รายงานฉบับสุดท้าย โครงการศึกษาศักยภาพการผลิตและการใช้ระบบทำความเย็นด้วยพลังงานความร้อนแสงอาทิตย์

ในปี 2551 ประเทศไทยมีการใชไฟฟ้ารวมมากกว่า 148,000 ล้านหน่วย แยกเป็นการใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 48.18 ภาคธุรกิจร้อยละ 15 ภาคที่อยู่อาศัยร้อยละ 22.27 และการใช้ไฟฟ้าในภาคอื่นๆ อีกร้อยละ 1 โดยที่กระแสไฟฟ้าส่วนใหญ่จะสูญเสียไปกับเครื่องทำความเย็นคิดเป็นกว่าร้อยละ 55 ดังนั้น หากสามารถใช้งานและผลิตระบบทำความเย็นที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้ก็จะช่วยลดค่าเชื้อเพลิงที่ส่วนใหญ่ต้องนำเข้ามาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับระบบทำความเย็นในแต่ละปีได้เป็นอันมาก

ระบบทำความเย็นพลังงานแสงอาทิตย์เป็นการนำความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ได้รับในช่วงกลางวันมาใช้เป็นแหล่งพลังงานเพื่อทำให้เกิดความเย็นขึ้นในอาคารได้ซึ่งผลที่ได้รับ คือ เมื่อแสงอาทิตย์มีความร้อนมากที่สุดก็ยิ่งส่งผลให้สามารถผลิตความเย็นได้สูงสุดเช่นกัน เนื่องจากความต้องการใช้ระบบทำความเย็นจะเพิ่มขึ้น และลดลงอย่างเป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์กับปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้รับนั่นเอง การศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบทำความเย็นด้วยพลังงานแสงอาทิตย็ได้มีการดำเนินการมานานแล้วในกลุ่มประเทศยุโรป และสหรัฐอเมริกา และในปัจจุบันเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจมากขึ้นและมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย็ได้แล้ว ทั้งในประเทศ อิสราเอล ประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ เนื่องจากระบบนี้จะสามารถช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ปรับสภาวะความขึ้นอากาศที่ใช้ในพื้นที่ใช้งานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และให้ความรู้สึกที่สบายแก่ผู้ทำงาน และยังเป็นการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งเป็นผลให้ลดการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ (C02) ลงได้ซึ่งประเทศไทยเองเป็นประเทศที่อยู่ในภูมิอากาศเขตร้อนขึ้น ที่มีความพร้อมทั้งด้านศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งมีอยู่ตลอดทั้งปี และมีความต้องการใช้ระบบทำความเย็นในระดับสูงเกือบตลอดทั้งปี เป็นผลให้การใช้ไฟฟ้าเพื่อทำความเย็นเป็นสัดส่วนที่สูงสุดในอาคารสำนักงานและบ้านอยู่อาศัย การศึกษาศักยภาพการนำเทคโนโลยีการทำความเย็นด้วยพลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยอย่างยิ่ง

ไฟล์/vdo/ข้อมูล ที่เกี่ยวข้อง: 

Bib13345.pdf

https://webkc.dede.go.th/testmax/sites/default/files/Bib13345.pdf