โครงการส่งเสริม สนับสนุนเพื่อให้เกิดการดำเนินการเชิงพาณิชย์

โครงการศึกษาแนวทางการนำยานยนต์พลังงานสะอาดมาใช้ในประเทศไทย

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ประเทศไทยมีความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาครัฐต้องนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อใช้ใน การคมนาคมขนส่งสูงเพิ่มมากขึ้นด้วย ประกอบกับสถานการณ์ราคาน้ำมันในประเทศมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามราคาตลาดโลก ก่อให้เกิดภาระทางการเงินของประเทศ อีกทั้งการใช้พลังงานดังกล่าวนี้ในภาคคมนาคมขนส่งยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการพึ่งพิงพลังงานจากแหล่งฟอสซิล กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เห็นความสำคัญของพลังงานทางเลือกที่มีบทบาทอย่างยิ่งในการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น โดยก้าวไปสู่เทคโนโลยีขับเคลื่อนที่ไม่ต้องอาศัยกา

โครงการส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานความร้อนร่วมจากชีวมวลในภาคอุตสาหกรรม

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ด้วยข้อจํากัดของปริมาณชีวมวลที่มีอยู่ในแต่ละพื้นที่ ส่งผลกระทบให้ผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมมีความไม่มั่นใจในการนําชีวมวลมาใช้แทนเชื้อเพลิงฟอสซิล ประกอบกับเทคโนโลยีการใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิง ดังนั้นเพื่อเพิ่มเสถียรภาพด้านเชื้อเพลิงให้กับโรงงานอุตสาหกรรม เทคโนโลยีการใช้ถ่านหินสะอาดควบคู่กับชีวมวลในการผลิตพลังงานจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบกิจการในการใช้เชื้อเพลิงชีวมวล พพ.

โครงการสนับสนุนการลงทุนติดตั้งใช้งานระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ประเทศไทยมีการผลิตอาหารแห้ง เช่น ผัก ผลไม้ และสมุนไพรทั้งในระดับครัวเรือนและระดับอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดเล็กกระจายกันอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ตัวอย่างเช่น การผลิตลำไยแห้งในจังหวัดทางภาคเหนือปีละกว่า 500,000 ตัน เป็นเงินปีละ 1,600 ล้านบาท การผลิตกล้วยตากปีละประมาณ 4,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจปีละกว่า 100 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการผลิตผลไม้แห้งอื่นๆ อาหารทะเลแห้ง และสมุนไพรต่างๆ โดยบางส่วนส่งไปจำหน่ายในต่างประเทศ

การจัดการขยะภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาอย่างครบวงจรและเหมาะสม

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อประเมินศักยภาพในการนำขยะย่อยสลายได้กลับมาใช้ประโยชน์ในรูปของการทำปุ๋ยหมักหรือเป็นแหล่งพลังงาน และ (2) เพื่อประเมินความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ของการดำเนินโครงการธนาคารวัสดุรีไซเคิลภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งผลที่ได้รับจากการศึกษาสามารถนำไปกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อการจัดการขยะที่ย่อยสลายได้และขยะรีไซเคิลภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาในระยะยาว

โครงการสนับสนุนการลงทุนติดตั้งใช้งานระบบอบแห้ง พลังงานแสงอาทิตย์ ปี 2555

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ประเทศไทยมีการผลิตอาหารแห้ง เช่น ผัก ผลไม้ และสมุนไพรทั้งในระดับครัวเรือนและระดับอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดเล็กกระจายกันอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ตัวอย่างเช่น การผลิตลำไยแห้งในจังหวัดทางภาคเหนือปีละกว่า 500,000 ตัน เป็นเงินปีละ 1,600 ล้านบาท การผลิตกล้วยตากปีละประมาณ 4,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจปีละกว่า 100 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการผลิตผลไม้แห้งอื่นๆ อาหารทะเลแห้ง และสมุนไพรต่างๆ โดยบางส่วนส่งไปจำหน่ายในต่างประเทศ

Pages