2552

โครงการส่งเสริมการใช้น้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบผสมผสานปีที่ 3

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

         ปัจจุบันมีกิจกรรมหลายประเภทที่จำเป็นต้องใช้น้ำร้อน  เช่น  โรงพยาบาล  โรงแรม  ร้านอาหาร  ร้านเสริมสวย  เป็นต้น  สำหรับการผลิตน้ำร้อนได้มีการใช้พลังงานหลายรูปแบบ  ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้มโดยใช้พลังงานจากก๊าซและไฟฟ้า หรือหากเป็นกิจกรรมขนาดใหญ่จะใช้หม้อต้ม ( Boiler) ที่ใช้น้ำมันเตา หรือน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง

โครงการศึกษาพัฒนาระบบก๊าซชีวมวลในการสูบนํ้าเพื่อการเกษตร

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

        ก๊าซชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงพลังงานทดแทนประเภทหนึ่ง ซึ่งผลิตได้จากชีวมวลหรือเศษวัสดุเหลือ ใช้จากการเกษตร โดยการเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวลในที่ที่จำกัดปริมาณอากาศ ทำให้ได้ก๊าซเชื้อเพลิงซึ่ง สามารถนำใช้ทดแทนน้ำมันในเครื่องยนต์สันดาปภายในเพื่อผลิตพลังงานกลได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการลด ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของเกษตรกร จึงดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดเบื้องต้น ของระบบสูบน้ำด้วยก๊าซชีวมวล โดยใช้เชื้อเพลิงชีวมวลหรือเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรที่สามารถหาได้ ในพื้นที่ผลิตก๊าซชีวมวลและใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์สันดาปภายในสำหรับสูบน้ำ ซึ่งจะสามารถช่วยลดด้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน

โครงการศึกษาและส่งเสริมการใช้ระบบผลิตพลังงานความร้อน ด้วยก๊าชชีวมวลสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

จากการศึกษาของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ที่ผ่านมา พบว่า แนวทางหนึ่งในการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานชีวมวลสำหรับใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม คือ เทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวมวล (Gasification) โดยใช้ชีวมวลหรือเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เป็นวัตลุดิบ ภายหลังจากการทำปฎิกริยาจะได้ก๊าซที่มีค่าความร้อนสูง เหมาะสมต่อการใช้ทดแทน เชื้อเพลิงฟอสซิล สามารถนำไปใช้เพื่อผลิตพลังงานความร้อนในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมได้โดยทำการปรับแต่งอุปกรณ์เพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตามโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กมีรูปแบบการใช้พลังงานที่แตกต่างกันหลากหลายแบบ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องทำการศ

โครงการชุมชนต้นแบบผลิตเอทานอลด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

จากปัญหาด้านวิกฤตการณ์ด้านราคาของน้ำมันเชื้อเพลิง สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้มีการสนับสนุนโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาโรงงานต้นแบบสำหรับการผลิตเอทานอลในระดับชุมชนเพื่อสนองตอบต่อนโยบายด้านพลังงานทางเลือกของรัฐบาล โดยมีงานวิจัยที่ผลิตเอทานอลจากน้ำส่าที่ได้จากมันสำปะหลังและกลั่นเป็นเอทานอลจนได้มีความเข้มข้นถึง 70%v/v และมีการทดลองและติดตั้งโรงงานต้นแบบในชุมชนตัวอย่างที่เลือกในงานวิจัยระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ในชุมชน 2 ซึ่งจากโครงการวิจัยที่ผ่านมา ซึ่งประสบความสำเร็จในด้านการพัฒนาระบบโรงงานต้นแบบในชุมชนทั้ง 2 ชุมชน โดยสามารถกลั่นเอทานอลใน ขั้นตอนที่ 2 โดยสามารถเพิ่มความเข้มข้นของเอทานอลได้ถึง 70

โครงการส่งเสริมระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับอาคารของรัฐ

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ในปัจจุบันหน่วยงานของรัฐหลายประเภทที่จำเป็นต้องใช้น้ำร้อนในการดำเนินงาน เช่น โรงพยาบาล สถานศึกษา เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วิธีการผลิตน้ำร้อนโดยใช้พลังงานจากก๊าซและไฟฟ้า หรือหากเป็นอาคารขนาดใหญ่จะใช้หม้อต้ม (Boiler) ที่ใช้น้ำมันเตาหรือน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง การใช้พลังงานดังกล่าวในการผลิตน้ำร้อนเป็นการใช้พลังงานเชื้อเพลิงโดยตรงในการสันดาป ซึ่งก่อให้เกิดมลภาวะความร้อนอันส่งผลถึงปัญหาสภาวะโลกร้อน ส่วนการใช้ไฟฟ้าในการผลิตน้ำร้อนก็เป็นการใช้พลังงานอย่างไม่คุ้มค่า แม้บางกรณีจะมีประสิทธิภาพเชิงความร้อนสูงก็ตาม เนื่องจากไฟฟ้าเป็นพลังงานคุณภาพสูง (High grade energy) ที่เปลี่ยนรูปมาจากความร้อนก่อน

Pages