การศึกษาศักยภาพพลังงานลมสำหรับการผลิตไฟฟ้าใบเขตภาคกลางของประเทศไทย

รายละเอียด: 

เนื่องจากนโยบายการพัฒนาพลังงานทดแทนของประเทศโดยให้มีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมให้ได้มากถึง 800-1200 MW ภายในปี พ.ศ. 2564 รวมทั้งในปัจจุบันเทคโนโลยีในการผลิตพลังงานทดแทนทางด้านพลังงานลมมีความพร้อมอยู่มากและด้วยต้นทุนที่ต่าลง ขณะที่ประเทศไทยยังขาดแนวทางการหาแหล่งที่มีศักยภาพการผลิตพลังงานลมสาหรับกังหันลมขนาดใหญ่(1 MW ขึ้นไป)ในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย จึงมีความจำเป็นต้องศึกษาวิจัยหาพื้นที่ที่มีศักยภาพเป็นแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานลม แม้ว่าปัจจุบันมีผลการศึกษาศักยภาพพลังงานลมในประเทศไทยไว้บ้างแล้วในภาคกลาง แต่ส่วนใหญ่เป็นผลการวิเคราะห์แผนที่ศักยภาพพลังงานลมในระดับสูงปานกลาง คือตั้งแต่ระดับ 60 เมตรลงมาซึ่งไม่เหมาะกับกังหันลมขนาดใหญ่ซึ่งให้กาลังไฟฟ้าและประสิทธิภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้าสูงกว่ากังหันลมขนาดเล็กมาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาความเป็นไปได้ในการติดตั้งกังหันลมขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคกลาง หรือสำหรับการทำฟาร์มกังหันลมขนาดใหญ่เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า ดังนั้นจึงต้องมีผลการศึกษาในข้อมูลลมที่แม่นยำเกี่ยวข้องปริมาณความเร็วลมที่ได้ตลอดทั้งปี ซึ่งการศึกษาวิจัยนี้จึงทาการตรวจวัดจริงที่ระดับความสูง 120 เมตรให้สอดคล้องกับกังหันลมขนาดใหญ่เป็นเวลา 12 เดือน เพื่อหาศักยภาพพลังงานลมเชิงเศรษฐศาสตร์ถึงความเป็นไปได้ในการติดตั้งกังหันลมขนาดใหญ่

ปีดำเนินโครงการ: 
หน่วยงานที่ดำเนินโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ที่อยู่: 
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 196 ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทรศัพท์ 0 2561 2445 โทรสาร 0 2940 5744 , 0 2579 0455