ข้อมูลโครงการ

โครงการการศึกษาวางแผนพัฒนาไฟฟ้าพลังนํ้าในพื้นที่ลุ่มนํ้าปิงและยม

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก นับเป็นทางเลือกหนึ่งในการบรรเทาปัญหาวิกฤติน้ำมันและพลังงาน โดยสามารถลดการจัดหาทรัพยากรพลังงานที่เป็นเชื้อเพลิงฟอสซิล จากต่างประเทศ และเป็นการลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศอีกด้วย โดยทางเทคนิคแล้ว ไฟฟ้าพลังน้ำสามารถพัฒนาและดำเนินการได้ง่ายภายในระยะเวลาอันสั้น มีบทบาทที่สำคัญทั้งในการเป็นแหล่งผลิตระดับท้องถิ่นให้กับพื้นที่ที่มีความต้องการไฟฟ้าโดยตรงและยังสามารถเป็นแหล่งพลังงานเสริมให้กับระบบไฟฟ้าหลักของประเทศได้ด้วย ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยใช้ศักยภาพของพลังงานน้ำไปเพียงประมาณร้อยละ 30 เท่านั้น

การนำร่องการจัดการขยะชุมชนกรณีศึกษา เทศบาลตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ (ปีที่ 2)

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

งานวิจัยการนำร่องการจัดการขยะชุมชน กรณีศึกษา : เทศบาลตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ (ปีที่ 2) เป็นงานวิจัยที่บูรณาการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะมูลฝอย และศึกษาออกแบบด้านเทคนิคในพื้นที่ฝังกลบเดิมเพื่อการกำจัดขยะอย่างมีประสิทธิภาพ

การจัดการขยะภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาอย่างครบวงจรและเหมาะสม

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อประเมินศักยภาพในการนำขยะย่อยสลายได้กลับมาใช้ประโยชน์ในรูปของการทำปุ๋ยหมักหรือเป็นแหล่งพลังงาน และ (2) เพื่อประเมินความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ของการดำเนินโครงการธนาคารวัสดุรีไซเคิลภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งผลที่ได้รับจากการศึกษาสามารถนำไปกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อการจัดการขยะที่ย่อยสลายได้และขยะรีไซเคิลภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาในระยะยาว

โครงการสาธิตการเปลี่ยนขยะในมหาวิทยาลัยเป็นพลังงานในรูปความร้อน

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ที่มีปัญหาขยะที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งมีหอพักนักศึกษาอยู่ในเขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัย มีปริมาณขยะเกิดขึ้นประมาณ 8 - 10 ตันต่อวัน โดยมีวิธีการจัดการขยะในปัจจุบัน คือ การจ้างเหมาบริษัทเอกชนขนขยะไปทิ้งในหลุมฝังกลบที่อยู่ในพื้นที่อื่น ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการจัดการขยะในมหาวิทยาลัยดังกล่าว โดยการจัดการที่เหมาะสมควรมุ่งเน้นที่การลดปริมาณขยะด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นเทคโนโลยีที่มหาวิทยาลัย

แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจรและการมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองท่าข้าม จ.สุราษฎร์ธานี

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 

โครงการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาทางเลือกของการผสมผสานวิธีการจัดการมูลฝอยที่เป็นไปได้สำหรับพื้นที่เทศบาลเมืองท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเลือกรูปแบบการจัดการมูลฝอยที่เหมาะสมและยั่งยืนที่สุดสำหรับเทศบาลเมืองท่าข้าม เพื่อแก้ไขปัญหามูลฝอยที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยในโครงการวิจัยที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลเมืองท่าข้าม และ สถานการณ์ปัญหามูลฝอยและประสิทธิภาพการจัดการในปัจจุบัน จากนั้นโครงการวิจัยที่ 2 จะนำข้อมูลพื้นฐานที่ได้ไป สร้างทางเลือกต่างๆ ของรูปแบบการจัดการมูลฝอยแบบผสมผสานตั้งแต่แหล่งกำเนิดจนถึงการกำจัด ที่เป็นไปได้สำหรับพื้นที่เทศบาลเมืองท่าข้ามและเลือกระบบการจัดการมูลฝอยแบบผ

โครงการนำร่องการจัดการขยะระดับองค์การบริหารส่วนตำบล

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ขยะมูลฝอยชุมชนเป็นสิ่งของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตและการบริโภคของมนุษย์ ปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและการขาดการจัดการอย่างมีระบบก่อให้เกิดปัญหาอย่างมาก ปัญหาจากขยะชุมชนนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นพร้อมๆ กับการขยายตัวของเมืองและประชากร ในอดีตขยะมีปริมาณไม่มากนัก และส่วนใหญ่เป็นวัสดุธรรมชาติจึงใช้วิธีการจัดการโดยวิธีกองทิ้งหรือฝังกลบ ซึ่งเป็นวิธีการจัดการที่ไม่ถูกสุขลักษณะ แต่ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้เพิ่มความสะดวกสบายในการบริโภค ทำให้ปริมาณขยะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นแล้วขยะชุมชนยังมีองค์ประกอบที่ซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียตามมา คือ ของเสียที่ผลิตออกมาไม่สามา

การวิจัยและพัฒนาขยะจากเปลือกกล้วยเพื่อใช้ประโยชน์ ในอุตสาหกรรมอาหารและพลังงาน การจัดการขยะและ การพัฒนาตลาดของผลิตภัณฑ์ในจังหวัดพิษณุโลก

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

การวิจัยและพัฒนาขยะจากเปลือกกล้วย เพื่อใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหารและพลังงาน โดยนำขยะที่เหลือทิ้งจากการผลิตผลิตภัณฑ์จากกล้วย มาทำการวิจัย 2 โครงการ
โครงการที่ 1 ทำการสกัดเซลลูโลสและใยอาหารจากเปลือกกล้วย
โครงการที่ 2 ผลิตถ่านและถ่านกัมต์มันจากส่วนต่างๆของกล้วย เช่น ก้านเครือ หวี และเปลือก เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง

แผนการบริหารจัดการขยะที่เหมาะสมของชุมชน: กรณีศึกษาพื้นที่กำจัดขยะ ใน อบต.ในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

การกำจัดขยะมูลฝอยในเขต อบต.ในเมือง อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ เป็นการกำจัดขยะแบบเทกองกลางแจ้ง ซึ่งเป็นวิธีการกำจัดที่ไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลและอยู่ใกล้กับแหล่งชุมชน ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนใกล้เคียง

การศึกษาเชิงนโยบายและการยอมรับของประขาชนในการผลิต ไฟฟ้าจากชีวมวล (จากขยะในเขตกรุงเทพๆ-ปริมณฑลและนอกเขต ปริมณฑล)

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

การศึกษาแนวทางการจัดการขยะจำแนกตามปริมาณขยะสำหรับประเทศไทยแบ่งการศึกษาเป็น 3 กลุ่มได้แก่
1. กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)
2. ระดับอำเภอ (ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
3. ระดับตำบล (ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยนเรศวร)
โดยในแต่ละกรณีจะนำเสนอแนวทางโดยพิจารณาผลกระทบ 3 ด้านได้แก่ ด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน ด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสังคม

โครงการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจสำหรับการผลิตและใช้ก๊าซชีวภาพให้ปลอดภัย

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

โครงการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจสําหรับการผลิตและใช้ก๊าซชีวภาพให้ปลอดภัย เพื่ออบรมเชิงปฏิบัติการให้กับเจ้าหน้าที่ดูแลระบบผลิตก๊าซชีวภาพในการประเมินความเสี่ยงในแต่ละจุดของระบบผลิตก๊าซชีวภาพของตนเอง และพร้อมที่จะบรรเทาและระงับอุบัติเหตุเบื้องต้นที่เกิดขึ้นจากระบบผลิตก๊าซชีวภาพอย่างถูกต้องตามหลักการ เกิดความรู้ความเข้าใจวิธีปฏิบัติ เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ประกอบการที่มีระบบฯและใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพอยู่ โดยมีการจัดทําคู่มือการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากระบบผลิตก๊าซชีวภาพ และคู่มือการระงับอุบัติเหตุที่เกิดจากระบบผลิตก๊าซชีวภาพ โดยสามารถนําไปใช้เป็นแนวทางประกอบการป้องกันและบรรเทาเหตุ ลดความสู

Pages