โครงการการศึกษาแนวทางบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อ ใช้เป็นเชื้อเพลิงและลดการเกิดหมอกควัน

รายละเอียด: 

จากวิกฤติราคาพลังงานปรับตัวขึ้นลงประเทศไทยต้องนำเข้าพลังงานเป็นมูลค่าเกือบหนึ่งล้านล้านบาทในระยะเวลาปีกว่าที่ผ่านมา ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้รับผลกระทบตลอดจนประชาชนได้รับผลกระทบโดยตรงจากราคานํ้ามันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นกระทรวงพลังงานเล็งเห็นความจำเป็นในการจัดหาแหล่งพลังงานที่หลากหลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานหมุนเวียนในประเทศจึงมีนโยบายจะพัฒนาพลังงานทดแทนเป็นแหล่งพลังงานหลักของประเทศด้วยการจัดทำแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี (พ.ศ. 2551 –2565) ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ของแผนเพื่อให้ประเทศไทยใช้พลังงานทดแทนเป็นพลังงานหลักของประเทศแทนการนำเข้านํ้ามันเพื่อเพิ่มความมั่นคงในการจัดหาพลังงานให้ประเทศ
อย่างไรก็ดี ปัญหาอุปสรรคของการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ไม่ว่าจะเป็นการผลิตเอทานอลไบโอดีเซล นํ้ามันชีวภาพ หรือการผลิตไฟฟ้าจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร คือ ปัญหาด้านการขาดแคลนวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็น มันสำปะหลัง กากนํ้าตาล สำหรับการผลิตเอทานอล หรือนํ้ามันปาล์ม นํ้ามันสบู่ดำ นํ้ามันพืชใช้แล้ว สำหรับการผลิตไบโอดีเซล หรือ ผลิตภัณฑ์จากยางพารา ฟางข้าว เหง้ามันสำปะหลัง สำหรับการผลิตนํ้ามันชีวภาพ ซึ่งแนวทางการแก้ไขจำเป็นต้องมีการส่งเสริมการปลูกที่มีประสิทธิภาพและการเพิ่มผลผลิตของพืชที่มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานทดแทน คือ มันสำปะหลัง อ้อย ปาล์มนํ้ามัน ยางพารา และ การส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานอื่นๆ ที่มีศักยภาพในการผลิตพลังงานทดแทน
ในการศึกษาในงานวิจัยนี้จะเน้นการศึกษาในลักษณะประเมินเทคโนโลยี (Technology Assessment) ที่เหมาะสมสำหรับการเก็บรวบรวมวัสดุเหลือทิ้งจากการทำเกษตร (ซังข้าวโพด, ต้นข้าวโพด, เปลือกข้าวโพด ยอดอ้อย และใบอ้อย) ตลอดจนเทคโนโลยีการแปรรูปให้เหมาะสมเพื่อการขนส่งเข้าโรงไฟฟ้าชีวมวลระบบการขนส่ง ที่เหมาะสมและคุ้มค่า ในการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า

ปีดำเนินโครงการ: 
หน่วยงานที่ดำเนินโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ที่อยู่: 
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 196 ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทรศัพท์ 0 2561 2445 โทรสาร 0 2940 5744 , 0 2579 0455

htg1