ข้อมูลโครงการ

โครงการพัฒนาฐานข้อมูลความเข้มรังสีดวงอาทิตย์และระบบเชื่อมโยงฐานข้อมูลความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ของประเทศไทย กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 1 ระบบ

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

เป็นการปรับปรุงการเชื่อมโยงข้อมูลความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ให้สามารถแสดงผลได้ต่อเนื่อง ถูกต้อง และรวดเร็ว และพัฒนาระบบฐานข้อมูลความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ของ พพ. รวมถึงประยุกต์ใช้งานฐานข้อมูลความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ของประเทศไทยให้มีความหลากหลาย

โครงการพัฒนาผู้ขับขี่รถบรรทุกเพื่อการประหยัดพลังงานในธุรกิจการขนส่งสินค้า

รูปแบบของโครงการ: 

พพ. พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมผู้ขับขี่รถบรรทุกเพื่อการประหยัดพลังงาน เพื่อให้การขนส่งเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม และตระหนักถึงการใช้พลังงาน การรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงความปลอดภัยต่อตนเองและผู้ร่วมใช้ถนน

โครงการส่งเสริมการใช้น้ำมันไบโอดีเซลบี 20 ในรถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

การส่งเสริมและสร้างความเชื่อมั่นต่อการใช้น้ำมันไบโอดีเซลบี 20 ในรถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ และสร้างความต้องการใช้น้ำมันไบโอดีเซลให้เพิ่มมากขึ้น

การติดตามสถานภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

การติดตามสภานภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย เพื่อติดตามและศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้านการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และสรุปเป็นรายงานสถานภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย และเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย เชื่อมโยงไปสู่การสร้างเครือข่ายด้านวิชาการกับต่างประเทศ

โครงการศึกษาศักยภาพเชิงพื้นที่ในการบริหารจัดการกากขยะแผงเซลล์แสงอาทิตย์ของประเทศไทย

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

การศึกษาศักยภาพการผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อให้ทราบศักยาพที่แท้จริงสำหรับใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ แบบการจัดตั้งโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ (solar farm) และ การติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาอาคาร (solar roof-top)

โครงการศึกษาศักยภาพเชิงพื้นที่ในการบริหารจัดการกากขยะแผงเซลล์แสงอาทิตย์ของประเทศไทย

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

       จากการส่งเสริมและการเติบโตด้านการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่องในประเทศไทย มีประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึงถึงอย่างยิ่งคือ “ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม” ที่อาจจะเกิดขึ้นจากกากขยะ ที่เกิดจากโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เช่น แผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่หมดอายุการใช้งานหรือเสื่อมสภาพ เพื่อให้การส่งเสริมด้านการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยเกิดความยั่งยืน และสอดรับกับร่างแผนแม่บทการบริหารจัดการกากขยะผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิคส์: กากขยะเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดทำขึ้นด้านยุทศาสตร์การบริหารจัดการกากขยะแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ที่ระบุถึงมาตรการในการจัดตั

โครงการส่งเสริมการใช้น้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบผสมผสานปี 2553

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

            ปัจจุบันมีกิจกรรมหลายประเภทที่จำเป็นต้องใช้น้ำร้อน  เช่น  โรงพยาบาล  โรงแรม  ร้านอาหาร  ร้านเสริมสวย  เป็นต้น  โดยการผลิตน้ำร้อนได้มีการใช้พลังงานหลายรูปแบบ  ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้มโดยใช้พลังงานจากก๊าซและไฟฟ้า หรือหากเป็นกิจกรรมขนาดใหญ่จะใช้หม้อต้ม ( Boiler) ที่ใช้น้ำมันเตา หรือน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง

โครงการส่งเสริมการใช้น้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบผสมผสานปีที่ 3

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

         ปัจจุบันมีกิจกรรมหลายประเภทที่จำเป็นต้องใช้น้ำร้อน  เช่น  โรงพยาบาล  โรงแรม  ร้านอาหาร  ร้านเสริมสวย  เป็นต้น  สำหรับการผลิตน้ำร้อนได้มีการใช้พลังงานหลายรูปแบบ  ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้มโดยใช้พลังงานจากก๊าซและไฟฟ้า หรือหากเป็นกิจกรรมขนาดใหญ่จะใช้หม้อต้ม ( Boiler) ที่ใช้น้ำมันเตา หรือน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง

โครงการนำร่องเพื่อผลิตพลังงานทดแทนจากซีวมวล ในระดับซุมซน

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเซรามิกในประเทศไทย ส่วนมากใช้เชื้อเพลิงแก๊ส LPG ใน กระบวนการผลิตตั้งแต่การอบพิมพ์ปูนปลาสเตอร์ การชื้นรูป การเผาบิสกิต และการเผาเคลือบ ซึ่ง คิดเป็นต้นทุนโดยเฉลี่ยประมาณ 20-30% ของต้นทุนการผลิตรวม ซึ่งปีนี้ทางภาครัฐจะมีการยกเลิก เงินอุดหนุนค่าแก๊ส LPG ซึ่งคาดว่าจะทำให้ราคาแก๊ส LPG มีราคาสูงขึ้น 50-100% ส่งผลให้ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเซรามิกมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจนไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกไต้

โครงการศึกษาพัฒนาระบบก๊าซชีวมวลในการสูบนํ้าเพื่อการเกษตร

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

        ก๊าซชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงพลังงานทดแทนประเภทหนึ่ง ซึ่งผลิตได้จากชีวมวลหรือเศษวัสดุเหลือ ใช้จากการเกษตร โดยการเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวลในที่ที่จำกัดปริมาณอากาศ ทำให้ได้ก๊าซเชื้อเพลิงซึ่ง สามารถนำใช้ทดแทนน้ำมันในเครื่องยนต์สันดาปภายในเพื่อผลิตพลังงานกลได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการลด ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของเกษตรกร จึงดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดเบื้องต้น ของระบบสูบน้ำด้วยก๊าซชีวมวล โดยใช้เชื้อเพลิงชีวมวลหรือเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรที่สามารถหาได้ ในพื้นที่ผลิตก๊าซชีวมวลและใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์สันดาปภายในสำหรับสูบน้ำ ซึ่งจะสามารถช่วยลดด้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน

Pages