“โซลาร์ รูฟท็อป” ส่อเค้ากระหึ่ม ดีเดย์ให้ยื่นขอ 23 ก.ย. 2556

หลังเคาะแล้ว โซลาร์เซลล์ 200 เมกะวัตต์ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายนถึง 11 ตุลาคมนี้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) จะเปิดให้ผู้สนใจยื่นคำขอเพื่อขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาสำหรับบ้านที่อยู่อาศัย และอาคารธุรกิจ หรือ โรงงาน ด้วยปริมาณการรับซื้อไฟฟ้ารวม 200 เมกะวัตต์

บุญส่ง เกิดกลาง หนึ่งในคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)

“การยื่นคำขอติดตั้ง โซลาร์ รูฟท็อป อาจจะเกินเป้าหมายที่กำหนดตั้งแต่วันแรก

แต่ก็จะพิจารณาความถูกต้องของคำขออย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม” บุญส่ง เกิดกลาง หนึ่งในคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เชื่อมั่นการผลักดันที่ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจ และครัวเรือนมีพลังงานทางเลือกที่ยั่งยืนจะ

ได้รับความสนใจแน่นอน

   ภายหลังคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ออกระเบียบรับซื้อ ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา หรือ โซล่ารูฟท็อป (Solar Rooftop) ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 3 กันยายนที่ผ่านมา ระเบียบดังกล่าวกำหนดปริมาณการรับซื้อไฟฟ้ารวม 200 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น บ้านอยู่อาศัย ที่มีขนาดติดตั้ง 0-10 กิโลวัตต์ จำนวน 100 เมกะวัตต์ และอาคารธุรกิจขนาดเล็ก -กลาง -ใหญ่ ที่ติดตั้ง 10-1,000 กิโลวัตต์ จำนวน 100 เมกะวัตต์

   โดยอัตรารับซื้อไฟฟ้าเป็นไปตามต้นทุนจริง หรือ Feed in tariff 25 ปี ราคา 6.16-6.96 บาทต่อหน่วยสำหรับบ้านที่อยู่อาศัยอยู่ที่ 6.96 บาทต่อหน่วย กำลังการผลิตไฟไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ ธุรกิจขนาดเล็กผลิตไฟไม่เกิน 25 กิโลวัตต์ อยู่ที่ 6.55 บาทต่อหน่วย และธุรกิจขนาดกลาง และใหญ่อยู่ที่ 6.16 บาทต่อหน่วย โดยมีระยะเวลาอุดหนุนค่าไฟทั้งสิ้น 25 ปี และอัตราดังกล่าวจะประกาศใช้ระหว่างปี 2556-2557 ซึ่งหากต้นทุนต่างๆ ลดลงอัตราดังกล่าวจะต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทุกปี ซึ่งแผนส่งเสริมครั้งนี้จะกระทบต่อค่าไฟฟ้าเพียง 0.50 สตางค์ต่อหน่วยเท่านั้น
 ทั้งนี้ กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ภายใน 31 ธันวาคมนี้ โดยที่ กฟน. และ กฟภ. จะเปิดรับซื้อไฟฟ้ารวม 80 และ 120 เมกะวัตต์ ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายนจนถึง 11 ตุลาคมนี้ และประกาศรายชื่อผู้ยื่นคำขอขายไฟฟ้าที่ผ่านการคัดเลือกตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป

พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน

ค่า FT แนวโน้มเพิ่แรงกระตุ้นช่วย
“หลังจากที่ประกาศแล้วเชื่อว่าทางผู้ผลิตโซลาร์เซลล์ที่ จะขายกับประชาชนก็คงจะไปทำการตลาดกันเองว่าจะทำอย่างไรให้ประชาชนหันมาสนใจ ติดตั้ง คล้ายกับกรณีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เครื่องทำน้ำอุ่น ฯลฯ  ที่จะมีระบบไฟแนนซ์ผ่อนจ่าย” พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน     กล่าวไว้เมื่อครั้งที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ    (กพช.) เมื่อวันที่ 16 ก.ค. ที่ผ่านมา
    ส่วนแนวโน้มค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือ เอฟที งวดเดือนมกราคม-เมษายน 2557  จะมีโอกาสปรับสูงขึ้น หลังจากงวดนี้ปรับขึ้นแล้ว 7.08 สตางค์ต่อหน่วย ตามราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อราคาก๊าซธรรมชาติที่เป็นต้นทุนหลัก และค่าเงิน หากอ่อนค่าลงอีกก็จะเพิ่มภาระต้นทุน โดยทุก 1 บาท จะมีผลต่อต้นทุนค่าเอฟที ประมาณ  6  สตางค์ต่อหน่วย

นอกจากนี้ มาตรการภาษีเพื่อจูงใจให้มีการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป อยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงการคลัง   อาจเป็นการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยการสนับสนุนทำได้หลายรูปแบบมากกว่ามาตรการภาษี เช่น สิทธิประโยน์ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ก็จะเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ภาคครัวเรือน และธุรกิจตัดสินใจง่ายขึ้นสำหรับการลงทุนติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อป
   ในภาวะที่ก๊าซธรรมชาติ เชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า มีแนวโน้มจะหมดจากอ่าวไทยอย่างถาวรในระยะ 10 ปีข้างหน้า พลังงานทดแทนอย่างแสงอาทิตย์ จึงเป็นอีกทางเลือกที่สามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นครัวเรือนหรือภาคธุรกิจ
   เชื่อว่าการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ ประเภทโซลาร์ รูฟท็อป จะช่วยเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน และลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศลงได้ส่วนหนึ่ง โดยมีการคาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศในปี 2573 จะเพิ่มขึ้นเป็น 7 หมื่นเมกะวัตต์ จากปัจจุบันอยู่ที่ 2 หมื่น 7 พันเมกะวัตต์ ในขณะที่ความสามารถผลิตไฟฟ้ามีเพียง 3  หมื่น 3  พันเมกะวัตต์
   ตามเป้าของภาครัฐต้องการจะให้ครัวเรือน ชุมชน และภาคอุตสาหกรรม ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ใช้เองด้วย และมีรายได้จากการขายไฟเข้าระบบ ผ่านการสนับสนุนมาตรการภาษี และอัตรารับซื้อไฟที่เหมาะสม แต่จะจูงใจให้เกิดการลงทุนได้มากน้อย ข้อสำคัญยังต้องกันดูต่อว่า สินเชื่อของสถาบันการเงินต่างๆ เอื้อความสะดวกอย่างไรบ้าง        

กฟภ. เปิดรับซื้อไฟฟ้ารวม 120 เมกะวัตต์
- ประเภทบ้านอยู่อาศัย 60 เมกะวัตต์ ยื่นคำขอได้ที่การไฟฟ้าเขตทั้ง 12 เขต เขตละ 5 เมกะวัตต์

- ประเภทอาคารธุรกิจหรือโรงงาน อีก 60 เมกะวัตต์ โดยยื่นคำขอที่ กฟภ. สำนักงานใหญ่

กฟน. รับซื้อไฟฟ้ารวม 80 เมกะวัตต์
- ประเภทบ้านอยู่อาศัยและอาคารธุรกิจหรือโรงงานประเภทละ 40 เมกะวัตต์ โดยยื่นคำขอได้ที่ กฟน. ทั้ง 18 เขต

ที่มา  www.manager.co.th