2554

โครงการพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่องในสถาบันอาชีวศึกษา

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

โครงการว่าจ้างที่ปรึกษาโครงการพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่องในสถาบันอาชีวศึกษา เป็นโครงการที่สำนักส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (สสอ.) จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลการเข้าแนะนำการอนุรักษ์พลังงานในสถาบันอาชีวศึกษาของทีมเทคนิค จำนวน ๒๐๐ แห่ง สรุปผลปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไขให้สถาบันอาชีวศึกษาสามารถดำเนินการอนุรักษ์พลังงานในมาตรการที่มีเทคโนโลยีที่สูงขึ้นมาใช้ในการลดค่าพลังงาน และเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่องในสถาบันอาชีวศึกษานำร่อง ๕ แห่ง

การศึกษาความเป็นไปได้และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นในการพัฒนาทุ่งกังหันลมนอกชายฝั่ง

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ลมเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญของโลก และมีเทคโนโลยีที่พร้อมใช้งาน โดยปัจจุบันประเทศต่างๆ ทำการติดตั้งกังหันลม เพื่อผลิตไฟฟ้าคิดเป็นกำลังติดตั้ง 200 GW โดยมีทั้งการติดตั้งบนบกและนอกชายฝั่ง สำหรับการติดตั้งนอกชายฝั่งปัจจุบันทั่วโลกมีการติดตั้งรวม 3,000 MW และมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะการติดตั้งกังหันลมนอกชายฝั่งมีข้อดีหลายประการ เช่น บริเวณนอกชายฝั่งไม่มีสิ่งกีดขวางทางลม และมีข้อจำกัดด้านการใช้พื้นที่น้อย อีกทั้งสามารถขนส่งกังหันลมขนาดใหญ่ไปติดตั้งทางเรือได้สะดวก กรณีของประเทศไทยมีพื้นที่นอกชายฝั่ง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านอ่าวไทย และด้านทะเลอันดามัน ซึ่งยังไม่มีการศึกษาศักยภาพในการใช

โครงการศึกษาความเป็นไปได้และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานลมในแหล่งลมดี

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ตามที่สำนักวิจัยค้นคว้าพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้ทำการปรับปรุงแผนที่ศักยภาพพลังงานลมสำหรับประเทศไทย เมื่อปี 2552 ซึ่งทำให้ทราบว่าบริเวณพื้นที่ใดมีศักยภาพของพลังงานลมเพียงพอที่จะพัฒนาเป็น Wind farm ได้ แต่จำเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านอื่นๆ เช่น ขนาดพื้นที่เพียงพอหรือไม่ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์มีหรือไม่ระบบสายส่งไฟฟ้ามีความพร้อมหรือไม่จะต้องลงทุนก่อสร้างหรือปรับปรุงสายส่งเพิ่มเติมอย่างไร รวมไปถึงมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่อย่างไร ประเด็นต่างๆ เหล่านี้จะต้องทำการศึกษาให้ครอบคลุมและครบถ้วน ก่อนที่จะส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนให้มาลงทุนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ให้

โครงการศึกษาศักยภาพการผลิตพลังงานจากขยะในโรงงานอุตสาหกรรม

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

การดำเนินโครงการศึกษาศักยภาพในการผลิตพลังงานจากขยะอุตสาหกรรมนี้ เป็นการศึกษาศักยภาพในการ ผลิตพลังงานจากขยะที่เกิดขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งไม่ใช่ขยะอันตราย ทั้งในส่วนของวัสดุที่เหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตและขยะอื่นที่เกิดขึ้น ในเขตโรงงานอุตสาหกรรม
เช่น เศษผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ เศษอาหาร เศษกระดาษ ยาง พลาสติก เป็นต้น รวมทั้งหาแนวทางการนำขยะเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการผลิต พลังงานครอบคลุมประเภทโรงงานอุตสาหกรรม อาหาร สิ่งทอ ยาง พลาสติก กระดาษ ผลิตภัณฑ์จากไม้ และ/หรือ อุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีขยะหรือเศษวัสดุที่สามารถนำมาผลิตพลังงานได้

โครงการสนับสนุนการลงทุนติดตั้งใช้งานระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ประเทศไทยมีการผลิตอาหารแห้ง เช่น ผัก ผลไม้ และสมุนไพรทั้งในระดับครัวเรือนและระดับอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดเล็กกระจายกันอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ตัวอย่างเช่น การผลิตลำไยแห้งในจังหวัดทางภาคเหนือปีละกว่า 500,000 ตัน เป็นเงินปีละ 1,600 ล้านบาท การผลิตกล้วยตากปีละประมาณ 4,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจปีละกว่า 100 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการผลิตผลไม้แห้งอื่นๆ อาหารทะเลแห้ง และสมุนไพรต่างๆ โดยบางส่วนส่งไปจำหน่ายในต่างประเทศ

Pages