พลังงานทดแทน

โครงการวิจัยและพัฒนาเตาเผาใช้ก๊าซชีวมวล ในอุตสาหกรรมเซรามิก

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

       การศึกษามุ่งเน้นการพัฒนาการใช้พลังงานจากการผลิตก๊าซชีวมวลทดแทนก๊าซ LPG ในอุตสาหกรรมเซรามิก การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลด้านพลังงานของโรงงาน อุตสาหกรรมเซรามิก สำรวจและรวบรวมข้อมูลรายละเอียดกระบวนการผลิต ประสานงานและคัดเลือก โรงงานผลิตเซรามิก เพื่อเก็บข้อมูลรายละเอียดสำหรับการออกแบบจัดสร้างและติดตั้งระบบการผลิตก๊าซ ชีวมวล ณ โรงงานเรืองศิลป์ 2 ซึ่งโรงงานมีการผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกประเภทตกแต่งคุณภาพสูงที่เผาด้วย เตาเผาเซรามิกแบบเส้นใยและใช้ก๊าซ LPG เป็นเชื้อเพลิง ในการศึกษาครั้งนี้เตาผลิตก๊าซชีวมวลแบบชนิดไหลลง (Downdraft Gasifier)ที่ใช้เชื้อเพลิงไม้ฟืนถูกออกแบบ สร้าง ติดตั้ง

โครงการประชาสัมพันธ์และสนับสนุนเครือข่ายด้านพลังงานชีวมวลและถ่านหินสะอาด

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

      ตามที่กระทรวงพลังงานได้กำหนดนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนของประเทศ ให้ได้ร้อยละ 20 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายในปี 2565 และจัดทำเป็นยุทธศาสตร์ในการส่งเสริม พลังงานทดแทน ประกอบด้วยการผลิตพลังงานความร้อน ไฟฟ้า และเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยกำหนด เป้าหมายให้มีการผลิตพลังงานความร้อน เป็นปริมาณรวมปีละ ๆ 7,433 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ พลังงานไฟฟ้าติดตั้งรวม 5,608 เมกะวัตต์ และการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพได้แก่ เอทานอลวันละ 9 ล้านลิตร และไบโอดีเซลวันละ 45 ล้านลิตร โดยเฉพาะวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือชีวมวล ซึ่งเป็นพลังงานทดแทนที่มีศักยภาพสูงที่สุดของประเทศ ดังนั้นรัฐจะต้องดำเนินการส่งเสริมให้มี

โครงการศึกษากำหนดแนวทางส่งเสริมการใซ้ซีวมวลแบบผลิตพลังงานความร้อนตามแผนพัฒนาพลังงานทตแทน 15 ปี

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

        เนื่องด้วยประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ผลผลิตส่วนใหญ่จึงได้จากการเกษตรเป็นสำคัญ ได้แก่ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง และปาล์มนํ้ามัน เป็นด้น ซึ่งภายหลังจากการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปพืซผล ทางการเกษตรจะมีชีวมวลหรือเศษวัสดุเหลือทิ้งอยู่บริเวณพื้นที่เพาะปลูก หรือบริเวณสถานที่แปรรูปพืชผล การเกษตรเป็นจำนวนมาก เช่น กากอ้อย แกลบ กากใยปาล์ม ซังข้าวโพด และเศษไม้ เป็นด้น ซึ่งวัสดุ เหลือทิ้งดังกล่าวมีคุณสมบัติเป็นเชื้อเพลิงที่ดี ประกอบกับราคาเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก ในปัจจุบัน ส่งผลให้โรงงานอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้าหลายแหล่งได้นำเอาวัสดุเหลือทิ้งหรือชีวมวลมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเสร

การศึกษากำหนดแนวทางส่งเสริมโรงไฟฟ้าชีวมวลชุมชนแบบครบวงจร

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

       ในปัจจุบันการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลขนาดใหญ่ ประสบกับปัญหาอุปสรรค อยู่หลายประการ ทั้งข้อจำกัดในด้านศักยภาพชีวมวลในพื้นที่ มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ ตลอดจนปัญหาการต่อด้านของชุมชนในพื้นที่รอบโครงการ ซึ่งปัญหาประการหลังนี้เป็นผลมาจาก ผู้พัฒนาโครงการละเลยการชี้แจงและสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลให้แก่ ชุมชนในพื้นที่ ประกอบกับเคร่งครัดในการดำเนินการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงไฟฟ้าให้ เป็นไปตามมาตรฐานที่ภาครัฐกำหนด โดยที่โครงการโรงฟ้าชีวมวลที่มีขนาดใหญ่บางแห่งมีกำลัง การผลิตไม่สอดคล้องกับศักยภาพของชีวมวลและฐานทรัพยากรในท้องถิ่นรวมไปถึง

การศึกษาและสาธิตการผลิตพลังงานไฟฟ้า/ความร้อนจากขยะชุมชน

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

       ปัญหาขยะมูลฝอยของประเทศไทยได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วตามการขยายตัวของเมืองและ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประซาซน ในขณะที่หน่วยงานรับผิดชอบในการกำจัดขยะส่วน ใหญ่ยังขาดความพร้อมทั้งทางด้านงบประมาณ เครื่องมืออุปกรณ์บุคลากร และสถานที่ที่ใช้ในการกำจัด ขยะจึงทำให้การกำจัดขยะส่วนใหญ่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการก่อให้เกิดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอนามัยของประซาซน

Pages