พลังงานทดแทน

โครงการการศึกษาวางแผนพัฒนาไฟฟ้าพลังนํ้าในพื้นที่ลุ่มนํ้าปิงและยม

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก นับเป็นทางเลือกหนึ่งในการบรรเทาปัญหาวิกฤติน้ำมันและพลังงาน โดยสามารถลดการจัดหาทรัพยากรพลังงานที่เป็นเชื้อเพลิงฟอสซิล จากต่างประเทศ และเป็นการลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศอีกด้วย โดยทางเทคนิคแล้ว ไฟฟ้าพลังน้ำสามารถพัฒนาและดำเนินการได้ง่ายภายในระยะเวลาอันสั้น มีบทบาทที่สำคัญทั้งในการเป็นแหล่งผลิตระดับท้องถิ่นให้กับพื้นที่ที่มีความต้องการไฟฟ้าโดยตรงและยังสามารถเป็นแหล่งพลังงานเสริมให้กับระบบไฟฟ้าหลักของประเทศได้ด้วย ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยใช้ศักยภาพของพลังงานน้ำไปเพียงประมาณร้อยละ 30 เท่านั้น

การนำร่องการจัดการขยะชุมชนกรณีศึกษา เทศบาลตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ (ปีที่ 2)

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

งานวิจัยการนำร่องการจัดการขยะชุมชน กรณีศึกษา : เทศบาลตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ (ปีที่ 2) เป็นงานวิจัยที่บูรณาการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะมูลฝอย และศึกษาออกแบบด้านเทคนิคในพื้นที่ฝังกลบเดิมเพื่อการกำจัดขยะอย่างมีประสิทธิภาพ

การจัดการขยะภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาอย่างครบวงจรและเหมาะสม

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อประเมินศักยภาพในการนำขยะย่อยสลายได้กลับมาใช้ประโยชน์ในรูปของการทำปุ๋ยหมักหรือเป็นแหล่งพลังงาน และ (2) เพื่อประเมินความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ของการดำเนินโครงการธนาคารวัสดุรีไซเคิลภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งผลที่ได้รับจากการศึกษาสามารถนำไปกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อการจัดการขยะที่ย่อยสลายได้และขยะรีไซเคิลภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาในระยะยาว

โครงการสาธิตการเปลี่ยนขยะในมหาวิทยาลัยเป็นพลังงานในรูปความร้อน

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ที่มีปัญหาขยะที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งมีหอพักนักศึกษาอยู่ในเขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัย มีปริมาณขยะเกิดขึ้นประมาณ 8 - 10 ตันต่อวัน โดยมีวิธีการจัดการขยะในปัจจุบัน คือ การจ้างเหมาบริษัทเอกชนขนขยะไปทิ้งในหลุมฝังกลบที่อยู่ในพื้นที่อื่น ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการจัดการขยะในมหาวิทยาลัยดังกล่าว โดยการจัดการที่เหมาะสมควรมุ่งเน้นที่การลดปริมาณขยะด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นเทคโนโลยีที่มหาวิทยาลัย

โครงการความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการใช้ถังหมักก๊าซชีวภาพในโรงเรียนสังกัด กทม

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

สืบเนื่องมาจากการดำเนินการพัฒนาและติดตั้งถังหมักก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ในโรงเรียน สังกัดกทม จำนวน 40 แห่ง ในปี 2549 และในปี 2550 มีการทำความร่วมมือกันระหว่าง กทม กับ กระทรวงพลังงาน ในด้านการอนุรักษืพลังงานและพลังงานทดแทน โดย พพ. ได้มีการให้การสนับสนุนทางวิชาการ ให้ความรู้คำแนะนำ ในการดำเนินงานและดูแลรักษาระบบถังหมักก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ โดยพพ.

Pages