2551

โครงการวิจัย สาธิต สนับสนุนระบบผลิตพลังงานจากชีวมวลแบบ Three Stages Gasifier

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ผลผลิตของประเทศส่วนใหญ่ได้จากภาคการเกษตรเป็นสำคัญ เช่น ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง เป็นต้น ดังนั้นจึงมีเศษวัสดุเหลือใช้หรือชีวมวลเกิดขึ้นหลังการเก็บเกี่ยวเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากการศึกษาและประเมินการศึกษาและประเมินศักยภาพชีวมวลของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ในปี 2549 พบว่าประเทศไทยมีการเพาะปลูกข้าวได้ผลผลิตรวม 30 ล้านตัน และมีเศษวัสดุเหลือใช้เกิดขึ้น ได้แก่ แกลบและฟางข้าว จากการประเมินศักยภาพชีวมวลของแกลบรวม 6,400,000 ตัน และจากการวิเคราะห์คุณสมบัติของแกลบ พบว่ามีค่าความร้อนประมาณ 14.40 เมกะจูลต่อกิโลกรัม ซึ่งมีความเหมาะสมในการนำเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟ

โครงการส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานความร้อนร่วมจากชีวมวลในภาคอุตสาหกรรม

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ด้วยข้อจํากัดของปริมาณชีวมวลที่มีอยู่ในแต่ละพื้นที่ ส่งผลกระทบให้ผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมมีความไม่มั่นใจในการนําชีวมวลมาใช้แทนเชื้อเพลิงฟอสซิล ประกอบกับเทคโนโลยีการใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิง ดังนั้นเพื่อเพิ่มเสถียรภาพด้านเชื้อเพลิงให้กับโรงงานอุตสาหกรรม เทคโนโลยีการใช้ถ่านหินสะอาดควบคู่กับชีวมวลในการผลิตพลังงานจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบกิจการในการใช้เชื้อเพลิงชีวมวล พพ.

ศีกษาการใช้ก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานในเครื่องผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จัดทำโครงการศึกษาการใช้ก๊าซชีวภาพเป็พลังงานในเครื่องผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีในการผลิตก๊าซชีวภาพที่สามารถดำเนินการได้อย่างเหมาะสมและมีความคุ้มค่าในการลงทุน โดยทีมนักวิจัยและวิศวกรของคนไทย เพื่อนำกากตะกอนไปใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่า และใช้ก๊าซชีวภาพพลังงานทดแทนอย่างเต็มที่ และรักษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากจะสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศ

ติดตามประเมินผลการดำเนินการพัฒนาและส่งเสริมพลังงานลม

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

โครงการติดตามประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมพลังงานลม เป็นการรวบรวม ศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีส่วนได้ส่วนเสียและเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสาธิตและส่งเสริมพลังงานลมของประเทศไทย โดยการรวบรวมจากการจัดประชุมภายในโครงการ รวมทั้งผลการสำรวจข้อมูลการใช้กังหันลมที่ผ่านมาในพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อรวบรวมปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการพัฒนาการใช้กังหันลมในประเทศไทย นับตั้งแต่ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานของพลังงานลม จนไปถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกังหันลม ที่พบในหน้างาน ทัศนมิติที่ประชาชนทั่วไปมีต่อการใช้พลังงานลมเป็นพลังงานทางเลือก

ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น โครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กโครงการคลองแอ๊ะ

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้ทำการศึกษาจัดทำแผนหลักการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2547 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กโดยใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดและเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนหรือชุมชนในพื้นที่เพื่อการพัฒนาโครงการเป็นไปอย่างยั่งยืน และโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก โครงการคลองแอ๊ะ ซึ่งมีพื้นที่คาบเกี่ยวอยู่ใน 2 อำเภอ คือ อำเภอวิภาวดีและอำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก็เป็นหนึ่งในโครงการที่ได้คัดเลือกไว้ในแผนหลักดังกล่าวว่าเป็นโครงการที่มีความเหมาะสมที่จะทำการพัฒนาโครงการเป็นลำ

Pages