เชื้อเพลิงใหม่ทดแทนดีเซล

โครงการการเตรียมแผ่นสองขั้วจากวัสดุผสมระหว่างกราไฟต์ผงกับ พอลิเมอร์เพื่อใช้ในเซลล์เชื้อเพลิงประเภทพอลิเมอร์ อิเล็กโทรไลต์เมมเบรน (PEMFC)

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

จากปัญหาที่น้ำมันมีราคาแพง การค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงจึงเป็นที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในปัจจุบัน โดยในงานวิจัยนี้จะสนใจเซลล์เชื้อเพลิงประเภท PEMFC ซึ่งมีหนึ่งในส่วนประกอบที่สำคัญคือ แผ่นสองขั้ว ซึ่งในปัจจุบันแผ่นสองขั้วมักจะทำจากกราไฟต์ ซึ่งมีราคาแพงและมีน้ำหนักสูง ดังนั้นหากสามารถวิจัยและพัฒนาสร้างแผ่นสองขั้วที่มีน้ำหนักเบา และราคาถูกได้ ก็จะทำให้น้ำหนักและราคาของเซลล์เชื้อเพลิงลดลงด้วย ซึ่งจะทำให้นำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ได้

โครงการการปรับปรุงผิวเมมเบรนและระบบทดสอบเซลล์เชื้อเพลิงเดี่ยวแบบ เมมเบรนพอลิเมอร์อิเล็กโทรไลต์

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

เซลล์เชื้อเพลิงได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในพลังงานทางเลือกสำหรับอนาคต ด้วยเหตุผลที่ว่าเซลล์เชื้อเพลิงเป็นแหล่งพลังงานสะอาด และมีประสิทธิภาพสูงว่าเครื่องยนต์สันดาปภายใน ปัจจุบันนี้มีการพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงสำหรับใช้เป็นแหล่งพลังงานสำหรับยานพาหนะและสำหรับเป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำหรับครัวเรือนกันอย่างแพร่หลาย การพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงในปัจจุบันเน้นไปที่การลดต้นทุนเพื่อให้สามารถนำมาใช้เชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งมีความเป็นไปได้สองทางคือ การลดต้นทุนการผลิต และการเพิ่มสมรรถนะของเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อให้ได้ราคาต่อกำลังไฟฟ้า (บาทต่อกิโลวัตต์) ที่ถูกลง

โครงการต้นแบบเซลล์เชื้อเพลิงแถวกำลังไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการพัฒนาต้นแบบเซลล์เชื้อเพลิงแถวชนิดเมมเบรนแลกเปลี่ยนโปรตอนใช้งานผลิตไฟฟ้าโดยมีเป้าหมายกำลัง 1 กิโลวัตต์ การศึกษานี้เริ่มพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงเดี่ยวพื้นที่หน้าตัดกัมมันต์ 150 ตร. ซม.

โครงการ วิจัย ค้นคว้า ทดสอบ ระบบผลิตไฮโดรเจนจากน้ำใช้ในรถยนต์และกำหนดแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานไฮโดรเจนรองรับแผนพัฒนาพลังานทดแทน 15 ปี

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

กระทรวงพลังงานได้กำหนดนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนของประเทศให้ได้ร้อยละ 20.3 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายในปี พ.ศ. 2565 โดยได้กำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานไฮโดรเจนในภาคคมนาคมขนส่งในปริมาณ 100,000 กิโลกรัม ในปี พ.ศ.

การสังเคราะห์แบบเผาไหม้ของซีเรียมออกไซด์สำหรับเซลล์เชื้อเพลิงแบบออกไซด์ของแข็ง

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

- เพื่อทำการสังเคราะห์สารซีเรียมออกไซด์ที่มีขนาดอนุภาคระดับนาโนเมตร ด้วยวิธีการเผาไหม้ โดยใช้สารตั้งต้นจากสารประกอบซีเรียมที่มาจากกระบวนการเเปรสภาพแร่โมนาไซต์ในประเทศไทย เพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบในการผลิตวัสดุอิเล็กโตรไลต์ และส่วนประกอบอาโนด และตัวเร่งปฏิกิริยาในเซลล์เชื้อเพลิงแบบออกไซด์ของแข็ง
- เพื่อทำการสังเคราะห์สารประกอบออกไซด์ของซีเรียมและสารเจือมีขนาดอนุภาคระดับนาโนเมตร ด้วยวิธีการเผาไหม้ในขั้นตอนเดียว
- เพื่อพัฒนาการสังเคราะห์สารแบบเผาไหม้ เพราะเป็นวิธีที่ประหยัด และรวดเร็ว ให้ใช้ได้กับสารประกอบต่าง ๆ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการแปรสภาพ และเพิ่มมูลค่าของวัสดุอื่น ๆ

Pages