บริษัท เอสทีเอฟอี จำกัด

การศึกษาออกแบบเพี่อสาธิตโรงไฟฟ้าจากชีวมวล

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

     ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่สำคัญ ซึ่งมีชีวมวลหรือเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรภายหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปผลิตผลเกษตรเป็นจำนวนมาก  แนวทางหนึ่งที่สามารถนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเหล่านี้มาใช้ได้อย่างเหมาะสมคือ การใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าและพลังงาน ความร้อนร่วม (Cogeneration System) เพื่อใช้ในโรงงาน และอาจนำไฟฟ้าที่เหลือใช้ภายในโรงงานขาย ให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในรูปของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (Small Power Producer, SPP)

การศึกษาและสาธิตการผลิตพลังงานไฟฟ้า/ความร้อนจากขยะชุมชน

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

       ปัญหาขยะมูลฝอยของประเทศไทยได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วตามการขยายตัวของเมืองและ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประซาซน ในขณะที่หน่วยงานรับผิดชอบในการกำจัดขยะส่วน ใหญ่ยังขาดความพร้อมทั้งทางด้านงบประมาณ เครื่องมืออุปกรณ์บุคลากร และสถานที่ที่ใช้ในการกำจัด ขยะจึงทำให้การกำจัดขยะส่วนใหญ่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการก่อให้เกิดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอนามัยของประซาซน

โครงการพัฒนาและสาธิตถังหมักก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์สำเร็จรูปฃนาดเล็ก

รูปแบบของโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

       องค์ประกอบขยะชุมซนในประเทศไทยจะเปลี่ยนแปลงและแตกต่างกันไปตามฤดูกาล ลักษณะทาง เศรษฐกิจและลังคม ตลอดจนแบบแผนในการบริโภคของแต่ละชุมซน/เมือง อย่างไรก็ตาม ขยะชุมซนมีองค์ประกอบซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ (1) ขยะอินทรีย์ที่เน่าเสียง่ายและมีความชื้นสูง เซ่น เศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ ใบไม้ ใบหญ้า ประมาณร้อยละ40-60 (2) ขยะที่เผาไหม้ได้ ซึ่งได้แก่ขยะอินทรีย์ ที่ย่อยสลายช้า เซ่น ไม้ยางหนัง และกระดาษ และสารอินทรีย์ลังเคราะห์เซ่นพลาสติก และโฟม ซึ่งมีอยู่ ประมาณร้อยละ 20-40 และ (3) วัสดุเฉื่อย ซึ่งก็คือส่วนที่ไม่เผาไหม้ เซ่น หิน ทราย แก้ว กระเบื้อง อีก ประมาณร้อยละ 5-20

การส่งเสริมและสาธิตการผลิตพลังงานจากขยะ (การติดตามประเมินผลระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์)

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

        ยุทธศาสตร์พลังงานทดแทนกำหนดเป้าหมายให้มีการส่งเสริมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ 100 เมกะวัตต์ในปี 2554 รวมทั้งการนำขยะมาผลิตพลังงานในรูปความร้อนในขณะที่ขยะชุมซนที่เกิดขึ้นทั่วประเทศปัจจุบันมีมากกว่า 40,000 ตันต่อวัน แต่การดำเนินการจัดเก็บและกำจัดยังประสบปัญหา โดยขยะอินทรีย์ที่เน่าเสียง่ายซึ่งเป็นองค์ประกอบของขยะชุมซนประมาณร้อยละ 50 เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิด ปัญหาสิ่งแวดล้อม เซ่น ปัญหากลิ่นเหม็น การปนเปื้อนของน้ำขยะมูลฝอย การแพร่กระจายของเชื้อโรค และการปลดปล่อยก๊าซมีเทนซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาโลกร้อน