พลังงานทดแทน

โครงการศึกษาความเป็นไปได้และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานลมในแหล่งลมดี

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ตามที่สำนักวิจัยค้นคว้าพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้ทำการปรับปรุงแผนที่ศักยภาพพลังงานลมสำหรับประเทศไทย เมื่อปี 2552 ซึ่งทำให้ทราบว่าบริเวณพื้นที่ใดมีศักยภาพของพลังงานลมเพียงพอที่จะพัฒนาเป็น Wind farm ได้ แต่จำเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านอื่นๆ เช่น ขนาดพื้นที่เพียงพอหรือไม่ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์มีหรือไม่ระบบสายส่งไฟฟ้ามีความพร้อมหรือไม่จะต้องลงทุนก่อสร้างหรือปรับปรุงสายส่งเพิ่มเติมอย่างไร รวมไปถึงมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่อย่างไร ประเด็นต่างๆ เหล่านี้จะต้องทำการศึกษาให้ครอบคลุมและครบถ้วน ก่อนที่จะส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนให้มาลงทุนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ให้

งานพัฒนาแหล่งน้ำพุร้อนกลุ่มที่มีศักยภาพต่ำโดยใช้เทคโนโลยี การเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อทำห้องอบแห้งสำหรับพืชผลทางการเกษตร

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

น้ำพุร้อน เป็นแหล่งพลังงานทดแทนชนิดหนึ่ง สามารถทดแทนการใช้พลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนจากเชื้อเพลิงนํ้ามันได้ อย่างไรก็ตาม แหล่งนํ้าพุร้อนส่วนใหญ่ของประเทศไทย มีศักยภาพปานกลางถึงตํ่า โดยเฉพาะแหล่งน้ำพุร้อนที่มีศักยภาพตํ่า ไม่สามารถนำมาใช้ผลิตพลังงานได้
โดยตรง มักจะถูกปล่อยทิ้ง ไม่ได้มีการนำมาใช้ประโยชน์ ดังนั้นหากมีการใช้เทคโนโลยีเพิ่มอุณหภูมิของนั้า จะสามารถเพิ่มปริมาณการใช้ประโยชน์จากแหล่งนั้าพุร้อนในประเทศไทยได้ไม่ตํ่ากว่า 30 แหล่ง ช่วยให้ประเทศไทยลดการใช้พลังงานจากนั้ามันได้มากขึ้น

โครงการศึกษาเพื่อประเมินศักยภาพแหล่งน้ำพุร้อนในประเทศไทย

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ประเทศไทยเคยมีการสำรวจแหล่งน้ำพุร้อนนานมาแล้ว โดยข้อมูลส่วนใหญ่เน้นด้านธรณีวิทยาเพื่อพิจารณาหินต้นกำเนิดของน้ำพุร้อน และ/หรือเพื่อมุ่งเน้นการผลิตไฟฟ้าเท่านั้น ดังนั้น ในการนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ประโยชน์เพื่อการวางแผนในการดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำพุร้อนเชิงพาณิชย์ เช่น ใช้ในห้องอบแห้ง-ห้องเย็นเพื่อเก็บพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งการใช้ประโยชน์ในด้านธาราบำบัด (Spa) จึงมีขีดจำกัดแหล่งน้ำพุร้อนเป็นแหล่งพลังงานที่สามารถจะนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนเช่น ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ใช้เป็นแหล่งความร้อนในการอบแห้งและอบเย็นพืชผลการเกษตร หรือใช้เป็นแหล่งพลังงานในการทำห้องปรับอากาศ จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดภาระกา

โครงการสนับสนุนการลงทุนติดตั้งใช้งานระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ประเทศไทยมีการผลิตอาหารแห้ง เช่น ผัก ผลไม้ และสมุนไพรทั้งในระดับครัวเรือนและระดับอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดเล็กกระจายกันอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ตัวอย่างเช่น การผลิตลำไยแห้งในจังหวัดทางภาคเหนือปีละกว่า 500,000 ตัน เป็นเงินปีละ 1,600 ล้านบาท การผลิตกล้วยตากปีละประมาณ 4,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจปีละกว่า 100 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการผลิตผลไม้แห้งอื่นๆ อาหารทะเลแห้ง และสมุนไพรต่างๆ โดยบางส่วนส่งไปจำหน่ายในต่างประเทศ

การพัฒนาระบบติดตามข้อมูลการใช้ชีวมวลในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ

ปีดำเนินโครงการ: 

 นับวันการใช้พลังงานสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆทั่วโลกนั้นมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศทั้งในรูปของน้ำมันเชื้อเพลิง และถ่านหิน ทั้งๆที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากรมากกว่าร้อยละ 50 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลพลอยได้ที่สำคัญนอกเหนือจากผลผลิตการเกษตรก็คือ วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว แกลบ กากอ้อย กาก ใย ทะลายปาล์ม และผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงในการใช้เชื้อเพลิง ชีวมวลในอุตสาหกรรมและการผลิตไฟฟ้า สาเหตุที่เรายังไม่สามารถใช้ศักยภาพดังกล่าวได้อย่างเต็มที่ นอกเหนือจากการขาดการค้นคว้าและวิ

Pages