องค์ความรู้

คู่มือระดับประถมศึกษา ขยะ = พลังงานทดแทน

      คู่มีอนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเผยแพร่ให้กับนักเรียน นักศึกษา บุคลากรใน สถานศึกษา ตลอดจนประชาชนผู้สนใจทั่วไป ทั้งนี้ เพื่อมุ่งหวังที่จะสร้างจิดสำนึก และกระตุ้นให้เยาวชนได้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการแก้ไขปัญหามลพิษขยะ มูลฝอยได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงเข้าใจในการผลิตและการใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการนำ “ขยะมูลฝอย” ซึ่งเป็นสิ่งของเหลือใช้จากการดำเนินกิจกรรมของมนุษยที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน และเป็นปัญหาของประเทศที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น มาผลิตเป็น “พลังงาน” นับเป็นแนวทางหนี่งซึ่งสามารถจัดการปัญหาขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่ความร่วมมือในการจัดการพลังง

สารานุกรมพลังงานทดแทน

สารานุกรมพลังงานทดแทน ฉบับแรกของประเทศไทย รวบรวมข้อมูลพลังงานทดแทนทุกด้านเหมาะสำหรับสถาบันการศึกษา นักวิชาการ ฯลฯ ผู้ที่สนใจสามารถ มารับได้ด้วยตนเอง ที่ศูนย์บริการวิชาการด้านพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน พพ.
หรือโทรสอบถามได้ที่เบอร์ 02-2230021-9 กด 3

ถังหมักก๊าซชีวภาพขนาดเล็กสำหรับครัวเรือน สถานประกอบการและชุมชน

ก๊าซชีวภาพ เป็นพลังงานหมุนเวียน ( Renewable Energy) ชนิดหนึ่งที่สามารถดำเนินการผลิตและใช้เป็นพลังงานทดแทนพลังงานจากฟอสซิล ( น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน) หรือจัดเป็นพลังงานทางเลือก (Alternative Energy) ที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศ เนื่องจากเป็นพลังงานที่สามารถผลิตได้จากวัตถุดิบที่มีอยู่ทั่วไป ทั้งในโรงงานอุตสาหกรรม ฟาร์มปศุสัตว์ และครัวเรือน สถานประกอบการและชุมชนต่างๆ โดยเฉพาะครัวเรือน สถานประกอบการและชุมชนต่าง หากมีการผลิตและใช้งานก๊าซชีวภาพจากวัตถุดิบที่มีอยู่ เช่น ขยะอินทรียื เศษอาหารและสิ่งปฏิกูลต่างๆอย่างแพร่หลาย จะช่วยให้สามารถลดการใช้พลังงานจากฟอสซิลได้อย่างมาก

รายงานการอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทย

รายงานการอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทย

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน ได้จัดพิมพ์รายงานการอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทยขึ้น เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการอนรักษ์พลังงานการใช้พลังงานจำแนกตามสาขาเศรษฐกิจ ตัวชี้ดัชนีการใช้พลังงาน ดัชนีการใช้พลังงานและรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสรุปสถานการณ์การอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเผยแพร่แก่ประชาชนและผู้สนใจพพ.

โครงการศึกษาพัฒนาและเผยแพร่การจัดการขยะเพื่อพลังงานสำหรับชุมชน

โครงการศึกษาพัฒนาและเผยแพร่การจัดการขยะเพื่อพลังงานสำหรับชุมชน

โครงการศึกษาพัฒนาและเผยแพร่การจัดการขยะเพื่อพลังงานสำหรับชุมชน
ในภาวะที่พลังงานกลายเป็นวิกฤติการณ์สำคัญ ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนในทุกทวีปทั่วโลก การใช้พลังงานทดแทนจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาที่ได้รับความสนใจและขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางคือ การเลือกใช้พลังงานทดแทนซึ่งหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจและก่อให้เกิดในด้านอื่นๆ ด้วยคือการนำขยะมาแปรรูปเพื่อใช้เป็นพลังงาน

รายงานการใช้พลังงานทดแทนของประเทศไทยปี 2556

สถิติพลังงานของประเทศไทยปี ๒๕๕๖

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการพัฒนาพลังงานทดแทน ที่มีเป้าหมายให้มีการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นในทุกภาคส่วนของสังคม นอกจากจะเป็นการลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลแล้ว ยังเป็นการลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศอีกด้วย เนื่องจากการพัฒนาพลังงานทดแทนของประเทศไทยในปัจจุบันจะใช้พลังงานที่ผลิตภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วย แสงอาทิตย์ ลม พลังน้ำ ขนาดเล็ก ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ ขยะ และ เชื้อเพลิงชีวภาพ (เอทานอลและไบโอดีเซล) โดยที่การใช้พลังงานทดแทนดังกล่าว จะใช้ในรูปของไฟฟ้า ความร้อนและเชื้อเพลิงชีวภาพ

สถิติพลังงานของประเทศไทยปี ๒๕๕๖

สถิติพลังงานของประเทศไทยปี ๒๕๕๖

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)กระทรวงพลังงาน ได้จัดทำ สถิติพลังงานของประเทศไทยปี ๒๕๕๖(เบื้องต้น) เพื่อใช้ในการเผยแพร่สถิติข้อมูลพลังงาน ที่สำคัญของประเทศไทยให้กับหน่วยงานภาครัฐอกชนและผู้สนใจ สถิติพลังงานของประเทศไทยปี ๒๕๕๖(เบื้องต้น) สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือชี วัดสถานการณ์พลังงานของประเทศไทย ประกอบด้วยสถิติข้อมูล การผลิต การนำเข้า การส่งออก การแปรรูป และการใช้พลังงาน ามรอบระยะเวลาปีปฏิทิน ๒๕๕๖ พพ.ขอขอบคุณทุกหน่วยงานราชการรัฐวิสาหกิจรวมทั้งบริษัทผู้ผลิตและจำหน่าย พลังงาน ที่ได้ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลและรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อันเป็น ประโยชน์ต่อการจัดทำสถิติข้อม

คู่มือไบโอแก๊สเซฟตี้

biogas

ก๊าซชีวภาพเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของพลังงานทดแทนและมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เป็นพลังงานรูปแบบเดียวที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ถึง 3 วิธีคือ ผลิตกระแสไฟฟ้า ทำความร้อน/ความเย็น และใช้เป็นเชื้อเพลิงในภาคขนส่ง อีกทั้งช่วยลดปัญหามลภาวะด้านสิ่งแวดล้อมได้ โดยการเปลี่ยนของเสียจากมูลสัตว์หรือขยะ ผ่านกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับธรรมชาติจนกลายเป็นพลังงานก๊าซชีวภาพที่สะอาด ซึ่งในแต่ละขั้นตอนต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด ขณะเดียวกันพบว่า ยังมีผู้ผลิตและผู้ใช้งานที่ขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตและใช้ก๊าซชีวภาพที่ถูกต้อง ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุและการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินหลายครั้ง

Pages