2549

โครงการพัฒนาและสาธิตระบบผลิตพลังงานจากชีวมวลระดับชุมชน

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

        ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ผลผลิตของประเทศส่วนใหญ่ได้จากภาคการเกษตร เช่น ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง เป็นด้น ดังนั้น จึงมีเศษวัสดุเหลือใช้หรือชีวมวลเกิดขึ้นหลังการเก็บ เกี่ยวเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากการศึกษาของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ในปี พ.ศ. 2546 พบว่าประเทศไทยมีการเพาะปลูกข้าวได้ผลผลิตรวมประมาณ 36,507,164 ตัน และมี เศษวัสดุเหลือใช้เกิดขึ้น ได้แก่ แกลบและฟางข้าว โดยแกลบมีปริมาณรวม 8,250,000 ตัน และจาก การวิเคราะห์คุณสมบัติ พบว่าแกลบมีค่าความร้อนประมาณ 14.40 เมกะจูลต่อกิโลกรัม ซึ่งมีความ เหมาะสมที่จะสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าได้

โครงการพัฒนาและสาธิตถังหมักก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์สำเร็จรูปฃนาดเล็ก

รูปแบบของโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

       องค์ประกอบขยะชุมซนในประเทศไทยจะเปลี่ยนแปลงและแตกต่างกันไปตามฤดูกาล ลักษณะทาง เศรษฐกิจและลังคม ตลอดจนแบบแผนในการบริโภคของแต่ละชุมซน/เมือง อย่างไรก็ตาม ขยะชุมซนมีองค์ประกอบซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ (1) ขยะอินทรีย์ที่เน่าเสียง่ายและมีความชื้นสูง เซ่น เศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ ใบไม้ ใบหญ้า ประมาณร้อยละ40-60 (2) ขยะที่เผาไหม้ได้ ซึ่งได้แก่ขยะอินทรีย์ ที่ย่อยสลายช้า เซ่น ไม้ยางหนัง และกระดาษ และสารอินทรีย์ลังเคราะห์เซ่นพลาสติก และโฟม ซึ่งมีอยู่ ประมาณร้อยละ 20-40 และ (3) วัสดุเฉื่อย ซึ่งก็คือส่วนที่ไม่เผาไหม้ เซ่น หิน ทราย แก้ว กระเบื้อง อีก ประมาณร้อยละ 5-20

การพัฒนาระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะในระดับชุมชน

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 
       ขยะมูลฝอยชุมชน มีองค์ประกอบประมาณร้อยละ 50 เป็นขยะอินทรีย์ ซึ่งปัจจุบันยังจัดการไม่ถูก สุขลักษณะ เช่น กองทิ้งกลางแจ้ง ฝังกลบอย่างไม่ถูกต้อง ทำให้ขยะอินทรีย์นี้เป็นปัญหาต่อสภาพแวดล้อม อย่างรุนแรง หากสามารถแยกขยะอินทรีย์นำมาหมักระบบไร้ออกซิเจนเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ ก็สามารถ
นำไปใช้ประโยชน์ เพื่อเป็นพลังงานความร้อนหรือผลิตกระแสไฟฟ้าไต้

โครงการการประเมินศักยภาพของพลังงานลมเฉพาะพื้นที่ตามแนวซายฝั่งทะเลทางภาคใต้ของประเทศไทย

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ก่อนที่จะนำพลังงานลมมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด จำเป็นต้องมีการประเมินศักยภาพของพลังงานลมเฉพาะพื้นที่ (Micrositing) โดยการวิเคราะห์ทางด้านสถิติ การแจกแจงความถี่ ผังลม และลักษณะทางสถิติของข้อมูลลม ความหนาแน่น กำลังของลมรวมทั้งลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ของบริเวณที่จะนำพลังงานลมมาประยุกต์ใช้ เช่น ระดับความสูงและความขรุขระของสิ่งปกคลุมพื้นผิว เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับแนวถนนและระบบสายจำหน่าย เพื่อนำมาประกอบการ ประเมินและ วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม การตรวจวัดอัตราเร็วและทิศทางของลมเฉพาะพื้นที่ตามแนวชายฝั่งทะเลทางภาคใต้ของประเทศไทย ในระยะเวลารอ

โครงการศึกษาศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมในเขตภาคเหนือตอนบน

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

การติดตั้งกังหันลมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจำเปีนต้องคัดเลือกแหล่งพื้นที่ที่มีศักยภาพพลังงานลมที่ระดับความสูงประมาณ 40-80 เมตร ซึ่งป้จจุบันข้อมูลดังกล่าวในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนยังไม่มีการศึกษาแหล่งพลังงานลมในภาคสนามอย่างจริงจัง นอกจากนั้นแล้วข้อมูลต้านศักยภาพพลังงานลมที่มีจะเปีนข้อมูลลมที่ใช้ในทางอุตุนิยมวิทยา ซึ่งส่วนมากจะตรวจวัดบนพื้นที่ราบ แต่ตามหลักการของการเกิดพลังงานลมแล้ว พื้นที่ที่มีศักยภาพต้องเปีนพื้นที่บริเวณสันเขาและหุบเขา ดังนั้นโครงการนี่จงได้เสนอที่จะศึกษาศักยภาพพลังงานลมในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เพื่อที่จะสามารถนำข้อมูลที่ได้นำไปขยายผลในการผลิตไฟฟ้าต่อไป

Pages