โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านเทคนิค

การศึกษาออกแบบเพี่อสาธิตโรงไฟฟ้าจากชีวมวล

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

     ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่สำคัญ ซึ่งมีชีวมวลหรือเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรภายหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปผลิตผลเกษตรเป็นจำนวนมาก  แนวทางหนึ่งที่สามารถนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเหล่านี้มาใช้ได้อย่างเหมาะสมคือ การใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าและพลังงาน ความร้อนร่วม (Cogeneration System) เพื่อใช้ในโรงงาน และอาจนำไฟฟ้าที่เหลือใช้ภายในโรงงานขาย ให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในรูปของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (Small Power Producer, SPP)

โครงการวิจัยและพัฒนาเตาเผาใช้ก๊าซชีวมวล ในอุตสาหกรรมเซรามิก

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

       การศึกษามุ่งเน้นการพัฒนาการใช้พลังงานจากการผลิตก๊าซชีวมวลทดแทนก๊าซ LPG ในอุตสาหกรรมเซรามิก การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลด้านพลังงานของโรงงาน อุตสาหกรรมเซรามิก สำรวจและรวบรวมข้อมูลรายละเอียดกระบวนการผลิต ประสานงานและคัดเลือก โรงงานผลิตเซรามิก เพื่อเก็บข้อมูลรายละเอียดสำหรับการออกแบบจัดสร้างและติดตั้งระบบการผลิตก๊าซ ชีวมวล ณ โรงงานเรืองศิลป์ 2 ซึ่งโรงงานมีการผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกประเภทตกแต่งคุณภาพสูงที่เผาด้วย เตาเผาเซรามิกแบบเส้นใยและใช้ก๊าซ LPG เป็นเชื้อเพลิง ในการศึกษาครั้งนี้เตาผลิตก๊าซชีวมวลแบบชนิดไหลลง (Downdraft Gasifier)ที่ใช้เชื้อเพลิงไม้ฟืนถูกออกแบบ สร้าง ติดตั้ง

การศึกษากำหนดแนวทางส่งเสริมโรงไฟฟ้าชีวมวลชุมชนแบบครบวงจร

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

       ในปัจจุบันการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลขนาดใหญ่ ประสบกับปัญหาอุปสรรค อยู่หลายประการ ทั้งข้อจำกัดในด้านศักยภาพชีวมวลในพื้นที่ มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ ตลอดจนปัญหาการต่อด้านของชุมชนในพื้นที่รอบโครงการ ซึ่งปัญหาประการหลังนี้เป็นผลมาจาก ผู้พัฒนาโครงการละเลยการชี้แจงและสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลให้แก่ ชุมชนในพื้นที่ ประกอบกับเคร่งครัดในการดำเนินการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงไฟฟ้าให้ เป็นไปตามมาตรฐานที่ภาครัฐกำหนด โดยที่โครงการโรงฟ้าชีวมวลที่มีขนาดใหญ่บางแห่งมีกำลัง การผลิตไม่สอดคล้องกับศักยภาพของชีวมวลและฐานทรัพยากรในท้องถิ่นรวมไปถึง

โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาการผลิตขยะเชื้อเพลิง (RDF)

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

        ขยะมูลฝอยชุมชน มีองค์ประกอบประมาณร้อยละ 40-60 เป็นขยะอินทรีย์ และขยะที่เผาไหม้ได้ ประมาณร้อยละ 20-40 และวัสดุเฉื่อยที่ไม่เผาไหม้อิกประมาณร้อยละ 5-20 ซึ่งหากมีการนำขยะอินทรีย์ไป ผลิตก๊าชชีวภาพ และนำขยะที่เผาไหม้ได้มาผลิตขยะเชื้อเพลิง ก็จะเหลือฃยะที่ต้องนำไปฝังกลบซึ่งเป็นวัสดุเฉื่อยเพียงประมาณร้อยละ 5-20 เท่านั้น

การพัฒนาระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะในระดับชุมชน

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 
       ขยะมูลฝอยชุมชน มีองค์ประกอบประมาณร้อยละ 50 เป็นขยะอินทรีย์ ซึ่งปัจจุบันยังจัดการไม่ถูก สุขลักษณะ เช่น กองทิ้งกลางแจ้ง ฝังกลบอย่างไม่ถูกต้อง ทำให้ขยะอินทรีย์นี้เป็นปัญหาต่อสภาพแวดล้อม อย่างรุนแรง หากสามารถแยกขยะอินทรีย์นำมาหมักระบบไร้ออกซิเจนเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ ก็สามารถ
นำไปใช้ประโยชน์ เพื่อเป็นพลังงานความร้อนหรือผลิตกระแสไฟฟ้าไต้

Pages