แนวคิดการลดต้นทุนในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำร้อนจากเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์
โดยนางสาวจารุวรรณ พิพัฒน์พุทธพันธ์ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ
กลุ่มวิชาการ กองพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
แนวคิดการลดต้นทุนในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำร้อนจากเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์
แม้ว่าเทคโนโลยีการผลิตนาร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Water Heating ; SWH) จะเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาจนนำไปสู่การใช้งานอย่างแพร่หลายแล้ว แต่ช่วงสถานการณ์ปกติที่ไม่มีภาวะวิกฤติการณ์ใด ๆ ที่จะส่งผลให้ต้นทุนเชื้อเพลิงพลังงานเพิ่มสูงขึ้น เช่น ภาวะสงคราม ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นต้น ต้นทุนการผลิตน้ำร้อนจากเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ยังไม่สามารถแข่งขันกับราคาก๊าซธรรมชาติได้ ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ผลิตพลังงานหลายรูปแบบ เช่น ไฟฟ้า น้ำมันเตา
ปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนการผลิตน้ำร้อนจากเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ ได้แก่ เทคโนโลยีทางเลือก การออกแบบ การเตรียมพื้นที่ติดตั้ง และการติดตั้ง เป็นต้น โดยปัจจัยดังกล่าวเป็นปัจจัยในส่วนของต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านการติดตั้งก่อนการใช้งานและเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดปัญหาอุปสรรคด้านการขยายตลาดและค่าใช้จ่ายการติดตั้งของระบบ ทำให้ต้องมีการพัฒนาไปสู่นวัตกรรมระบบผลิตน้ำร้อนจากเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีต้นทุนต่ำด้วยการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีด้านวัสดุและการออกแบบเพื่อให้เป็นระบบที่มีน้ำหนักเบา มีความซับซ้อนเชิงเทคนิคน้อยลง เพิ่มความสะดวกในการติดตั้งใช้งาน การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิตซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์ในการบริหารจัดการวัตถุดิบ การเพิ่มและขยายกาลังการผลิตจากความต้องการในต่างประเทศ การเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการผลิตติดตั งระบบ รวมถึงการพัฒนาทักษะ ความรู้และความชานาญของผู้ติดตั้งเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและพัฒนาประสิทธิภาพของแนวทางปฏิบัติในการติดตั้งจะช่วยลดต้นทุนเหล่านี้ ได้มาก
องค์ประกอบหลักที่สำคัญของการพัฒนานวัตกรรมระบบผลิตน้ำร้อนจากเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีต้นทุนต่ำ ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่
1. ความต้องการพัฒนาเทคโนโลยีด้านวัสดุ (Materials) ได้แก่
1.1 แผงรับรังสีแสงอาทิตย์ (solar collector)
1.2 ถังเก็บน้ำร้อน (storage หรือ tank)
1.3 อุปกรณ์ประกอบระบบ (balance of systems; BOS)
2. ศักยภาพของผู้ประกอบการ (Manufacturing Capabilities)
3. ทรัพยากรมนุษย์หรือแรงงานคน (Labor Resource)
3.1 กระบวนการผลิตชิ้นส่วนและการประกอบอุปกรณ์ในโรงงานอุตสาหกรรม
3.2 การออกแบบ และการติดตั้งระบบ
3.3 การดูแลบำรุงรักษา
ข้อเสนอแนะ
1. ควรมีการศึกษา รวบรวมข้อมูลเทคโนโลยีการผลิตน้ำร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ เช่น ประสิทธิภาพการใช้งาน ประเภทและราคาของที่จ้ำหน่ายในท้องตลาด ต้นทุนการผลิตน้ำร้อน ที่จ้ำหน่ายภายในประเทศไทย เพื่อนามาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการส่งเสริมสนับสนุนเทคโนโลยีการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาวิจัยเทคโนโลยี และการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศ
2. ควรนำผลการศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับระบบผลิตนาร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีต้นทุนต่ำ มาศึกษาต่อยอดให้เกิดองค์ความรู้ด้านความร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ การพัฒนาเทคโนโลยีที่มีต้นทุนต่ำผสมผสานร่วมกับเทคโนโลยีการผลิตน้ำร้อนอื่น (hybrid system) เป็นต้น เพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้งานให้แพร่หลายมากขึ้น
/// อ่านบทความฉบับเต็มที่ได้ไฟล์ด้านล่าง///
Attachment | Size |
---|---|
![]() | 343.45 KB |