ขยะ

โครงการศึกษาศักยภาพขยะจากหลุมฝังกลบเก่าและแนวทางการใช้ประโยขน์พลังงานขยะ

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้ตระหนักถึงปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งมีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2551 ถึง 15.03 ล้านตัน หรือคิดเป็น 41,064 ตัน/วัน ซึ่งขยะเหล่านี้ควรได้รับการจัดการที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลเพึ๋อไม่ก่อให้เกิด
ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและยังสามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนได้
พพ.ได้เล็งเห็นศักยภาพของขยะมูลฝอยจากหลุมแงกลบเก่าที่ผ่านการย่อยสลายไปบางส่วนสามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนได้ แต่ยังไม่มีการรวบรวมศักยภาพของขยะเหล่านี้ ดังนั้นการศึกษาศักยภาพการผลิตพลังงานจากขยะจากแหล่งฝังกลบเก่าจึงได้ถูกกำหนดให้ศึกษาและบรรจุใน

โครงการศึกษาศักยภาพการผลิตพลังงานจากขยะในโรงงานอุตสาหกรรม

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

การดำเนินโครงการศึกษาศักยภาพในการผลิตพลังงานจากขยะอุตสาหกรรมนี้ เป็นการศึกษาศักยภาพในการ ผลิตพลังงานจากขยะที่เกิดขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งไม่ใช่ขยะอันตราย ทั้งในส่วนของวัสดุที่เหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตและขยะอื่นที่เกิดขึ้น ในเขตโรงงานอุตสาหกรรม
เช่น เศษผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ เศษอาหาร เศษกระดาษ ยาง พลาสติก เป็นต้น รวมทั้งหาแนวทางการนำขยะเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการผลิต พลังงานครอบคลุมประเภทโรงงานอุตสาหกรรม อาหาร สิ่งทอ ยาง พลาสติก กระดาษ ผลิตภัณฑ์จากไม้ และ/หรือ อุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีขยะหรือเศษวัสดุที่สามารถนำมาผลิตพลังงานได้

การนำร่องการจัดการขยะชุมชนกรณีศึกษา เทศบาลตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ (ปีที่ 2)

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

งานวิจัยการนำร่องการจัดการขยะชุมชน กรณีศึกษา : เทศบาลตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ (ปีที่ 2) เป็นงานวิจัยที่บูรณาการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะมูลฝอย และศึกษาออกแบบด้านเทคนิคในพื้นที่ฝังกลบเดิมเพื่อการกำจัดขยะอย่างมีประสิทธิภาพ

การจัดการขยะภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาอย่างครบวงจรและเหมาะสม

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อประเมินศักยภาพในการนำขยะย่อยสลายได้กลับมาใช้ประโยชน์ในรูปของการทำปุ๋ยหมักหรือเป็นแหล่งพลังงาน และ (2) เพื่อประเมินความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ของการดำเนินโครงการธนาคารวัสดุรีไซเคิลภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งผลที่ได้รับจากการศึกษาสามารถนำไปกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อการจัดการขยะที่ย่อยสลายได้และขยะรีไซเคิลภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาในระยะยาว

โครงการสาธิตการเปลี่ยนขยะในมหาวิทยาลัยเป็นพลังงานในรูปความร้อน

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ที่มีปัญหาขยะที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งมีหอพักนักศึกษาอยู่ในเขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัย มีปริมาณขยะเกิดขึ้นประมาณ 8 - 10 ตันต่อวัน โดยมีวิธีการจัดการขยะในปัจจุบัน คือ การจ้างเหมาบริษัทเอกชนขนขยะไปทิ้งในหลุมฝังกลบที่อยู่ในพื้นที่อื่น ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการจัดการขยะในมหาวิทยาลัยดังกล่าว โดยการจัดการที่เหมาะสมควรมุ่งเน้นที่การลดปริมาณขยะด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นเทคโนโลยีที่มหาวิทยาลัย

Pages