พลังงานทดแทน

โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

เซลลูโลส เป็นแหล่งวัตถุดิบที่ได้รับความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์ในการนำมาผลิตเอทานอลเป็นอย่างมาก โดยเอทานอลที่ผลิตจากเซลลูโลสเป็นเอทานอลที่ผลิตจากวัตถุดิบหลักประเภทฟางข้าว กากอ้อย ซังข้าวโพด และเปลือกไม้ รวมทั้งวัชพืช เช่น ผักตบชวา หญ้า และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น เหง้ามันสำปะหลัง เป็นต้น เนื่องจากในวัตถุดิบดังกล่าวจะประกอบด้วยลิกโนเซลลูโลส (Lignocellulosic Material) ซึ่งเป็นสารประกอบอินทรีย์ประเภทคาร์โบไฮเดรตที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์พืช ที่เกิดขึ้นจากหน่วยย่อยของน้ำตาลกลูโคสเชื่อมต่อกันเป็นสายยาวหรือที่เรียกว่าโพลีเมอร์ของน้ำตาลกลูโคส ทำให้เอทานอลที่ผลิตจากเซลลูโลสมีสมบัติและลักษณะ

โครงการวิจัย สาธิต และพัฒนาการใช้ไบโอดีเซลชุมชนเพื่อลดต้นทุนการผลิต

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ในขั้นตอนการผลิตไบโอดีเซลชุมชนในปัจจุบัน หลังจากที่มีการแยกกลีเชอรีนจากไบโอดีเซลแล้วจะทำไบโอดีเซลให้ฆริสุทธิ้ด้วยการล้างนั้าเปล่า 3-4 ครั้ง ส่งผลให้เกิดนํ้าเสียขื้น นอกจากนั้นการล้างนํ้าแต่ละครั้งจะใช้เวลานานเพื่อให้เกิดการแยกตัวระหว่างนั้าล้างกับไบโอดีเซล และสุดท้ายต้องมีการกำจัดน้ำในไบโอดีเซล ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้นํ้าล้างไบโอดีเซลจะหมดไปถ้าเปลี่ยนเทคนิคมาใช้สารดูดซับแทนการใช้สารดูดซับจะช่วยให้ไม่มีนั้าเสียจากการล้าง ไบโอดีเซลไม่ต้องให้ความร้อนเพื่อกำจัดนั้าที่ตกค้างอีกทั้งยังประหยัดเวลาในการผลิต การเพาะปลูกสบู่ดำ ซงเป็นฟืชนํ้ามันที่สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล การเปรยบเ

โครงการพัฒนาประเมินผลและเสนอแนะด้านบริหารจัดการ โครงการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานด้วยไบโอดีเซลฃชุมชน (ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ตามที่รัฐบาลได้มีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลจากปาล์มและแผนปฏิบัติการการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซล เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 และวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 ตามลําดับ ซึ่งได้มอบหมายให้กระทรวงพลังงาน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งเสริมการผลิตและการใช้ไบโอดีเซลให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ โดยกระทรวงพลังงาน ได้แบ่งการพัฒนาส่งเสริมการผลิตและการใช้ไบโอดีเซลออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ การพัฒนาไบโอดีเซลในระดับชุมชน และการพัฒนาไบโอดีเซลเชิงพาณิชย์ โดยมีเป้าหมายการพัฒนาผลิตและใช้ไบโอดีเซล (B100) 3.02 ล้านลิตร/วัน ในปี พ.ศ.2554

การศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น โครงการสาธิตการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมขนาดใหญ่ จ.ปัตตานี

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

การศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น เป็นการรวบรวมและทบทวนการศึกษาข้อมูลเอกสารและรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ การสำรวจข้อมูลและสังเกตการณ์เบื้องต้นบริเวณพื้นที่โครงการ การศึกษาประเมินผลตอบแทน การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น การประชาสัมพันธ์ การประเมินการมีส่วนร่วมของประชาชน การเสนอแนะมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผลการสำรวจข้อมูลการใช้กังหันลมในประเทศไทย นับตั้งแต่ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานของพลังงานลม จนไปถึงปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกังหันลมที่พบ ทัศนคติที่ประชาชนในพื้นที่โครงการและบริเวณใกล้เคียงมีต่อโครงการสาธิตการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมขนาดใหญ่ จ.ปัตตานี (

การศึกษาความเป็นไปได้และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นในการพัฒนาทุ่งกังหันลมนอกชายฝั่ง

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ลมเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญของโลก และมีเทคโนโลยีที่พร้อมใช้งาน โดยปัจจุบันประเทศต่างๆ ทำการติดตั้งกังหันลม เพื่อผลิตไฟฟ้าคิดเป็นกำลังติดตั้ง 200 GW โดยมีทั้งการติดตั้งบนบกและนอกชายฝั่ง สำหรับการติดตั้งนอกชายฝั่งปัจจุบันทั่วโลกมีการติดตั้งรวม 3,000 MW และมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะการติดตั้งกังหันลมนอกชายฝั่งมีข้อดีหลายประการ เช่น บริเวณนอกชายฝั่งไม่มีสิ่งกีดขวางทางลม และมีข้อจำกัดด้านการใช้พื้นที่น้อย อีกทั้งสามารถขนส่งกังหันลมขนาดใหญ่ไปติดตั้งทางเรือได้สะดวก กรณีของประเทศไทยมีพื้นที่นอกชายฝั่ง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านอ่าวไทย และด้านทะเลอันดามัน ซึ่งยังไม่มีการศึกษาศักยภาพในการใช

Pages