ลม

โครงการศึกษาความเป็นไปได้และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานลมในแหล่งลมดี

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ตามที่สำนักวิจัยค้นคว้าพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้ทำการปรับปรุงแผนที่ศักยภาพพลังงานลมสำหรับประเทศไทย เมื่อปี 2552 ซึ่งทำให้ทราบว่าบริเวณพื้นที่ใดมีศักยภาพของพลังงานลมเพียงพอที่จะพัฒนาเป็น Wind farm ได้ แต่จำเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านอื่นๆ เช่น ขนาดพื้นที่เพียงพอหรือไม่ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์มีหรือไม่ระบบสายส่งไฟฟ้ามีความพร้อมหรือไม่จะต้องลงทุนก่อสร้างหรือปรับปรุงสายส่งเพิ่มเติมอย่างไร รวมไปถึงมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่อย่างไร ประเด็นต่างๆ เหล่านี้จะต้องทำการศึกษาให้ครอบคลุมและครบถ้วน ก่อนที่จะส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนให้มาลงทุนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ให้

ศึกษาความเป็นไปได้และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานในแหล่งลมดี

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

การจัดทำแผนที่ศักยภาพพลังงานลมสำหรับประเทศไทย ทำให้ทราบว่าพื้นที่ใดมีศักยภาพของพลังงานลมเพียงพอที่จะพัฒนาให้เป็น wind farm ในอนาคต ที่สามารถติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าให้ได้ 800 เมกะวัตต์ในปี พ.ศ. 2565 ตามแผนพลังงานทดแทน 15 ปี
การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพของพลังงานลม ศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ศึกษาความพร้อมของระบบสายส่งและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น โดยได้ทำการสำรวจความเร็วลมภาคสนามเบื้องต้นจำนวน 10 พื้นที่จากแผนที่ศักยภาพ

ศีกษาวิจัยและพัฒนาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำหรับกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กเผื่อผลิตในประเทศ

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

เป็นโครงการการศึกษา ออกแบบ และสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าความเร็วรอบ
ต่ำสำหรับกังหันลมผลิตไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง พร้อมทั้งทำการทดสอบสมรรถนะและความทนทาน
เพื่อการพัฒนาให้สามารถผลิตได้ในเชิงอุตสาหกรรมเพื่อใช้ภายในประเทศและยังสามารถผลิตเพื่อการ
ส่งออกต่างประเทศในอนาคต นอกเหนือจากนี้ยังจะสามารถพัฒนาบุคลากรของประเทศไทยให้มีความรู้
ความสามารถในการออกแบบและสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าความเร็วต่ำสำหรับกังหันลม โดยเครื่อง
กำเนิดไฟฟ้าที่ออกแบบและสร้างขึ้นจะมีสองขนาดพิกัดกำลังไม่ต่ำกว่า 2 กิโลวัตต์และ 5 กิโลวัตต์ที่พิกัด
ความเร็ว 300 รอบต่อนาที

ศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบควบคุมกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กแบบเชื่อมต่อกริด

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

โครงศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบควบคุมกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กแบบเชื่อมต่อกริด เป็นการศึกษา วิจัย ออกแบบ และสร้างระบบควบคุมกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กแบบเชื่อมต่อกริดที่มีประสิทธิภาพสูง สอดคล้องมาตรฐานของการไฟฟ้า สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) โดยนำหลักการวิศวกรรมมาประยุกต์มาใช้ พร้อมทั้งทำการทดสอบสมรรถนะและความทนทาน เพื่อการพัฒนาให้สามารถผลิตได้ในเชิงอุตสาหกรรมเพื่อใช้ภายในประเทศและยังสามารถผลิตเพื่อการส่งออกต่างประเทศในอนาคต นอกเหนือจากนี้ยังจะสามารถพัฒนาบุคลากรของประเทศไทยให้มีความรู้ความสามารถในการออกแบบและสร้างระบบควบคุมกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กแบบเชื่อมต่อกริด

ติดตามประเมินผลการดำเนินการพัฒนาและส่งเสริมพลังงานลม

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

โครงการติดตามประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมพลังงานลม เป็นการรวบรวม ศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีส่วนได้ส่วนเสียและเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสาธิตและส่งเสริมพลังงานลมของประเทศไทย โดยการรวบรวมจากการจัดประชุมภายในโครงการ รวมทั้งผลการสำรวจข้อมูลการใช้กังหันลมที่ผ่านมาในพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อรวบรวมปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการพัฒนาการใช้กังหันลมในประเทศไทย นับตั้งแต่ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานของพลังงานลม จนไปถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกังหันลม ที่พบในหน้างาน ทัศนมิติที่ประชาชนทั่วไปมีต่อการใช้พลังงานลมเป็นพลังงานทางเลือก

Pages