โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านเทคนิค

โครงการพัฒนาประเมินผลและเสนอแนะด้านบริหารจัดการ โครงการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานด้วยไบโอดีเซลฃชุมชน (ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ตามที่รัฐบาลได้มีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลจากปาล์มและแผนปฏิบัติการการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซล เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 และวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 ตามลําดับ ซึ่งได้มอบหมายให้กระทรวงพลังงาน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งเสริมการผลิตและการใช้ไบโอดีเซลให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ โดยกระทรวงพลังงาน ได้แบ่งการพัฒนาส่งเสริมการผลิตและการใช้ไบโอดีเซลออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ การพัฒนาไบโอดีเซลในระดับชุมชน และการพัฒนาไบโอดีเซลเชิงพาณิชย์ โดยมีเป้าหมายการพัฒนาผลิตและใช้ไบโอดีเซล (B100) 3.02 ล้านลิตร/วัน ในปี พ.ศ.2554

การศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น โครงการสาธิตการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมขนาดใหญ่ จ.ปัตตานี

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

การศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น เป็นการรวบรวมและทบทวนการศึกษาข้อมูลเอกสารและรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ การสำรวจข้อมูลและสังเกตการณ์เบื้องต้นบริเวณพื้นที่โครงการ การศึกษาประเมินผลตอบแทน การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น การประชาสัมพันธ์ การประเมินการมีส่วนร่วมของประชาชน การเสนอแนะมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผลการสำรวจข้อมูลการใช้กังหันลมในประเทศไทย นับตั้งแต่ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานของพลังงานลม จนไปถึงปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกังหันลมที่พบ ทัศนคติที่ประชาชนในพื้นที่โครงการและบริเวณใกล้เคียงมีต่อโครงการสาธิตการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมขนาดใหญ่ จ.ปัตตานี (

การศึกษาความเป็นไปได้และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นในการพัฒนาทุ่งกังหันลมนอกชายฝั่ง

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ลมเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญของโลก และมีเทคโนโลยีที่พร้อมใช้งาน โดยปัจจุบันประเทศต่างๆ ทำการติดตั้งกังหันลม เพื่อผลิตไฟฟ้าคิดเป็นกำลังติดตั้ง 200 GW โดยมีทั้งการติดตั้งบนบกและนอกชายฝั่ง สำหรับการติดตั้งนอกชายฝั่งปัจจุบันทั่วโลกมีการติดตั้งรวม 3,000 MW และมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะการติดตั้งกังหันลมนอกชายฝั่งมีข้อดีหลายประการ เช่น บริเวณนอกชายฝั่งไม่มีสิ่งกีดขวางทางลม และมีข้อจำกัดด้านการใช้พื้นที่น้อย อีกทั้งสามารถขนส่งกังหันลมขนาดใหญ่ไปติดตั้งทางเรือได้สะดวก กรณีของประเทศไทยมีพื้นที่นอกชายฝั่ง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านอ่าวไทย และด้านทะเลอันดามัน ซึ่งยังไม่มีการศึกษาศักยภาพในการใช

โครงการศึกษาความเป็นไปได้และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานลมในแหล่งลมดี

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ตามที่สำนักวิจัยค้นคว้าพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้ทำการปรับปรุงแผนที่ศักยภาพพลังงานลมสำหรับประเทศไทย เมื่อปี 2552 ซึ่งทำให้ทราบว่าบริเวณพื้นที่ใดมีศักยภาพของพลังงานลมเพียงพอที่จะพัฒนาเป็น Wind farm ได้ แต่จำเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านอื่นๆ เช่น ขนาดพื้นที่เพียงพอหรือไม่ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์มีหรือไม่ระบบสายส่งไฟฟ้ามีความพร้อมหรือไม่จะต้องลงทุนก่อสร้างหรือปรับปรุงสายส่งเพิ่มเติมอย่างไร รวมไปถึงมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่อย่างไร ประเด็นต่างๆ เหล่านี้จะต้องทำการศึกษาให้ครอบคลุมและครบถ้วน ก่อนที่จะส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนให้มาลงทุนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ให้

งานพัฒนาแหล่งน้ำพุร้อนกลุ่มที่มีศักยภาพต่ำโดยใช้เทคโนโลยี การเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อทำห้องอบแห้งสำหรับพืชผลทางการเกษตร

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

น้ำพุร้อน เป็นแหล่งพลังงานทดแทนชนิดหนึ่ง สามารถทดแทนการใช้พลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนจากเชื้อเพลิงนํ้ามันได้ อย่างไรก็ตาม แหล่งนํ้าพุร้อนส่วนใหญ่ของประเทศไทย มีศักยภาพปานกลางถึงตํ่า โดยเฉพาะแหล่งน้ำพุร้อนที่มีศักยภาพตํ่า ไม่สามารถนำมาใช้ผลิตพลังงานได้
โดยตรง มักจะถูกปล่อยทิ้ง ไม่ได้มีการนำมาใช้ประโยชน์ ดังนั้นหากมีการใช้เทคโนโลยีเพิ่มอุณหภูมิของนั้า จะสามารถเพิ่มปริมาณการใช้ประโยชน์จากแหล่งนั้าพุร้อนในประเทศไทยได้ไม่ตํ่ากว่า 30 แหล่ง ช่วยให้ประเทศไทยลดการใช้พลังงานจากนั้ามันได้มากขึ้น

Pages