริ่มต้น ยังคงมีปัญหา อุปสรรค และความท้าทายมากมายให้ก้าวข้ามและแก้ไข