2551

โครงการทีมเทคนิคและอาชีวศึกษาเพื่อการประหยัดพลังงาน

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

พพ. ได้ส่งเสริมให้อาจารย์ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้รับการพัฒนาทักษะและปนระสบการณ์ในการจัดทำมาตรการอนุรักษ์พลังงานมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างให้เกิดเครือข่ายการอนุรักษ์พลังงาน โดยมีบุคลากรซึ่งเป็นอาจารย์ในสังกัด สอศ. ที่จะได้รับการพัฒนาจัดตั้งขึ้นเป็นทีมเทคนิค จำนวนไม่น้อยกว่า 50 ทีม และส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสถาบันอาชีวศึกษาแกนนำด้านการอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 5 แห่งทั่วประเทศ อีกทั้งยังมีการขยายสู่สถาบันอาชีวศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนอีก 450 แห่งทั่วประเทศ

โครงการพัฒนาประเมินผลและเสนอแนะด้านบริหารจัดการ โครงการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานด้วยไบโอดีเซลฃชุมชน (ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ตามที่รัฐบาลได้มีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลจากปาล์มและแผนปฏิบัติการการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซล เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 และวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 ตามลําดับ ซึ่งได้มอบหมายให้กระทรวงพลังงาน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งเสริมการผลิตและการใช้ไบโอดีเซลให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ โดยกระทรวงพลังงาน ได้แบ่งการพัฒนาส่งเสริมการผลิตและการใช้ไบโอดีเซลออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ การพัฒนาไบโอดีเซลในระดับชุมชน และการพัฒนาไบโอดีเซลเชิงพาณิชย์ โดยมีเป้าหมายการพัฒนาผลิตและใช้ไบโอดีเซล (B100) 3.02 ล้านลิตร/วัน ในปี พ.ศ.2554

การศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น โครงการสาธิตการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมขนาดใหญ่ จ.ปัตตานี

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

การศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น เป็นการรวบรวมและทบทวนการศึกษาข้อมูลเอกสารและรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ การสำรวจข้อมูลและสังเกตการณ์เบื้องต้นบริเวณพื้นที่โครงการ การศึกษาประเมินผลตอบแทน การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น การประชาสัมพันธ์ การประเมินการมีส่วนร่วมของประชาชน การเสนอแนะมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผลการสำรวจข้อมูลการใช้กังหันลมในประเทศไทย นับตั้งแต่ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานของพลังงานลม จนไปถึงปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกังหันลมที่พบ ทัศนคติที่ประชาชนในพื้นที่โครงการและบริเวณใกล้เคียงมีต่อโครงการสาธิตการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมขนาดใหญ่ จ.ปัตตานี (

งานพัฒนาแหล่งน้ำพุร้อนกลุ่มที่มีศักยภาพต่ำโดยใช้เทคโนโลยี การเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อทำห้องอบแห้งสำหรับพืชผลทางการเกษตร

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

น้ำพุร้อน เป็นแหล่งพลังงานทดแทนชนิดหนึ่ง สามารถทดแทนการใช้พลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนจากเชื้อเพลิงนํ้ามันได้ อย่างไรก็ตาม แหล่งนํ้าพุร้อนส่วนใหญ่ของประเทศไทย มีศักยภาพปานกลางถึงตํ่า โดยเฉพาะแหล่งน้ำพุร้อนที่มีศักยภาพตํ่า ไม่สามารถนำมาใช้ผลิตพลังงานได้
โดยตรง มักจะถูกปล่อยทิ้ง ไม่ได้มีการนำมาใช้ประโยชน์ ดังนั้นหากมีการใช้เทคโนโลยีเพิ่มอุณหภูมิของนั้า จะสามารถเพิ่มปริมาณการใช้ประโยชน์จากแหล่งนั้าพุร้อนในประเทศไทยได้ไม่ตํ่ากว่า 30 แหล่ง ช่วยให้ประเทศไทยลดการใช้พลังงานจากนั้ามันได้มากขึ้น

โครงการศึกษาต้นแบบผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะตลาดสด กทม.

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้ตระหนักถึงป้ญหาในการจัดการขยะโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในปี พ.ศ. 2548 ขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในเขต กทม. มีประมาณวันละ 8,291 ตัน คิดเป็นร้อยละ 21 ของขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศวันละ 39,221 ตัน ซึ่งในการกำจัดขยะมูลฝอยเหล่านั้น กทม.ได้ว่าจ้างบริษัทเอกชนเป็นผู้ดำเนินการรับจ้างกำจัดขยะที่เก็บรวบรวมมาไว้ที่ศูนย์รวบรวมและขนถ่ายขยะ 3 แห่งคือศูนย์อ่อนนุช ศูนย์หนองแขมและศูนย์สายไหม โดยขยะส่วนใหญ่จะนำไปกำจัดโดยวิธีการแงกลบ และมีบางส่วนที่ใช้วิธีการหมักแบบใช้อากาศ (Composting) ซึ่งจะได้ปุ๋ยหมักเป็นผลผลิตและส่วนที่เหลือจะนำไปฝังกลบ

Pages