โครงการส่งเสริมระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับอาคารของรัฐ

รายละเอียด: 

ในปัจจุบันหน่วยงานของรัฐหลายประเภทที่จำเป็นต้องใช้น้ำร้อนในการดำเนินงาน เช่น โรงพยาบาล สถานศึกษา เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วิธีการผลิตน้ำร้อนโดยใช้พลังงานจากก๊าซและไฟฟ้า หรือหากเป็นอาคารขนาดใหญ่จะใช้หม้อต้ม (Boiler) ที่ใช้น้ำมันเตาหรือน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง การใช้พลังงานดังกล่าวในการผลิตน้ำร้อนเป็นการใช้พลังงานเชื้อเพลิงโดยตรงในการสันดาป ซึ่งก่อให้เกิดมลภาวะความร้อนอันส่งผลถึงปัญหาสภาวะโลกร้อน ส่วนการใช้ไฟฟ้าในการผลิตน้ำร้อนก็เป็นการใช้พลังงานอย่างไม่คุ้มค่า แม้บางกรณีจะมีประสิทธิภาพเชิงความร้อนสูงก็ตาม เนื่องจากไฟฟ้าเป็นพลังงานคุณภาพสูง (High grade energy) ที่เปลี่ยนรูปมาจากความร้อนก่อนหน้าแล้ว การใช้ไฟฟ้าเปลี่ยนรูปกลับเป็นความร้อนสูงจึงเป็นการใช้พลังงานอย่างไม่มีคุณค่า แม้จะมีมูลค่าที่อาจยังอยู่ในเกณฑ์ที่พอรับได้ก็ตาม
ทางแก้ไขปัญหาที่ดีอย่างหนึ่งจากการผลิตน้ำร้อนจากพลังงานสิ้นเปลืองเหล่านี้คือ การผลิตน้ำร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับความร้อนเหลือทิ้ง (waste heat) ในรูปแบบต่างๆ
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จึงเริ่มดำเนินโครงการออกแบบระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับอาคารของรัฐ โดยให้การสนับสนุนการศึกษาและออกแบบรายละเอียดระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับอาคารของรัฐ และให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการลงทุนติดตั้งระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับอาคารของรัฐ โดยการดำเนินงานมีแผนงานต่อเนื่อง 3 ปี ระหว่างปี 2552 ถึง 2554 ทั้งนี้ ระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์จะช่วยให้อาคารของรัฐประหยัดค่าใช้จ่ายจากการใช้เชื้อเพลิง ส่งผลให้ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงของประเทศ

ปีดำเนินโครงการ: 
เลขที่สัญญา: 
235/52
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: