องค์ความรู้

จุลสารพลังงานทดแทน ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566

เนื้อหาในฉบับนี้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ที่จะนำมาปฏิรูปพลังงานหมุนเวียนและการอนุรักษ์พลังงาน โดยแสดงภูมิทัศน์ของเทคโนโลยีที่จะมาเปลี่ยนแปลง แวดวงพลังงาน เพื่อเพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนและระดับประสิทธิภาพพลังงานใน 3 ภาคส่วน ได้แก่ พลังงาน อาคาร และการขนส่ง

Three reasons why agrivoltaics could be key renewables sector in India

ประเทศอินเดียได้ตั้งเป้าหมายเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนไว้ที่ 500 กิกะวัตต์ภายในปี ค.ศ. 2050 การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในที่ดินที่ใช้เพื่อการเกษตร หรือ agrivoltaics เป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยให้อินเดียสามารถบรรลุเป้าหมายได้โดยเร็ว ซึ่งสถาบัน Institute for Energy Economics and Financial Analysis (IEEFA) ได้ให้เหตุผลไว้ 3 ประการ ดังนี้ (1) ขนาดและขอบเขตการเติบโตของระบบไฟฟ้า (2) สภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศ และ (3) โอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ชนบท

Small scale standalone solar and tidal hybrid power system in isolated area

นักวิจัยเล็งเห็นถึงศักยภาพการใช้ประโยชน์จากกระแสน้ำขึ้น-น้ำลงของช่องแคบมะละกา จึงได้ทำการศึกษาออกแบบระบบพลังงานหมุนเวียนแบบผสม (HRES) ที่ใช้แหล่งพลังงานหลักจากกระแสน้ำขึ้น-น้ำลงและพลังงานแสงอาทิตย์ และแหล่งพลังงานสำรองจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าไว้ใช้สำหรับประภาคาร โดยนักวิจัยได้ทำการศึกษาด้วยวิธีการสร้างแบบจำลอง (simulation method) เพื่อประมาณการและเปรียบเทียบโครงสร้างระบบที่เหมาะสมที่สุดของ HRES ที่มีระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบดีเซลควบคู่ไปด้วย

การผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จากโรงไฟฟ้าสถานีอวกาศ (Space-based Solar Power Station: SSPS)

เนื่องจากความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น หลายประเทศจึงให้ความสนใจการผลิตไฟฟ้าในรูปแบบใหม่มากขึ้น ระบบ SSPS เป็นอีกหนึ่งในนวัตกรรมการผลิตไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพและมีการปล่อยคาร์บอนจำนวนน้อย สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างสม่ำเสมอ ตลอดเวลา โดยไม่ขึ้นกับสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนพื้นผิวโลก แต่แนวคิด SSPS ยังคงเป็นเทคโนโลยีที่เพิ่งเริ่มต้น ยังคงมีปัญหา อุปสรรค และความท้าทายมากมายให้ก้าวข้ามและแก้ไข

การเปรียบเทียบข้อมูลความเข้มรังสีดวงอาทิตย์บนระนาบในแนวระดับและระนาบเอียงของสถานีวัดความเข้มรังสีดวงอาทิตย์กรุงเทพมหานคร

บทความนี้ผู้จัดทำได้ใช้ข้อมูลความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ชนิดรังสีรวมที่ทำการตรวจวัด ณ สถานี กรุงเทพมหานคร (ละติจูด13.75° N ลองจิจูด100.52° E) ของเดือนมกราคม-กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ที่ทำการวัดบนระนาบในแนวระดับ (0 องศาจากพื้นราบ) ของช่วงเวลา 5:00:00 น. – 18:59:59 น. (ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้น จนถึงพระอาทิตย์ตกดิน หรือช่วงที่มีแสงแดด) ซึ่งจัดเป็นข้อมูลปฐมภูมิ มาคำนวณหาค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ ชนิดรังสีรวมในแนวระนาบเอียงที่ 13.75 องศา 30 องศา 60 องศา และ 90 องศาตามลำดับโดยใช้แบบจำลองของ Olmo et al. (1999)

คู่มือการออกแบบระบบน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์

คู่มือนี้ ใช้เป็นแนวทางการออกแบบระบบผลิตน้ำร้อนในเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ ประกอบด้วย การศึกษาความเป็นไปได้ การออกแบบระบบผลิตน้ำร้อน การออกแบบระบบส่งจ่ายน้ำร้อน การออกแบบระบบควบคุมและตรวจวัด และการทบทวนการออกแบบ

จุลสารพลังงานทดแทน ฉบับที่ 9 ประจำเดือนมีนาคม 2565

นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ "เศรษฐกิจไฮโดรเจนของสหรัฐอเมริกา" มีทั้งข้อมูลความเป็นมาของไฮโดรเจนในสหรัฐอเมริกา แนวโน้มการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจน กระบวนการและความต้องการ ความท้าทายของเชื้อเพลิงไฮเดรเจน โครงการไฮโดรเจนของกรมพลังงานสหรัฐ เป็นต้น

จุลสารพลังงานทดแทน ฉบับที่ 8 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565

นำเสนอเรื่องราวของ ประเทศ ญี่ปุ่น...กับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ไปสู่ "สังคมไฮโดรเจน" ทั้งภาพรวมของแผนไฮโดรเจน ความท้าทายเชิงโครงสร้างด้านพลังงาน ความสำคัญของไฮโดรเจนกับญี่ปุ่น และแผนยุทธศาสตร์สู่การก้าวเป็นสังคมไฮโดรเจน

คู่มือเทคโนโลยีการผลิตและดัชนีการใช้พลังงานอุตสาหกรรม New S-curve เขตโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) : อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม

นำเสนอเทคโนโลยีการผลิตและดัชนีการใช้พลังงานอุตสาหกรรม New S-curve สำหรับอุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม (Robotics) ในเขตโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยเน้นใน 2 อุตสาหกรรมย่อย ได้แก่ "หุ่นยนต์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์" และ "หุ่นยนต์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตอัดฉีดพลาสติก"

คู่มือเทคโนโลยีการผลิตและดัชนีการใช้พลังงานอุตสาหกรรม New S-curve เขตโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) : อุตสาหกรรมดิจิทัล

นำเสนอเทคโนโลยีการผลิตและดัชนีการใช้พลังงานอุตสาหกรรม New S-curve สำหรับอุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital) ในเขต EEC โดยเน้นที่ 2 กิจการในอุตสาหกรรมย่อย ได้แก่ "สถานีฐาน 5G สำหรับเมืองอัจฉริยะ" และ "หน่วยจัดเก็บข้อมูลและการประมวลผลออนไลน์"

Pages