การศึกษาออกแบบเพี่อสาธิตโรงไฟฟ้าจากชีวมวล

รายละเอียด: 

     ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่สำคัญ ซึ่งมีชีวมวลหรือเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรภายหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปผลิตผลเกษตรเป็นจำนวนมาก  แนวทางหนึ่งที่สามารถนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเหล่านี้มาใช้ได้อย่างเหมาะสมคือ การใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าและพลังงาน ความร้อนร่วม (Cogeneration System) เพื่อใช้ในโรงงาน และอาจนำไฟฟ้าที่เหลือใช้ภายในโรงงานขาย ให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในรูปของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (Small Power Producer, SPP)

     ในปี พ.ศ.2543 ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกสับปะรดประมาณ 6 แสนไร่ และมีผลผลิตสับปะรด ประมาณ 2.3 ล้านตัน ซึ่งคาดว่าจะมีตอซังสับปะรดหลังจากการเก็บเกี่ยวประมาณ 9.5 ล้านตัน จากการ วิเคราะห์คุณสมบัติของตอซังสับปะรดพบว่า ตอซังสับปะรดตากแห้งที่ความชื้นประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์ มี ค่าความร้อนประมาณ 3,900 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม (กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, 2544)  ตังนั้นจึงสามารถนำเหง้ามันสำปะหลังและเศษไม้ยางพารา ตลอดจนเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอื่นมาใช้เป็นเชื้อเพลิงร่วมด้วย อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงยังมีข้อจำกัดบางประการ และในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาสาธิตความเหมาะสมในการนำเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อนร่วม

     ดังนั้นหากมีการศึกษาความเหมาะสมด้านเทคโนโลยีและทำการสาธิต รวมทั้งส่งเสริมการใช้ตอชัง สับปะรด เหง้ามันสำปะหลัง เศษไม้ยางพารา และเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอึ่นๆ เป็นเชื้อเพลิง จะ สามารถช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสชิสที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และช่วยในการอนุรักษ์พลังงาน ให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาพลังงานที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและลังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 แผนพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติและนโยบายรัฐบาล ข้อ 2.4 นโยบายด้านพลังงาน ข้อ 2.4.3 ซึ่งเกี่ยวกับการเร่งรัดสำรวจและพัฒนาแหล่งพลังงานจากทั้งในประเทศและต่างประเทศให้มีปริมาณ เพียงพอกับความต้องการมีความมั่นคงมีคุณภาพ และระดับราคาที่เหมาะสม

ปีดำเนินโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: