2553

โครงการการประเมินศักยภาพพลังงานลมเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าในพื้นที่ ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของอ่าวไทยจนถึงจังหวัดตราด

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

โครงการนี้ได้ทำการประเมินศักยภาพพลังงานลมเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าในพื้นที่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของอ่าวไทยจนถึงจังหวัดตราดนำไปสู่การพัฒนาการผลิตไฟฟ้าด้วยทุ่งกังหันลมขนาดใหญ่ โดยได้ทำการคัดเลือกสถานที่เพื่อติดตั้งเสาวัดความเร็วลมจำนวนสองแห่งที่คือ 1) มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ตำบลแสนสุข อำเภอแสนสุข จังหวัดชลบุรี และ 2) ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี การวัดลมกระทำโดยการติดตั้งเสาแบบรั้งด้วยเชือกสูง 120 เมตร พร้อมทั้งระบบเครื่องมือวัดและระบบป้องกันฟ้าผ่า ความเร็วลมและทิศทางลมถูกจัดเก็บทุกๆ 1 นาทีที่ความสูงระดับ 10, 65, 90 และ 120 เมตร และสามารถถูกส่งเป็นแบบรายวันผ่านทางระบบสื่อสารแบบไร้ส

โครงการออกแบบระบบสกัดน้ำมันปาล์มดิบเพื่อผลิตไบโอดีเซลและไฟฟ้าแบบครบวงจร

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ปัญหาด้านเศรษฐกิจของโลกได้ส่งผลกระทบไปทุกภาคส่วนของสังคม ซึ่งประเทศไทยมีแนวโน้มสูงมากที่จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย ซึ่งรวมไปถึงปัญหาด้านความมั่นคงของพลังงานในประเทศ ดังนั้นกระทรวงพลังงาน โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จึงได้จัดทำแผนพลังงานทดแทนด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ 15 ปี เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล โดยการพึ่งพาตนเองด้านการผลิต และการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพภายในประเทศให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ซึ่งนอกจากการสร้างความมั่นคง ด้านพลังงานของประเทศแล้ว ยังสามารถช่วยพยุงราคาผลิตผลทางการเกษตรได้ด้วย โดยการส่งเสริม ด้านที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมผลิตไบโอดีเซลนั้นก็เป็นแนวทางที่ต้องดำเนิ

โครงการ วิจัย ค้นคว้า ทดสอบ ระบบผลิตไฮโดรเจนจากน้ำใช้ในรถยนต์และกำหนดแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานไฮโดรเจนรองรับแผนพัฒนาพลังานทดแทน 15 ปี

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

กระทรวงพลังงานได้กำหนดนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนของประเทศให้ได้ร้อยละ 20.3 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายในปี พ.ศ. 2565 โดยได้กำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานไฮโดรเจนในภาคคมนาคมขนส่งในปริมาณ 100,000 กิโลกรัม ในปี พ.ศ.

โครงการดำเนินการโครงการส่งเสริมระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับอาคารของรัฐ (ปีที่2)

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ในปัจจุบันหน่วยงานของรัฐหลายประเภทที่จำเป็นต้องใช้น้ำร้อนในการดำเนินงาน เช่น โรงพยาบาล สถานศึกษา เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วิธีการผลิตน้ำร้อนโดยใช้พลังงานจากก๊าซและไฟฟ้า หรือหากเป็นอาคารขนาดใหญ่จะใช้หม้อต้ม (Boiler) ที่ใช้น้ำมันเตาหรือน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง การใช้พลังงานดังกล่าวในการผลิตน้ำร้อนเป็นการใช้พลังงานเชื้อเพลิงโดยตรงในการสันดาป ซึ่งก่อให้เกิดมลภาวะความร้อนอันส่งผลถึงปัญหาสภาวะโลกร้อน ส่วนการใช้ไฟฟ้าในการผลิตน้ำร้อนก็เป็นการใช้พลังงานอย่างไม่คุ้มค่า แม้บางกรณีจะมีประสิทธิภาพเชิงความร้อนสูงก็ตาม เนื่องจากไฟฟ้าเป็นพลังงานคุณภาพสูง (High grade energy) ที่เปลี่ยนรูปมาจากความร้อนก่อน

โครงการทีมเทคนิคและอาชีวศึกษาเพื่อการประหยัดพลังงาน

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ตามที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้มีการดำเนินงานโครงการทีมเทคนิคและอาชีวศึกษาเพื่อการประหยัดพลังงานในปี 2551 จำนวน 50 ทีม โดยให้ เข้าดำเนินการแนะนำวิธีการบริหารจัดการพลังงานในสถาบันอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและเอกซนทั่วประเทศจำนวน 500 แห่ง จากจำนวนทั้งหมดที่มีอยู่ทั่วประเทศประมาณ 824 แห่ง การเข้าแนะนำของทีมเทคนิคประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง ทั้งในด้านความร่วมมือของผู้บริหารสถาบันอาชีวศึกษา ด้านความสามารถของคณะทำงานอนุรักษ์พลังงานที่จัดตั้งขึ้นตามคำแนะนำของทีมเทคนิคเพื่อการบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในสถาบันอาชีวศึกษาจนทำให้เกิดผลประหยัดพลังงานได้ด้วยตนเอง รวมถึงได้มีการจัด

Pages