โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านเทคนิค

การจัดการขยะภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาอย่างครบวงจรและเหมาะสม

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อประเมินศักยภาพในการนำขยะย่อยสลายได้กลับมาใช้ประโยชน์ในรูปของการทำปุ๋ยหมักหรือเป็นแหล่งพลังงาน และ (2) เพื่อประเมินความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ของการดำเนินโครงการธนาคารวัสดุรีไซเคิลภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งผลที่ได้รับจากการศึกษาสามารถนำไปกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อการจัดการขยะที่ย่อยสลายได้และขยะรีไซเคิลภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาในระยะยาว

แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจรและการมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองท่าข้าม จ.สุราษฎร์ธานี

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 

โครงการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาทางเลือกของการผสมผสานวิธีการจัดการมูลฝอยที่เป็นไปได้สำหรับพื้นที่เทศบาลเมืองท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเลือกรูปแบบการจัดการมูลฝอยที่เหมาะสมและยั่งยืนที่สุดสำหรับเทศบาลเมืองท่าข้าม เพื่อแก้ไขปัญหามูลฝอยที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยในโครงการวิจัยที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลเมืองท่าข้าม และ สถานการณ์ปัญหามูลฝอยและประสิทธิภาพการจัดการในปัจจุบัน จากนั้นโครงการวิจัยที่ 2 จะนำข้อมูลพื้นฐานที่ได้ไป สร้างทางเลือกต่างๆ ของรูปแบบการจัดการมูลฝอยแบบผสมผสานตั้งแต่แหล่งกำเนิดจนถึงการกำจัด ที่เป็นไปได้สำหรับพื้นที่เทศบาลเมืองท่าข้ามและเลือกระบบการจัดการมูลฝอยแบบผ

การวิจัยและพัฒนาขยะจากเปลือกกล้วยเพื่อใช้ประโยชน์ ในอุตสาหกรรมอาหารและพลังงาน การจัดการขยะและ การพัฒนาตลาดของผลิตภัณฑ์ในจังหวัดพิษณุโลก

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

การวิจัยและพัฒนาขยะจากเปลือกกล้วย เพื่อใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหารและพลังงาน โดยนำขยะที่เหลือทิ้งจากการผลิตผลิตภัณฑ์จากกล้วย มาทำการวิจัย 2 โครงการ
โครงการที่ 1 ทำการสกัดเซลลูโลสและใยอาหารจากเปลือกกล้วย
โครงการที่ 2 ผลิตถ่านและถ่านกัมต์มันจากส่วนต่างๆของกล้วย เช่น ก้านเครือ หวี และเปลือก เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง

การศึกษาเชิงนโยบายและการยอมรับของประขาชนในการผลิต ไฟฟ้าจากชีวมวล (จากขยะในเขตกรุงเทพๆ-ปริมณฑลและนอกเขต ปริมณฑล)

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

การศึกษาแนวทางการจัดการขยะจำแนกตามปริมาณขยะสำหรับประเทศไทยแบ่งการศึกษาเป็น 3 กลุ่มได้แก่
1. กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)
2. ระดับอำเภอ (ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
3. ระดับตำบล (ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยนเรศวร)
โดยในแต่ละกรณีจะนำเสนอแนวทางโดยพิจารณาผลกระทบ 3 ด้านได้แก่ ด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน ด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสังคม

โครงการศึกษาการเพิ่มมูลค่าน้ำที่ผ่านการบำบัดจากระบบผลิตก๊าซชีวภาพฟาร์มสุกรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

โครงการศึกษาการเพิ่มมูลค่าน้ำ ที่ผ่านการบำบัดจากระบบผลิตก๊าซชีวภาพฟาร์มสุกรตามแนวทาง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นโครงการศึกษาที่นำน้ำทิ้งที่ผ่านระบบบำบัดแบบผลิตก๊าซชีวภาพ นำ มาเพิ่มมูลค่า
จากแนวความคิดของการจัดการน้ำเสียจากฟาร์มสุกรอย่างครบวงจรเริ่มจากระบบบำบัดน้ำ เสียแบบผลิต
ก๊าซชีวภาพที่ทำการบำบัดน้ำเสียให้มีคุณภาพน้ำดีขึ้นและได้ก๊าซชีวภาพนำไปใช้เป็นพลังงาน กาก
ตะกอนสลัดจ์สามารถนำไปทำปุ๋ยอินทรีย์ นอกจากนี้ยังพบว่าน้ำทิ้งที่ผ่านระบบบำบัดแบบผลิตก๊าซ
ชีวภาพที่สามารถนำไปเพิ่มมูลค่าควบคู่กันไป ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจและสนับสนุน

Pages