2548

การศึกษาออกแบบเพี่อสาธิตโรงไฟฟ้าจากชีวมวล

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

     ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่สำคัญ ซึ่งมีชีวมวลหรือเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรภายหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปผลิตผลเกษตรเป็นจำนวนมาก  แนวทางหนึ่งที่สามารถนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเหล่านี้มาใช้ได้อย่างเหมาะสมคือ การใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าและพลังงาน ความร้อนร่วม (Cogeneration System) เพื่อใช้ในโรงงาน และอาจนำไฟฟ้าที่เหลือใช้ภายในโรงงานขาย ให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในรูปของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (Small Power Producer, SPP)

โครงการวิจัยและพัฒนาเตาเผาใช้ก๊าซชีวมวล ในอุตสาหกรรมเซรามิก

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

       การศึกษามุ่งเน้นการพัฒนาการใช้พลังงานจากการผลิตก๊าซชีวมวลทดแทนก๊าซ LPG ในอุตสาหกรรมเซรามิก การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลด้านพลังงานของโรงงาน อุตสาหกรรมเซรามิก สำรวจและรวบรวมข้อมูลรายละเอียดกระบวนการผลิต ประสานงานและคัดเลือก โรงงานผลิตเซรามิก เพื่อเก็บข้อมูลรายละเอียดสำหรับการออกแบบจัดสร้างและติดตั้งระบบการผลิตก๊าซ ชีวมวล ณ โรงงานเรืองศิลป์ 2 ซึ่งโรงงานมีการผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกประเภทตกแต่งคุณภาพสูงที่เผาด้วย เตาเผาเซรามิกแบบเส้นใยและใช้ก๊าซ LPG เป็นเชื้อเพลิง ในการศึกษาครั้งนี้เตาผลิตก๊าซชีวมวลแบบชนิดไหลลง (Downdraft Gasifier)ที่ใช้เชื้อเพลิงไม้ฟืนถูกออกแบบ สร้าง ติดตั้ง

การศึกษาและสาธิตการผลิตพลังงานไฟฟ้า/ความร้อนจากขยะชุมชน

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

       ปัญหาขยะมูลฝอยของประเทศไทยได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วตามการขยายตัวของเมืองและ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประซาซน ในขณะที่หน่วยงานรับผิดชอบในการกำจัดขยะส่วน ใหญ่ยังขาดความพร้อมทั้งทางด้านงบประมาณ เครื่องมืออุปกรณ์บุคลากร และสถานที่ที่ใช้ในการกำจัด ขยะจึงทำให้การกำจัดขยะส่วนใหญ่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการก่อให้เกิดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอนามัยของประซาซน

โครงการศึกษาประเมินศักยภาพชีวมวล

ปีดำเนินโครงการ: 

 ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมและได้พัฒนาเป็นประเทศเกษตรอุตสาหกรรม ผลผลิตหลักของประเทศคือสินค้าทางการเกษตรซึ่งเป็นรายได้หลักอย่างหนึ่ง ผลผลิตข้างเคียงที่เกิดขึ้นคือ เศษวัสดุทางการเกษตร ซึ่งเดิมขจัดทิ้งโดยการฝังหรือคลุมหน้าดิน แต่ปัจจุบันได้มีการนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตพลังงานความร้อนหรือพลังงานไฟฟ้า เศษวัสดุที่กล่าวถึงนี้เรียกโดยทั่วไปว่า ชีวมวล (Biomass) เช่น แกลบ กากอ้อย เศษไม้และขี้เลื่อย กะลา และกากใยปาล์ม เป็นต้น

โครงการศึกษาออกแบบโรงไฟฟาสาธิตจากเหง้ามันสำปะหลัง

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

         เหง้ามันสำปะหลังเป็นส่วนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว เกษตรกรจะเก็บรวบรวมกองสุมปล่อย ให้แห้งแล้วจุดไฟเผาทิ้งไปหรือปล่อยทิ้งในแปลงไร่มันซึ่งก่อให้เกิดปัญหาแก่เกษตรกรในการกำจัด หรือทำลายทิ้ง อย่างไรก็ตามเหง้ามันสำปะหลังสามารถนำมาใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิต พลังงานได้