กระทรวงพลังงานตั้งเป้าลดการใช้พลังงานลงร้อยละ 25 ภายใน 20 ปี

            พลังงานเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวัน การปรับปรุงคุณภาพชีวิต และการ

พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนา มีความต้องการ

พลังงานเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากทรัพยากรพลังงานภายในประเทศมีค่อนข้างจำกัด จึงต้อง

พึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศกว่าครึ่งหนึ่งของความต้องการและสัดส่วนการพึ่งพามีแนวโน้ม

สูงขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในการจัดหาพลังงานในอนาคต นอกจากนี้ราคา

พลังงานก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นภาระต่อผู้ใช้พลังงานความสามารถในการแข่งขันใน

เชิงเศรษฐกิจ และดุลการค้าระหว่างประเทศ นอกจากปัญหาด้านพลังงานแล้ว ประเทศไทยยังต้องเผชิญกับ

ความท้าทายด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากการใช้พลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลกระทบของการ

เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันเนื่องมาจากสภาวะโลกร้อน ซึ่งข้อตกลงระหว่างนานาประเทศที่เกี่ยวข้อง

รวมทั้งแรงกดดันจากประเทศคู่ค้าที่มีนโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เข้มข้น ซึ่งเป็นปัจจัยส่วน

สำคัญที่ทำให้ระบบพลังงานของประเทศต้องเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบลดคาร์บอน (Low-carbon energy

system)

                ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับในทางสากลว่าการอนุรักษ์และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเป็นมาตรการ

ที่สำคัญที่จะเผชิญกับประเด็นความท้าทายดังกล่าว เนื่องจากโดยทั่วไปมาตรการประเภทนี้มักมีต้นทุนต่ำ

เทคโนโลยีส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว และสามารถดำเนินการได้เร็ว ซึ่งจากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า ประเทศกำลัง

พัฒนามีศักยภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและอนุรักษ์พลังงานสูง โดยรัฐบาลไทยได้มี

มาตรการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานมาตั้งแต่เริ่มมีพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.

2535 โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีการใช้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานสนับสนุนการดำเนินมาตรการ

ต่างๆ ภายใต้แผนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานมาแล้ว 3 ระยะๆ ละ 5 ปี ตัวอย่างมาตรการที่ได้ดำเนินการ

แล้วได้แก่การบังคับใช้ พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเพื่อส่งเสริมการจัดการพลังงานในโรงงาน

และอาคารควบคุม การส่งเสริมให้ติดฉลากแสดงประสิทธิภาพพลังงานของอุปกรณ์/เครื่องใช้ไฟฟ้า การจูง

ใจด้วยมาตรการทางภาษีและเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ การพัฒนาธุรกิจจัดการพลังงาน (ESCO) และการรณรงค์

สร้างจิตสำนึกการใช้พลังงานอย่างประหยัด เป็นต้น การทบทวนผลการดำเนินมาตรการต่างๆพบว่า บาง

มาตรการมีผลการประหยัดพลังงานที่น่าพอใจ ขณะที่บางมาตรการยังมีอุปสรรคในการดำเนินการ

โดยเฉพาะการดำเนินงานข้ามหน่วยงาน ความต่อเนื่องของนโยบายและการจัดสรรงบประมาณ

                 นอกจากนี้แผนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในอดีตเป็นเพียงแผนของกองทุนฯเท่านั้น ยังขาดการ

จัดทำแผนในภาพรวมของประเทศ โดยเฉพาะเป้าหมายและแผนงานระยะยาวที่จะทำให้เกิดการบูรณาการ

การดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องของภาคส่วนต่างๆ กอปรกับรัฐบาลเล็งเห็นว่าในอนาคตปัญหาเรื่องราคา

พลังงาน การแย่งชิงทรัพยากรพลังงานระหว่างประเทศ ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพ

ภูมิอากาศจะเป็นปัญหาที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสวัสดิภาพของประชาชนและ

ความสามารถในการแข่งขันเชิงเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ รัฐบาลจึงได้ริเริ่มให้มีการจัดทำแผนอนุรักษ์

พลังงานระยะ 20 ปี ซึ่งสอดคล้องกับคำประกาศของผู้นำกลุ่มประเทศความร่วมมือทางเศรษฐกิจภาคพื้น

เอเชียแปซิฟิก (เอเปค) เมื่อปี 2550 ที่จะร่วมกันส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

สำหรับปี 2573 (ค.ศ. 2030) แผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ ดังนี้

            (1) เพื่อกำหนดเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานของประเทศในระยะสั้น 5 ปี และระยะยาว 20 ปี

ทั้งในภาพรวมของประเทศ และในรายภาคเศรษฐกิจที่มีการใช้พลังงานมาก ได้แก่ ภาคขนส่ง

ภาคอุตสาหกรรม ภาคอาคารธุรกิจและบ้านอยู่อาศัย

             (2) เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางในการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

การอนุรักษ์พลังงานที่ตั้งไว้ รวมทั้งกำหนดมาตรการและแผนงานเพื่อเป็นกรอบในการจัดทำ

แผนปฏิบัติการการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง            

ไฟล์/vdo/ข้อมูล ที่เกี่ยวข้อง: