คู่มือการพัฒนาและการลงทุนผลิตพลังงานทดแทน

เอทานอล

อุตสาหกรรมเอทานอลเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญในการสร้างแหล่งพลังงานของประเทศเพื่อทดแทนพลังงานส่วนหนึ่งที่ต้องนำเข้า ซึ่งจากข้อมูลการใช้พลังงานของประเทศจากกระทรวงพลังงาน แสดงให้เห็นว่า การใช้พลังงานในภาคขนส่งปัจจุบันคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37 ของการใช้พลังงาน ทั้งหมดโดยมีมูลค่ารวมเท่ากับ 380,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันเชื้อเพลิงที่ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศนอกจากนั้นการผลิตเอทานอลจากวัตถุดิบทางการเกษตรของประเทศไทย เช่น อ้อยและมันสำปะหลังยังนับว่าเป็นการสร้างเสถียรภาพของราคาผลิตผลทางการเกษตรของประเทศด้วยซึ่งจะมีส่วนช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรอีกด้วย โดยสรุปสำหรับการใช้เอทานอลเป็นพลังงานทดแทนนั้นจะได้รับประโยชน์ อาทิ • การนำเอทานอลมาใช้ผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงเบนซินเพื่อทดแทนสาร MTBE ที่ช่วยเพิ่มค่าออกเทนให้กับน้ำมันซึ่งจะช่วยประหยัดเงินตราต่างประเทศในการนำเข้า MTBE และน้ำมันได้ • ลดปํญหามลพิษทางอากาศและการปนเปื้อนในแหล่งน้ำจากการทดแทนสาร MTBE ที่ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะเนื่องจากมีการรายงานว'าการใช้สารเอทานอลผสมในน้ำมันทดแทนสาร MTBE นี้จะช่วยทำให้น้ำมันดังกล่าวมีปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ลดลงร้อยละ 20 และปริมาณไฮโดรคาร์บอนลดลงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันเบนซินปกติ
• แก้ปัญหาผลผลิตทางการเกษตรล้นตลาดอาทิอ้อย มันสำปะหลังโดยจำหน่ายได้ในราคาที่ดียิ่งขึ้นซึ่งส่งผลดีต่อประเทศชาติโดยรวมแม้ว่าอัตราสิ้นเปลืองของแก๊สโซฮอล์จะสูงกว่าน้ำมันเบนซินปกติเล็กน้อยแต่เมื่อเทียบกับราคาที่ถูกกว่า 4.0 บาทแล้วก็นับว่ายังคุ้มค่ากว'า • การสร้างความมั่นคงด้านพลังงานจากการใช้วัตถุดิบที่ผลิตได้ภายในประเทศ ดังนั้นเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศและชุมชนอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างศักยภาพของชุมชนให้เป็นแหล่งผลิตพลังงาน และเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพในประเทศ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การส่งเสริมแก๊สโซฮอล์ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2546 โดยกำหนดให้มีการใช้เอทานอลวันละ 1 ล้านลิตร ในปี 2549 ทดแทนสาร Methyl Tertiary Butyl Ether (MTBE) ในน้ำมันเบนซินออกเทน 95 และเพิ่มการใช้เอทานอลเป็น 2.96 ล้านลิตร ในปี 2554 เพื่อใช้แทนสาร MTBEในน้ำมันเบนซินออกเทน 95 และทดแทนเนื้อน้ำมันในน้ำมันเบนซิน 91 ต่อมา กระทรวงพลังงานได้ประเมินสถานการณ์การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ จึงได้ปรับเป้าหมายการใช้เอทานอลเป็นวันละ 2.4 ล้านลิตร เพื่อทดแทน MTBE ในน้ำมันเบนซิน 95 และทดแทนเนื้อน้ำมันในน้ำมันเบนซิน 91 ภายในปี 2554 และจากแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 10 ปี(พ.ศ. 2555-2564) ได้กำหนดเป้าหมายการส่งเสริมการใช้เอทานอลปริมาณ 9 ล้านลิตรต่อวัน ภายในปี 2564 โดยภาครัฐได้มีนโยบายและมาตรการส่งเสริมสนับสนุนที่ชัดเจนมีการกำหนดภารกิจที่สำคัญโดยการสร้างตลาดเอทานอลอย่างยั่งยืน การรณรงค์ให้ความรู้และสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคอย่างจริงจัง การส่งเสริมอุตสาหกรรมเอทานอลแบบครบวงจรและเป็นมิตรต'อสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนการวิจัยและพัฒนาพืชพลังงานใหม่ๆ เพื่อลดการพึ่งพาน้ำมันและสร้างความมั่นคงด้านพลังงานอย่างยั่งยืนต่อไป

ไฟล์/vdo/ข้อมูล ที่เกี่ยวข้อง: 

เชื้อเพลิง เอทานอล.pdf

https://webkc.dede.go.th/testmax/sites/default/files/%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87%20%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A5.pdf