โครงการศึกษาประเมินศักยภาพชีวมวล

รายละเอียด: 

 ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมและได้พัฒนาเป็นประเทศเกษตรอุตสาหกรรม ผลผลิตหลักของประเทศคือสินค้าทางการเกษตรซึ่งเป็นรายได้หลักอย่างหนึ่ง ผลผลิตข้างเคียงที่เกิดขึ้นคือ เศษวัสดุทางการเกษตร ซึ่งเดิมขจัดทิ้งโดยการฝังหรือคลุมหน้าดิน แต่ปัจจุบันได้มีการนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตพลังงานความร้อนหรือพลังงานไฟฟ้า เศษวัสดุที่กล่าวถึงนี้เรียกโดยทั่วไปว่า ชีวมวล (Biomass) เช่น แกลบ กากอ้อย เศษไม้และขี้เลื่อย กะลา และกากใยปาล์ม เป็นต้น

 จากการสำรวจของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานในปี 2539 พบว่า เชื้อเพลิงชีวมวลประกอบด้วย กากอ้อย แกลบ ซังข้าวโพด ลำต้นมันสำปะหลัง และลำต้นถั่วเหลืองที่ประเทศไทยผลิตได้ ทั้งที่เป็นวัสดุเหลือใช้จากพื้นที่การเกษตรและโรงงานอุตสาหกรรมมีปริมาณทั้งสิ้น 285 ล้านตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ในขณะที่ปีดังกล่าวมีการใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงเพียง 20 ล้านตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ หรือคิดเป็นร้อยละ 7 ของปริมาณ ชีวมวลทั้งหมดที่ผลิตได้

 ดังนั้น หากมีการสำรวจปริมาณศักยภาพของแหล่งผลิตและการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลโดยจัดทำเป็นระบบฐานข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงกับสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ จะทำให้ง่ายและสะดวกต่อการตรวจสอบปริมาณชีวมวลที่เหลือจากการใช้งาน และสามารถกำหนดแนวทางในการส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลเพื่อทดแทนพลังงานเชิงพาณิชย์ซึ่งจะต้องนำเข้าจากต่างประเทศได้

ปีดำเนินโครงการ: