แสงอาทิตย์

โครงการดำเนินการโครงการส่งเสริมระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับอาคารของรัฐ (ปีที่2)

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ในปัจจุบันหน่วยงานของรัฐหลายประเภทที่จำเป็นต้องใช้น้ำร้อนในการดำเนินงาน เช่น โรงพยาบาล สถานศึกษา เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วิธีการผลิตน้ำร้อนโดยใช้พลังงานจากก๊าซและไฟฟ้า หรือหากเป็นอาคารขนาดใหญ่จะใช้หม้อต้ม (Boiler) ที่ใช้น้ำมันเตาหรือน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง การใช้พลังงานดังกล่าวในการผลิตน้ำร้อนเป็นการใช้พลังงานเชื้อเพลิงโดยตรงในการสันดาป ซึ่งก่อให้เกิดมลภาวะความร้อนอันส่งผลถึงปัญหาสภาวะโลกร้อน ส่วนการใช้ไฟฟ้าในการผลิตน้ำร้อนก็เป็นการใช้พลังงานอย่างไม่คุ้มค่า แม้บางกรณีจะมีประสิทธิภาพเชิงความร้อนสูงก็ตาม เนื่องจากไฟฟ้าเป็นพลังงานคุณภาพสูง (High grade energy) ที่เปลี่ยนรูปมาจากความร้อนก่อน

โครงการศึกษาศักยภาพการผลิตและการใช้ระบบทำความเย็นด้วยพลังงานความร้อนแสงอาทิตย์

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ระบบทำความเย็นพลังงานแสงอาทิตย์เป็นการนำความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ได้รับในช่วงกลางวันมาใช้เป็นแหล่งพลังงานเพื่อทำให้เกิดความเย็นขึ้นในอาคารได้ซึ่งผลที่ได้รับ คือ เมื่อแสงอาทิตย์มีความร้อนมากที่สุดก็ยิ่งส่งผลให้สามารถผลิตความเย็นได้สูงสุดเช่นกัน เนื่องจากความต้องการใช้ระบบทำความเย็นจะเพิ่มขึ้น และลดลงอย่างเป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์กับปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้รับนั่นเอง การศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบทำความเย็นด้วยพลังงานแสงอาทิตย็ได้มีการดำเนินการมานานแล้วในกลุ่มประเทศยุโรป และสหรัฐอเมริกา และในปัจจุบันเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจมากขึ้นและมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย็ได้แล้ว ทั้งในประเทศ อิสรา

โครงการสนับสนุนการลงทุนติดตั้งใช้งานระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ประเทศไทยมีการผลิตอาหารแห้ง เช่น ผัก ผลไม้ และสมุนไพรทั้งในระดับครัวเรือนและระดับอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดเล็กกระจายกันอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ตัวอย่างเช่น การผลิตลำไยแห้งในจังหวัดทางภาคเหนือปีละกว่า 500,000 ตัน เป็นเงินปีละ 1,600 ล้านบาท การผลิตกล้วยตากปีละประมาณ 4,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจปีละกว่า 100 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการผลิตผลไม้แห้งอื่นๆ อาหารทะเลแห้ง และสมุนไพรต่างๆ โดยบางส่วนส่งไปจำหน่ายในต่างประเทศ

โครงการสนับสนุนการลงทุนติดตั้งใช้งานระบบอบแห้ง พลังงานแสงอาทิตย์ ปี 2555

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ประเทศไทยมีการผลิตอาหารแห้ง เช่น ผัก ผลไม้ และสมุนไพรทั้งในระดับครัวเรือนและระดับอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดเล็กกระจายกันอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ตัวอย่างเช่น การผลิตลำไยแห้งในจังหวัดทางภาคเหนือปีละกว่า 500,000 ตัน เป็นเงินปีละ 1,600 ล้านบาท การผลิตกล้วยตากปีละประมาณ 4,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจปีละกว่า 100 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการผลิตผลไม้แห้งอื่นๆ อาหารทะเลแห้ง และสมุนไพรต่างๆ โดยบางส่วนส่งไปจำหน่ายในต่างประเทศ

โครงการส่งเสริมการใช้น้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบผสมผสานปี 2555

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

จากสถิติการใช้พลังงานในภาคธุรกิจโรงแรม โรงพยาบาล และโรงงานที่ใช้น้ำร้อน พบว่า ค่าพลังงานที่ใช้มากที่สุดคือ เครื่องปรับอากาศประมาณร้อยละ 60 รองลงมาคือระบบผลิตน้ำร้อนประมาณร้อยละ 30 ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 10 คือระบบไฟฟ้าและแสงสว่าง ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเพื่อการผลิตน้ำร้อนเป็นต้นทุนที่อยู่ในเกณฑ์สูง ในปัจจุบันนี้ถึงแม้ว่าระบบผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์จะมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ แต่การลงทุนเบื้องต้นยังมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงและการติดตั้งจะต้องใช้ผู้ที่มีความรู้ และความเข้าใจทางด้านเทคนิคเป็นอย่างดี จึงจะทำให้การใช้งานระบบฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้ประกอบการจ

Pages