ข้อมูลโครงการ

โครงการวิจัย สาธิต สนับสนุนระบบผลิตพลังงานจากชีวมวลแบบ Three Stages Gasifier

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ผลผลิตของประเทศส่วนใหญ่ได้จากภาคการเกษตรเป็นสำคัญ เช่น ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง เป็นต้น ดังนั้นจึงมีเศษวัสดุเหลือใช้หรือชีวมวลเกิดขึ้นหลังการเก็บเกี่ยวเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากการศึกษาและประเมินการศึกษาและประเมินศักยภาพชีวมวลของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ในปี 2549 พบว่าประเทศไทยมีการเพาะปลูกข้าวได้ผลผลิตรวม 30 ล้านตัน และมีเศษวัสดุเหลือใช้เกิดขึ้น ได้แก่ แกลบและฟางข้าว จากการประเมินศักยภาพชีวมวลของแกลบรวม 6,400,000 ตัน และจากการวิเคราะห์คุณสมบัติของแกลบ พบว่ามีค่าความร้อนประมาณ 14.40 เมกะจูลต่อกิโลกรัม ซึ่งมีความเหมาะสมในการนำเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟ

โครงการศึกษาและสาธิตการผลิตก๊าซชีวภาพจากชีวมวล

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) มีความประสงค์ในการศึกษาและสาธิตการผลิตก๊าซชีวภาพจากชีวมวล เนื่องจากชีวมวลที่เหลือใช้จากการเกษตรและอุตสาหกรรมมีเป็นจำนวนมาก เช่น ทะลายและใบปาล์ม ลำต้น เหง้า กากมันสำปะหลัง ยอดและใบอ้อย ตอซังสับปะรด และฟางข้าว เป็นต้น สร้างปัญหาในการจัดเก็บและทำลายแก่ผู้ประกอบการและเกษตรกร บางแห่งก็ถูกกองทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการจัดการที่ดีพอ เมื่อถูกทิ้งไว้ ชีวมวลที่มีความชื้นสูงจึงเกิดการหมักย่อยโดยธรรมชาติ และส่งกลิ่นเหม็นรบกวนประชาชนในพื้นที่ บางแห่งก็ถูกกองทิ้งไว้ให้แห้งและเผาทำลาย เป็นการเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศที่เป็นต้นเหตุของปรากฎการณ์เรือนกระจก(G

โครงการส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานความร้อนร่วมจากชีวมวลในภาคอุตสาหกรรม

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ด้วยข้อจํากัดของปริมาณชีวมวลที่มีอยู่ในแต่ละพื้นที่ ส่งผลกระทบให้ผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมมีความไม่มั่นใจในการนําชีวมวลมาใช้แทนเชื้อเพลิงฟอสซิล ประกอบกับเทคโนโลยีการใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิง ดังนั้นเพื่อเพิ่มเสถียรภาพด้านเชื้อเพลิงให้กับโรงงานอุตสาหกรรม เทคโนโลยีการใช้ถ่านหินสะอาดควบคู่กับชีวมวลในการผลิตพลังงานจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบกิจการในการใช้เชื้อเพลิงชีวมวล พพ.

โครงการสนับสนุนการลงทุนติดตั้งใช้งานระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ประเทศไทยมีการผลิตอาหารแห้ง เช่น ผัก ผลไม้ และสมุนไพรทั้งในระดับครัวเรือนและระดับอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดเล็กกระจายกันอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ตัวอย่างเช่น การผลิตลำไยแห้งในจังหวัดทางภาคเหนือปีละกว่า 500,000 ตัน เป็นเงินปีละ 1,600 ล้านบาท การผลิตกล้วยตากปีละประมาณ 4,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจปีละกว่า 100 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการผลิตผลไม้แห้งอื่นๆ อาหารทะเลแห้ง และสมุนไพรต่างๆ โดยบางส่วนส่งไปจำหน่ายในต่างประเทศ

โครงการศึกษาประเมินศักยภาพชีวมวล

ปีดำเนินโครงการ: 

 ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมและได้พัฒนาเป็นประเทศเกษตรอุตสาหกรรม ผลผลิตหลักของประเทศคือสินค้าทางการเกษตรซึ่งเป็นรายได้หลักอย่างหนึ่ง ผลผลิตข้างเคียงที่เกิดขึ้นคือ เศษวัสดุทางการเกษตร ซึ่งเดิมขจัดทิ้งโดยการฝังหรือคลุมหน้าดิน แต่ปัจจุบันได้มีการนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตพลังงานความร้อนหรือพลังงานไฟฟ้า เศษวัสดุที่กล่าวถึงนี้เรียกโดยทั่วไปว่า ชีวมวล (Biomass) เช่น แกลบ กากอ้อย เศษไม้และขี้เลื่อย กะลา และกากใยปาล์ม เป็นต้น

การพัฒนาระบบติดตามข้อมูลการใช้ชีวมวลในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ

ปีดำเนินโครงการ: 

 นับวันการใช้พลังงานสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆทั่วโลกนั้นมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศทั้งในรูปของน้ำมันเชื้อเพลิง และถ่านหิน ทั้งๆที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากรมากกว่าร้อยละ 50 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลพลอยได้ที่สำคัญนอกเหนือจากผลผลิตการเกษตรก็คือ วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว แกลบ กากอ้อย กาก ใย ทะลายปาล์ม และผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงในการใช้เชื้อเพลิง ชีวมวลในอุตสาหกรรมและการผลิตไฟฟ้า สาเหตุที่เรายังไม่สามารถใช้ศักยภาพดังกล่าวได้อย่างเต็มที่ นอกเหนือจากการขาดการค้นคว้าและวิ

ศีกษาการใช้ก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานในเครื่องผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จัดทำโครงการศึกษาการใช้ก๊าซชีวภาพเป็พลังงานในเครื่องผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีในการผลิตก๊าซชีวภาพที่สามารถดำเนินการได้อย่างเหมาะสมและมีความคุ้มค่าในการลงทุน โดยทีมนักวิจัยและวิศวกรของคนไทย เพื่อนำกากตะกอนไปใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่า และใช้ก๊าซชีวภาพพลังงานทดแทนอย่างเต็มที่ และรักษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากจะสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศ

โครงการจัดทำระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลเพื่อติดตามและประเมินผลการผลิตก๊าซชีวภาพในประเทศ

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

     ก๊าซชีวภาพ เป็นพลังงานหมุนเวียน ( Renewable Energy) ชนิดหนึ่งที่สามารถดำเนินการผลิตและใช้เป็นพลังงานทดแทนพลังงานจากฟอสซิล ( น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน) หรือจัดเป็นพลังงานทางเลือก (Alternative Energy) ที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเป็นประเทศเกษตรกรรม ทำให้มีวัตถุดิบที่สามารถนำมาผลิตก๊าซชีวภาพได้อย่างหลากหลาย เช่นของเสียหรือน้ำเสียจากภาคอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ภาคปศุสัตว์ ภาคชุมชนและสถานประกอบการต่างๆ หรือแม้แต่ของเหลือทิ้งทางการเกษตรหรือจากพืชพลังงานต่างๆ

ศึกษาความเป็นไปได้และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานในแหล่งลมดี

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

การจัดทำแผนที่ศักยภาพพลังงานลมสำหรับประเทศไทย ทำให้ทราบว่าพื้นที่ใดมีศักยภาพของพลังงานลมเพียงพอที่จะพัฒนาให้เป็น wind farm ในอนาคต ที่สามารถติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าให้ได้ 800 เมกะวัตต์ในปี พ.ศ. 2565 ตามแผนพลังงานทดแทน 15 ปี
การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพของพลังงานลม ศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ศึกษาความพร้อมของระบบสายส่งและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น โดยได้ทำการสำรวจความเร็วลมภาคสนามเบื้องต้นจำนวน 10 พื้นที่จากแผนที่ศักยภาพ

ศีกษาวิจัยและพัฒนาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำหรับกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กเผื่อผลิตในประเทศ

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

เป็นโครงการการศึกษา ออกแบบ และสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าความเร็วรอบ
ต่ำสำหรับกังหันลมผลิตไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง พร้อมทั้งทำการทดสอบสมรรถนะและความทนทาน
เพื่อการพัฒนาให้สามารถผลิตได้ในเชิงอุตสาหกรรมเพื่อใช้ภายในประเทศและยังสามารถผลิตเพื่อการ
ส่งออกต่างประเทศในอนาคต นอกเหนือจากนี้ยังจะสามารถพัฒนาบุคลากรของประเทศไทยให้มีความรู้
ความสามารถในการออกแบบและสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าความเร็วต่ำสำหรับกังหันลม โดยเครื่อง
กำเนิดไฟฟ้าที่ออกแบบและสร้างขึ้นจะมีสองขนาดพิกัดกำลังไม่ต่ำกว่า 2 กิโลวัตต์และ 5 กิโลวัตต์ที่พิกัด
ความเร็ว 300 รอบต่อนาที

Pages