งานรณรงค์สร้างดวามเข้าใจในการนำขยะมาผลิตพลังงาน

ในปี 2549 การพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้เริ่มดำเนินโครงการพัฒนาระบบ ผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะในระดับชุมซน เพื่อส่งเสริมการผลิตพลังงานจากขยะชุมชนและนำมาใช้ประโยชน์เป็นพลังงานทดแทน พร้อมทั้งสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการปัญหาขยะของท้องถิ่น และสร้างความเช้าใจในหลักการนำขยะอินทรีย์มาผลิตเป็นพลังงาน โดยมีต้นแบบที่สามารถปฏิบัติและใช้งานได้จริง ซึ่งได้ติดตั้งต้นแบบในภูมิภาคต่างๆ จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย เทศบาลตำบลสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เทศบาลเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เทศบาลเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร เทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรธรรมราช ซึ่งโครงการได้ก่อสร้างแล้วเสร็จและ เริ่มเดินระบบในปี 2550 โดยนำก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้นไปใช้ทดแทน ก๊าซหงต้มในครัวเรือนและใช้ในโรงฆ่าสัตว์
เนื่องจากการนำขยะมาผลิตพลังงานยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่ จากการติดตามผลการดำเนินงาน จึงพบว่าปัญหาที่สำคัญคือ เทศบาลทั้ง 5 แห่งจัดหาขยะอินทรีย์ที่คัดแยก แล้ว เข้าระบบได้น้อยกว่าที่ระบบฯ สามารถรองรับได้ ทำให้การใช้ประโยชน์จากระบบฯ ที่สร้างขึ้นไม่เต็ม ประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดพื้นมีแนวทางในการแก้ปัญหาได้โดยการรณรงค์สร้างความรู้ความ เข้าใจในการคัดแยกขยะอินทรีย์มาผลิตพลังงานให้แก่เทศบาล อบต. ชุมชนและประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ร่วม โครงการติดตั้งระบบผลิตพลังงานจากขยะของ พพ. ซึ่งในปี 2552-2553 จะมีการติดตั้งระบบผลิตพลังงาน จากขยะเพิ่มเติมอีก 12 แห่ง คือ เทศบาลตำบลหนองม่วง จ.ลพบุรี เทศบาลตำบลสามง่าม จังหวัดนครปฐม เทศบาลตำบลโคกกรวดและเทศบาลตำบลพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เทศบาลตำบลวังกะพี้ จังหวัดอุตรดิตถ์ เทศบาลตำบลย่านตาขาว จังหวัดตรัง เทศบาลเมืองแกลง จังหวัดระยอง เทศบาลตำบลอิสาณ จังหวัด บุรีรัมย์ เทศบาลเมืองเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี เทศบาลตำบลกลาง จังหวัดลำพูน เทศบาลเมืองสิงหนศร จังหวัดสงขลา และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อตก.) กรุงเทพมหานคร